Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10914
Title: กลไกการเปลี่ยนประเด็นในการสนทนาภาษาไทย
Other Titles: Topic shift devices in Thai conversation
Authors: นิตยาภรณ์ ธนสิทธิสุรโชติ
Advisors: กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Krisadawan.H@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
ภาษาไทย -- ภาษาพูด
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลไกการเปลี่ยนประเด็นในปริจเฉทการสนทนาภาษาไทย 2 ประเภท ได้แก่ การสัมภาษณ์และการสนทนาแบบเป็นกันเอง ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนประเด็นในการสนทนาภาษาไทยสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภทตามเกณฑ์ด้านผลัด ได้แก่ การเปลี่ยนประเด็นในผลัดเดิม การเปลี่ยนประเด็นในผลัดใหม่ การเปลี่ยนประเด็นในผลัดซ้อน และจำแนกออกเป็น 3 ประเภทตามเกณฑ์ด้านความสัมพันธ์กับประเด็นเดิม ได้แก่ การเปลี่ยนจุดเน้น การย้อนเรื่อง การเปลี่ยนเรื่องใหม่ และจำแนกออกเป็น 5 ประเภทตามเกณฑ์ด้านความหมายของประเด็นใหม่ ได้แก่ การเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับตนเอง คู่สนทนา ตนเองและคู่สนทนา สิ่งแวดล้อม และเรื่องทั่วไป ผลการวิเคราะห์ความถี่ พบว่า ทั้งการสัมภาษณ์และการสนทนาแบบเป็นกันเองมีการเปลี่ยนประเด็นในผลัดใหม่มากที่สุด และการเปลี่ยนประเด็นในผลัดซ้อนมีการปรากฏเฉพาะในการสนทนาแบบเป็นกันเอง ส่วนเกณฑ์ด้านความสัมพันธ์กับประเด็นเดิม พบว่า การสัมภาษณ์มีการเปลี่ยนจุดเน้นมากที่สุด ขณะที่การสนทนาแบบเป็นกันเองมีการเปลี่ยนเรื่องใหม่มากที่สุด ส่วนเกณฑ์ด้านความหมายของประเด็นใหม่ พบว่า การสัมภาษณ์มีการเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับคู่สนทนามากที่สุด ขณะที่การสนทนาแบบเป็นกันเองมีการเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ส่วนผลการวิเคราะห์กลไกการเปลี่ยนประเด็นพบว่า กลไกการเปลี่ยนประเด็นในการสนทนาภาษาไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทตามเกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ กลไกระดับคำหรือวลี กลไกระดับประโยคหรือถ้อยคำ และการไม่ปรากฏรูปภาษา ผลของการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ การสัมภาษณ์มีการใช้กลไกระดับประโยคมากกว่าการสนทนาแบบเป็นกันเอง ขณะที่การสนทนาแบบเป็นกันเองมีการใช้กลไกระดับคำและการไม่ปรากฏรูปภาษามากกว่าการสัมภาษณ์ นอกจากนั้นยังพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของการเปลี่ยนประเด็นกับกลไกการเปลี่ยนประเด็นไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากประเภทของการเปลี่ยนประเด็นไม่ได้เป็นปัจจัยที่ใช้กำหนดเลือกกลไกการเปลี่ยนประเด็น แต่การเลือกใช้กลไกการเปลี่ยนประเด็นนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านประเภทของปริทเฉทการสนทนา โดยการเปลี่ยนประเด็นส่วนใหญ่ในการสัมภาษณ์มีการใช้กลไกระดับคำมากที่สุด และใช้กลไกระดับประโยครองลงมา ส่วนการเปลี่ยนประเด็นส่วนใหญ่ในการสนทนาแบบเป็นกันเองมีการใช้กลไกระดับคำมากที่สุด และมีการไม่ปรากฏรูปภาษารองลงมา
Other Abstract: This study is aimed at comparing and contrasting topic shift devices in two types of Thai conversations: television programme interviews and casual conversations. It is found that topic shifts in Thai can be classified into three categories according to turn taking, namely old turn topic shift, new turn topic shift, and overlap topic shift. In addition, they can be categorized into three types based on coherence or topic maintenance, namely coherent shift, renewal shift, and noncoherent shift. Five other types of topic shifts based on meaning of new topics include self-oriented topic shift, other-oriented topic shift, self/other-oriented topic shift, environmental topic shift, and general knowledge topic shift. The result of frequency analysis shows that new turn topic shifts occur more frequently than other types of turn topic shifts and occur both in interviews and casual conversations. Overlap topic shifts, on the other hand, occur only inthe latter type of conversation. Coherent shifts are found to characterize interviews, whereas noncoherent shifts occur most in casual conversations. Other-oriented topic shifts are found to appear most in interviews and environmental topic shifts in casual conversations. Three topic shift devices are found to characterize Thai conversation: word/phrase devices, sentence/utterance devices and implicit devices. The result of frequency analysis matches the hypothesis of the study in that sentences devices occur in interviews more than in casual conversations, whereas the other two types of devices occur more in casual conversations. The result of the study concerning the relationship between topic shift types and topic shift devices contrast to the hypothesis. Topic shift devices do not correlate with topic shift types but correlate with types of conversation. The majority of topic shifts in interviews use word devices and sentence devices respectively, whereas the majority of topic shifts in casual conversations employ word devices and implicit devices respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10914
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.38
ISBN: 9741726414
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.38
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitayaporn.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.