Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10675
Title: การปรับปรุงคุณภาพสำหรับกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนพลาสติก ในอุตสาหกรรมรถยนต์
Other Titles: Quality improvement for plastic part painting process in the automobile industry
Authors: อรรถพล ฤทธิภักดี
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vanchai.R@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมคุณภาพ
อุตสาหกรรมรถยนต์
รถยนต์ -- การพ่นสี
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรับปรุงคุณภาพสำหรับกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนพลาสติก ในอุตสาหกรรมรถยนต์ให้เหมาะสม โดยใช้การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่อง และผลกระทบด้านคุณภาพ (Failure Mode and Effects Analysis. FMEA) มาใช้ในการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพ ของกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนพลาสติกของโรงงานตัวอย่าง ในเบื้องต้นพบปัญหาที่เกิดจากความบกพร่องของกระบวนการพ่นสี ที่ส่งผลต่อผิวของชิ้นส่วนเป็นส่วนมาก ได้แก่ สีเป็นเม็ด สีเป็นขนผ้า สีเป็นหลุม สีบาง สีไหลย้อย ผิวเป็นรอย และปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดจาก การขาดการวางแผนการตรวจสอบทางด้านคุณภาพของชิ้นส่วน การขาดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพการขาด การบำรุงรักษาความสะอาดในกระบวนการพ่นสี และการขาดประสบการณ์ในการทำงานของพนักงาน งานวิจัยเริ่มจากการศึกษากระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนพลาสติก ของโรงงานตัวอย่าง และค้นหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ ข้อบกพร่องทุกกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนพลาสติก ของโรงงานตัวอย่าง โดยอาศัยการระดมสมองด้วยการใช้แผนภาพต้นไม้ แผนผังแสดงเหตุและผล แผนภาพความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่อง และผลกระทบด้านคุณภาพสำหรับกระบวนการผลิต (PFMEA) จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพ่นสี มาวิเคราะห์เพื่อประเมินค่าความรุนแรงของข้อบกพร่อง ค่าโอกาสการเกิดข้อบกพร่อง และค่าโอกาสการตรวจพบข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต เพื่อคำนวณหาค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่องขึ้น โดยค่า RPN มากหมายถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่องสูง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะแก้ไขลักษณะข้อบกพร่องที่มีค่า RPN ตั้งแต่ 100 คะแนนขึ้นไป จากนั้นใช้การระดมสมองแล้วหาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้น โดยหลักการแก้ไขที่ได้จัดทำได้แก่ 1. จัดทำมาตรฐานการทำงาน มาตรฐานการตรวจสอบชิ้นงานพ่นสีตามข้อกำหนดของลูกค้า และมาตรฐานการทำความสะอาดในห้องพ่นสี ห้องจ่ายลม ห้องอบสีฃ ห้องเผาไหม้ อุปกรณ์แขวนชิ้นงาน และรอกโซ่ลำเลียงชิ้นงาน 2. เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดภายในห้องพ่นสี ห้องจ่ายลม ห้องอบสี ห้องเผาไหม้ อุปกรณ์แขวนชิ้นงาน และรอกโซ่ลำเลียงชิ้นงาน 3. จัดฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการพ่นสี และจัดทำการบันทึกความสามารถลงในใบบันทึกความสามารถ 4. จัดทำใบตรวจสอบในกระบวนการพ่นสีและนำไปใช้ ในกระบวนการพ่นสีของโรงงานตัวอย่าง ผลการดำเนินการแก้ไข พบว่า เปอร์เซ็นต์ของเสียเทียบยอดการผลิต ลดลงจาก 16.37% เหลือ 9.37% (ลดลง 7%) สำหรับปัญหาของเสียที่ลูกค้าส่งคืน มีเปอร์เซ็นต์ของเสียเทียบยอดส่งให้ลูกค้า ลดลงจาก 1.52% เหลือ 1.10% (ลดลง 0.42%) และมีแนวโน้มในการลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับค่าคะแนนดัชนีความเสี่ยงชี้นำ(RPN) พบว่า ลดลง 20.00% ถึง 78.57% จากค่า RPN ของกระบวนการผลิตก่อนทำการแก้ไข
Other Abstract: To improve quality for plastic part painting process in the automobile industry appropriately by using failure mode and effects analysis (FMEA). FMEA is the quality tools used to search for the quality factors. At the beginning of the problem, defects are mostly found at surface parts. The problems of Dust, Silking, Cratering, Tin Film, Sagging and Scratch are due is quality need function such as 1. The lack of inspection quality planing for plastic parts. 2. The lack of quality control standard. 3. The lack of cleaning maintenance in the painting process. 4. The lack of experience for working. This research is started from studying the process and brain storming to look for quality factors of plastic part painting process by using Tree Diagram, Causes and Effects Diagram, Relation Diagram and Failure Mode and Effects Analysis (FMEA). After that, specialists for plastic part painting process in automobile industry analyze and evaluate the severity, occurrence and detection of each defect to calculate Risk Priority Number (RPN) help to specify risk of defect occurrence. The meaning for high RPN is the risk of high defect occurrence. The research improves processes which have RPN higher value than 100. By using brain storming technique to correct causes of defects and improve the painting processes, the improvements are concluded as; 1. Working and painting inspection standard for parts inspection are prepared and improved is meet a customer specification while cleaning standard of painting room, air supply, oven, burner, jig, hanger and conveyor are recondition. 2. Cleaning frequency in painting room, air supply room, oven room, burner room, jig, hanger and conveyor is increased. 3. Worker training for painting method and worker ability record are prepared. 4. Implementing check sheets in the painting process are prepared. The results of the improvement operation are (1) Reduce the percent defects of process from 16.37% to 9.37% (7% reduction) (2) Reduce the percentage of customer claims from 1.52% to 1.10% (0.42% reduction) and (3) Reduce the RPN by reduced 20% to 78.57% from previous RPN.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10675
ISBN: 9740303056
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Attapol.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.