Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1106
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ อนันตชาติ-
dc.contributor.authorนิธิมา จันทรสูตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-26T05:28:24Z-
dc.date.available2006-07-26T05:28:24Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745322261-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1106-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ (2) หาแนวทางในการพัฒนาหลักสุตรการศึกษาด้านการโฆษณา/การสื่อสารการตลาดในระดับปริญญาโท โดยแบ่งวิธีการวิจัยออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจาก (1) คณาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 6 คน (2) อาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตรการศึกษาด้านการโฆษณา/การสื่อสารการตลาดในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในระดับปริญญาโท จำนวน 10 คน และ (3) ผู้บริหาร/หัวหน้าฝ่ายในบริษัทตัวแทนโฆษณา จำนวน 21 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากนิสิตเก่า/นิสิตปัจจุบันที่ศึกษาในหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2538 ถึงปีการศึกษา 2546 จำนวน 111 คน และผู้บังคับบัญชาของมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 53 คน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการของหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภาพรวมนั้น มีความเหมาะสมในระดับสูง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรจะต้องปรับปรุง ได้แก่ เนื้อหารายวิชา อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ลักษณะการเรียนการสอน กิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวัดผล/ประเมินผล นอกจากนี้ยังควรปรับปรุงคุณภาพของมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการวิเคราะห์ ทัศนคติที่ดีในการทำงาน และความเป็นผู้นำ ส่วนแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาด้านการโฆษณา/การสื่อสารการตลาดในระดับปริญญาโทนั้น ปัจจัยที่มีความสำคัญและมีผลต่อคุณภาพการศึกษาก็คือ อาจารย์ผู้สอน และกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้น จึงควรปรับปรุงเรื่องดังกล่าว เพื่อที่จะสามารถผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research study were to : (1) evaluate the Master of Arts Program in Advertising at Chulalongkorn University (CUMA), and (2) seek possible directions in developing and improving masters curriculum in advertising/marketing communications. Qualitatively, in-depth interviews were conducted with 6 CUMAs professors, 10 professors from advertising/marketing communications programs in both public and private universities, and 21 executives/supervisors in advertising agencies. Quantitatively, e-mail and mail surveys were done with 111 CUMAs alumni and current students, and 53 alumnis working supervisors in various organizations, respectively. The results indicated the overall quality of the CUMA. However, improvement would be done in terms of course details, facilities, extracurricular activities, and course assessment. Besides, skills and qualifications of CUMAs graduates needed to improve included English proficiency, communication skills, analytical skills, working attitudes, and leadership. In general, the dominant factors to develop and improve masters curriculum in advertising/marketing communications were qualifications of instructors, learning and teaching process. Improvement in such factors should affect the whole process and finally fit with the workforce demand.en
dc.format.extent2020340 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.175-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหลักสูตรen
dc.subjectโฆษณาen
dc.subjectตลาดแรงงานen
dc.titleหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการโฆษณากับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศไทยen
dc.title.alternativeGraduate curriculum in advertising and workforce demand in Thailanden
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการโฆษณาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSaravudh.A@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.175-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nithima.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.