Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10664
Title: ผลกระทบจากการอบอ่อนแบบวัฎจักรต่อการตกผลึกใหม่ในเหล็กกล้าไร้สนิม 304
Other Titles: Effects of cyclic annealing on recrystallization in 304 stainless steel
Authors: สมชาย เบ้าทอง
Advisors: วิศิษฐ ทวีปรังษีพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การอบอ่อน
การตกผลึก
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการอบอ่อนแบบวัฏจักรต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าไร้สนิม 304 หลังจากเกิดการตกผลึกใหม่ การอบอ่อนแบบวัฏจักรทำโดยการให้ชิ้นงานตัวอย่างเคลื่อนที่สลับไปมาระหว่าง 2 อุณหภูมิ จากเตาความร้อน 2 ตัวที่สร้างขึ้น เวลารวมทั้งหมดในการอบอ่อนและเวลาที่หยุดพักในแต่ละรอบของอุณหภูมิระหว่าง 850 และ 950 องศาเซลเซียล คือตัวแปรหลักของการศึกษาครั้งนี้ รูปถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนถูกนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานตัวอย่าง ซึ่งรวมถึงขนาดและจำนวนด้านของเกรน ผลการทดลองพบว่า การอบอ่อนแบบวัฏจักรทำให้เกิดการหน่วงอัตราการขยายขนาดของเกรนซึ่งแสดงให้เห็นโดยขนาดของเกรนเฉลี่ยมีค่าอยู่ระหว่าง 40 ถึง 50 ไมครอน เมื่อเวลารวมทั้งหมดในการอบอ่อนเป็น 30 และ 120 นาที ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ขนาดของเกรนมีการกระจายตัวเพิ่มมากขึ้นเมื่อเพิ่มเวลารวมทั้งหมดในการอบอ่อน จากข้อสังเกตนี้อาจอธิบายได้ว่าการเคลื่อนที่ของขอบเกรนลดลงระหว่างทำการอบอ่อนแบบวัฏจักร และแสดงให้เห็นจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนด้านของเกรนส่วนใหญ่จาก 4 ด้านไปเป็น 6 ด้าน เมื่อเวลาในการอบอ่อนเพิ่มขึ้น ผลการทดสอบด้วย 10% กรดออกซาลิก หลังจากนำชิ้นงานตัวอย่างไปเซนซิไทซ์ที่อุณหภูมิ 650 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 5 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่าการอบอ่อนแบบวัฏจักรทำให้เกิดการต้านทานการกัดกร่อนบริเวณขอบเกรนได้ดีขึ้นเมื่ออบอ่อนเป็นเวลา 30 และ 60 นาที ที่จำนวนรอบมากขึ้น แต่เมื่ออบอ่อนนานขึ้นไปจนถึง 120 นาที พบว่าการอบอ่อนแบบวัฏจักรไม่ช่วยทำให้สมบัติด้านการกัดกร่อนบริเวณขอบเกรนดีขึ้น
Other Abstract: The objective of this thesis was to study effects of cyclic annealing on the microstructure of 304 stainless steel after recrystallization. A two-zone furnace was constructed and the cyclic annealing was achieved by moving specimens between the two temperature zones. Total annealing time and dwelling time at each cycle in the range of 850-950 ํC were the two main variables in this study. Scanning electron micrographs were used for microstructure comparison including grain size and number of sides per grain. Results show that cyclic annealing retarded the grain growth rate as evidenced by the fact that the total annealing time of 30 and 120 min led to the mean grain size between 40 - 50 micrometre range, respectively. However, the grain size variation is widening with increasing total annealing time. These observations may be explained by the reduction in grain boundary mobility during thermal cycling, and the fact that the number of grain sides increases from 4 to 6 as annealing time increases. Intergranular corrosion test in 10% oxalic acid after sensitized specimens at 650 ํC for 5 hrs. indicated that cyclic annealing improves intergranular corrosion resistance when annealing for 30 and 60 min with higher cyclic frequency. Longer annealing time up to 120 min., cyclic annealing has no beneficial effect on intergranular corrosion property.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10664
ISBN: 9741727038
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somchai.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.