Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10576
Title: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Consumer satisfaction under "30 Baht Treat All Diseases" project in community hospital, Pathumthanee province
Authors: นราพงศ์ ธีรอัครวิภาส
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
fmedslm@md2.md.chula.ac.th, Somrat.L@Chula.ac.th
Subjects: โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค
ความพอใจของผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภค
โรงพยาบาลชุมชน
ประกันสุขภาพ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่มีต่อการให้บริการ โดยโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือ ประชาชนที่เป็นตัวแทน 1,665 ครัวเรือนทั้งหมด ในชุมชนพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี ขนาดตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือน 860 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 1,207 ครัวเรือน (อัตราตอบ 71.3%) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ได้แก่ Unpaired t-test, Paired t-test และ one-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (54.6%) มีอายุเฉลี่ย 42.1 ปี สถานภาพสมรส (68.2%) จบระดับประถมศึกษา (47.6%) มีอาชีพรับจ้าง (31.7%) สถานะการเงินพอกินพอใช้ (68.7%) เป็นผู้เคยใช้บริการ 195 คน (22.7%) ในจำนวนนี้เคยเป็นผู้ป่วยใน 53 คน (27.2% ของผู้เคยใช้บริการ) ผู้เคยใช้บริการมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นกว่าก่อนมีโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ผู้เคยใช้บริการผู้ป่วยนอกใน รพ. ชุมชน ขนาด 60 เตียงให้คะแนนความพึงพอใจในระดับมาก ถึงมากที่สุด มากกว่า 50% จำนวน 3 จาก 18 ข้อคือเรื่อง 1) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 2) ความสะดวกในการเดินทาง 3) ความใส่ใจของแพทย์ (54.8%, 50.0% และ 50.0% ตามลำดับ) ผู้เคยใช้บริการผู้ป่วยนอกใน รพ. ชุมชน ขนาด 10-30 เตียง ให้คะแนนความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด มากกว่า 50% เพียงจำนวน 1 ข้อจาก 18 ข้อ คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล (52.0%) สำหรับผู้ที่เคยนอนพักใน รพ. ชุมชน ขนาด 60 เตียง ให้คะแนนความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด มากกว่า 50% จำนวน 3 จาก 12 ข้อ คือ 1) ค่าใช้จ่าย 2) ความสะอาดของห้องพัก 3) การดูแลของเจ้าหน้าที่ (77.8%, 66.7% และ 66.7% ตามลำดับ) ส่วนผู้ที่เคยนอนพักใน รพ. ชุมชน ขนาด 10-30 เตียง ให้คะแนนความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด ต่ำกว่า 50% ในทุกข้อจาก 12 ข้อ ปัจจัยรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในบริการผู้ป่วยใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ผู้เคยใช้บริการ 195 คน กว่าครึ่งระบุว่าควรจะต้องปรับปรุงบริการ (49.7%) ใน 2 เรื่อง บุคลากรพูดจาไม่ดี (48.5% ) และบริการรักษาไม่ดี (46.4%) สรุปผลการวิจัย: ผู้ใช้บริการของโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี ครึ่งหนึ่งไม่มีความพึงพอใจต่อบริการ ทั้งการพูดจาและการรักษา ดังนั้น ผลการวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการสะท้อนภาพรวมของบริการ ซึ่งต้องเร่งรัดพัฒนาคุณภาพบริการ สร้างจิตสำนึกในการให้บริการ ตลอดจนวางแผน กำกับ ประเมินผล โดยประเมินผลต่อเนื่อง
Other Abstract: To study consumer satisfaction under "30 baht threat all diseases project" toward services in community hospital of Pathumthanee province. Research Design: Cross-sectional descriptive study. Study Populations: Representative population 1,665 household in community of Pathumthanee province. Sample Size: Representative 860 people from target group 1,207 household (response rate 71.3%) Research Tools: Self-administered questionnaire. Statistics: Unpaired t-test, Paired t-test and one-way ANOVA. Results: The respondents were female (54.6%), mean age 42.1 year, married (68.2%). level of education was primary school 47.6%. Occupation was general workers (31.7%), adequate earning (68.7%). They had ever used health services 195 people (22.7%) and had ever admitted as inpatient 53 people (27.2% of consumer). Consumers marked more satisfaction than before the project launched with statistically significant (p < 0.01). More than 50% of outpatient clients in 60-bed community hospital marked high score of satisfaction, 3 out of 18 items listed as 1) treatment expense 2) transport convenience 3) doctor attention (54.8%, 50.0% and 50.0%, respectively), but outpatient clients in 10-30 bed community hospital marked high score of satisfaction by more than 50% only 1 out of 18 items as treatment cost (52.0%). Inpatient used clients in 60-bed hospital rated 3 out of 12 items as highly satisfied by more than 50% as 1) treatment expense 2) room cleanliness 3) providers care (77.8%, 66.7%, and 66.7%, respectively). For 10-30 bed hospital, inpatients marked high score of satisfaction less than 50% in all 12 topics. Further analysis revealed that inpatient services satisfaction were statistically significant different (p < 0.01) by household income and expense. Half of 195 experienced clients dissatisfied (49.7%) and suggested improving as bad courtesy of personnel and poor treatment service (48.5% and 46.4% of dissatisfied clients, respectively). Conclusions: Client respondents revealed that community hospitals services quality in Pathumthanee province needed to be improved. 50% of the respondents dissatisfied with providers performances should be used as an important result-based indicator in monitoring and evaluation for future health services development.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10576
ISBN: 9741727186
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narapong.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.