Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10676
Title: กลสมบัติของโลหะผสมโคบอลด์โครเมียมเก่าที่เวียนใช้
Other Titles: Mechanical properties of the recycled cobalt-chromium alloys
Authors: ปรินทร หริรักษาพิทักษ์
Advisors: ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parnupong.W@chula.ac.th
Subjects: โลหะทางทันตกรรม
ฟันปลอม
โลหะผสมโคบอลต์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของอัตราส่วนผสมระหว่างโลหะเก่ากับโลหะใหม่ และจำนวนครั้งในการเวียนใช้โลหะเก่าซ้ำที่มีต่อกลสมบัติของโลหะที่เหวี่ยงได้ โดยเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของกลสมบัติตามข้อกำหนดที่ 14 ของสมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา กลสมบัติของโลหะใหม่ และเปรียบเทียบกลสมบัติระหว่างแต่ละกลุ่มตัวอย่าง วิธีการวิจัยเป็นไปตามข้อกำหนดที่ 14 ของสมาคมทันตแพทย์ แห่งสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่มตามอัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักระหว่างโลหะเก่ากับโลหะใหม่ ได้แก่ ร้อยละ 100, ร้อยละ 75 ต่อ 25, ร้อยละ 50 ต่อ 50, และร้อยละ 25 ต่อ 75 ตามลำดับ ตัวอย่างในแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น 3 รุ่นตามจำนวนครั้งในการเวียนใช้โลหะเก่าเป็นส่วนผสมซ้ำ วัดค่ากลสมบัติของตัวอย่างโลหะที่เหวี่ยงได้ 4 อย่าง ได้แก่ ความทนแรงดึง, ความเครียดในช่วงความเค้น 5,000-60,000 ปอนด์/นิ้ว2, ระยะของการยืดตัว และความแข็งผิวร็อคเวลล์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. เฉพาะกลสมบัติของโลหะที่เหวี่ยงโดยมีอัตราส่วนผสมระหว่างโลหะเก่าร้อยละ 25 กับโลหะใหม่ร้อยละ 75 โดยที่โลหะเก่าผ่านการเวียนใช้ซ้ำ 1 ครั้งเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดที่ 14 ของสมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา สำหรับนำมาใช้ทำโครงโลหะฟันปลอมบางส่วนถอดได้ 2. การนำโลหะเก่ามาเวียนใช้ซ้ำทำให้โลหะที่เหวี่ยงได้มีความทนแรงดึงและระยะของการยืดตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 (alpha0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับโลหะใหม่ ยกเว้นโลหะที่มีอัตราส่วนผสมระหว่างโลหะเก่าร้อยละ 25 กับโลหะใหม่ร้อยละ 75 โดยที่โลหะเก่าผ่านการเวียนใช้ซ้ำ 1 ครั้งเท่านั้นที่มีกลสมบัติต่างจากโลหะใหม่อย่างไม่มีนัยสำคัญ 3. ปริมาณโลหะเก่าที่เป็นส่วนผสมและจำนวนครั้งในการเวียนใช้โลหะเก่าซ้ำ เป็นปัจจัยที่ทำให้กลสมบัติของโลหะที่เหวี่ยงโดยเวียนใช้โลหะเก่าซ้ำด้อยลง โดยมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับค่าของกลสมบัติของโลหะที่เหวี่ยงได้
Other Abstract: This research objected to study the effects of the mixing ratios between the previously used alloys and the new one and the times of reusing the alloys on the mechanical properties of the castings compared with the American Dental Association specification number 14 for dental chromium-cobalt casting alloys, mechanical properties of the new alloys and each another group of the specimen. Materials and method were in accordance with ADA specification no.14 for dental chromium-cobalt casting alloys. There were 4 groups of the mixing ratios between the previously used and the new alloys by weight which were 100% old alloys, 75% old and 25% new alloys, 50% old and 50% new alloys and 25% old and 75% new alloys. The old alloys used was melted and cast for 1, 2 and 3 times. Specimens were determined for tensile strength, strain while the tensile strength was 5,000 to 60,000 psi, percentage elongation and Rockwell surface hardness. The results are concluded as follow: 1. Recycling the alloys by mixing 25% old alloys previously used 1 time with 75% new alloys is the only one method that the mechanical properties are not below minimum ADA specificationl 2. Comparing with the new alloys, recycling the alloys degeneratively changes the tensile strength and percentage elongation at significant level 95% except when mixing 25% old alloys previously used 1 time with 75% new alloys. 3. The amount of the old alloys and the times of recycle are the factors that reduce the mechanical properties of the casting. Effects of these two factors enhance with the increasing amount of the old alloys and the times of recycle.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10676
ISBN: 9746372505
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parintorn_Ha_front.pdf865.71 kBAdobe PDFView/Open
Parintorn_Ha_ch1.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Parintorn_Ha_ch2.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Parintorn_Ha_ch3.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Parintorn_Ha_ch4.pdf843.7 kBAdobe PDFView/Open
Parintorn_Ha_ch5.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Parintorn_Ha_ch6.pdf865.22 kBAdobe PDFView/Open
Parintorn_Ha_ch7.pdf710.86 kBAdobe PDFView/Open
Parintorn_Ha_back.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.