Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11119
Title: ประสิทธิผลของการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียเชื้อฟัลซิปารัม และเชื้อไวแวกซ์ ด้วยชุดตรวจเชื้อมาลาเรียสำเร็จรูป
Other Titles: The effectiveness of the rapid malaria test for diagnosis of plasmodium falciparum and plasmodium vivax
Authors: กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด
Advisors: อานนท์ วรยิ่งยง
วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Arnond.V@Chula.ac.th
Vitool.L@Chula.ac.th
Subjects: มาลาเรีย -- การวินิจฉัยโรค
พลาสโมเดียมฟัลซิปารัม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียเชื้อฟัลซิปารัมและเชื้อไวแวกซ์ โดยอาสาสมัครมาลาเรียชุมชน จังหวัดตาก ด้วยชุดตรวจเชื้อมาลาเรียสำเร็จรูป วิธี Rapid Malaria Test (OptiMAL(R)) เปรียบเทียบกับวิธีการตรวจฟิล์มโลหิตแบบหนาที่ย้อมด้วยสียิมซ่า ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน ตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวอย่างเลือดของประชากรที่อาศัยอยู่ใน 5 อำเภอชายแดน ไทย-พม่า จำนวน 454 รายที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์มาลาเรียชุมชน ระหว่างเดือนกันยายน 2545 ถึงเดือนมกราคม 2546 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียที่ศูนย์มาลาเรียชุมชน มีอายุเฉลี่ย 22.37 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 63.70 เชื้อชาติไทยร้อยละ 66.50 เชื้อชาติกะเหรี่ยง, พม่า ร้อยละ 33.50 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 41.40 ตรวจพบเชื้อมาลาเรียร้อยละ 14.32 (วิธีการตรวจฟิล์มโลหิตแบบหนา) เป็นชนิดฟัลซิปารัมคิดเป็นร้อยละ 66.15 เชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ คิดเป็นร้อยละ 30.77 ที่เหลือเป็นเชื้อมาลาเรียชนิดมาลารีอีและไม่พบเชื้อมาลาเรียชนิดโอวาเล ชุดตรวจเชื้อมาลาเรียสำเร็จรูปวิธี Rapid Malaria Test (OptiMAL(R)) มีความไวร้อยละ 84.12 ความจำเพาะร้อยละ 100 ความแม่นยำ ร้อยละ 99.78 ความสามารถทำนายโรคเมื่อผลการตรวจเป็นบวก ร้อยละ 100 ความสามารถทำนายผู้ที่ไม่เป็นโรคเมื่อผลการตรวจเป็นลบร้อยละ 86.06 เชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ มีความแตกต่างระหว่าง การตรวจพบเชื้อมาลาเรียด้วยวิธีการตรวจฟิล์มโลหิตแบบหนาที่มีคุณภาพกับวิธีการตรวจด้วยชุดตรวจเชื้อมาลาเรียสำเร็จรูปวิธี Rapid Malaria Test (OptiMAL(R)) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิปารัมไม่มีความแตกต่าง (p>0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าชุดตรวจเชื้อมาลาเรียสำเร็จรูปวิธี Rapid Malaria Test (OptiMAL(R)) มีความไวสูง (84.12%) และความจำเพาะสูงมาก (100%) และถ้าความหนาแน่นของเชื้อมาลาเรียมากกว่า 100 ตัวต่อเลือด 1 ไมโครลิตร ให้ผลการตรวจไม่แตกต่างกับวิธีการตรวจฟิล์มโลหิตแบบหนาฉะนั้นชุดตรวจเชื้อมาลาเรียสำเร็จรูปวิธี Rapid Malaria Test (OptiMAL(R)) เหมาะที่จะนำมาใช้ในพื้นที่ที่พบมาลาเรียชนิดฟัลซิปารัมสูง และพื้นที่ห่างไกลซึ่งสามารถบอกผลการตรวจได้ไว และไม่ยุ่งยากในการทำฟิล์มหนาเพื่อการส่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ซึ่งต้องอาศัยผู้ตรวจที่มีความชำนาญกว่า
Other Abstract: The objective of this descriptive study was to study the effectiveness of the rapid malaria test for diagnosis of Plasmodium falciparum and Plasmodium vivax by Tak Malaria Post Volunteer. By compare the result of the Rapid Malaria Test (OptiMAL(R)) with Giemsa thick blood film microscopic method (standard method) for each blood sample, the blood samples were collected from 454 patients in the Malaria Post located in five districts of Tak Province along the border area betbeen Thai and Myanmar September 2002 and January 2003. It was found that the average age of the patients was 22.37 years. Most of them were males (63.70%). 66.50% were Thai and 33.50% were Karen and Myanmar. 41.40% of them were agriculturists. The positive detections with Giemsa thick blood film microscopic method accounted were 14.32%. Most of positive smear were found to be P. falciparum (66.15%), P. vivax was found 30.77%, the rest of them were P. ovale. With the Rapid Malaria Test Method (OptiMAL(R)), the sensitivity, specificity and accuracy showed 84.12, 100 and 99.78% respectively. Positive predictive value was 100% while negative predictive value was 86.06%. The study showed no difference between the Rapid Malaria Test Method (OptiMAL(R)) and the Giemsa thick blood film microscopic method unless the parasite density of the blood sample was less than 100 per microlitre of blood test that show statistically significant difference (p<0.05) Therefore, the Rapid Malaria Test Method (OptiMAL(R)) is suitable for the area with high prevalence of P. falciparum malaria cases and the remote areas which need the urgency of diagnosis and no expert for reading the thick film available.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11119
ISBN: 9741721609
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittiphat.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.