Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11553
Title: การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์ระหว่างนักเรียนประถมศึกษา ที่มีขั้นตอนการยอมรับคอมพิวเตอร์ต่างกัน : การวิจัยรายกรณี
Other Titles: A comparison of computer learning motivation among groups of elementary education students with different stages of computer acceptance : a case study research
Authors: สุภาภรณ์ เจริญศิริโสภาคย์
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suwatana.S@chula.ac.th
Subjects: การจูงใจ (จิตวิทยา)
คอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การยอมรับนวัตกรรม
Issue Date: 2546
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาขั้นตอนการยอมรับคอมพิวเตอร์และสภาพของแรงจูงใจ ในการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียนประถมศึกษา และ (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์ ระหว่างนักเรียนประถมศึกษาที่มีขั้นตอนการยอมรับคอมพิวเตอร์ต่างกัน กรณีศึกษาคือ โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 264 คน และครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ระดับประถมศึกษา 3 คน การจัดเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามความคิดเห็นนักเรียนเกี่ยวกับขั้นตอนการยอมรับ คอมพิวเตอร์ และแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนในชั้นเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ และแนวทางการสัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบภายหลังด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยสรุปว่า 1. โดยภาพรวมแล้ว นักเรียนประถมศึกษามีแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์ในระดับมาก เมื่อจำแนกนักเรียนตามขั้นตอนการยอมรับคอมพิวเตอร์ 5 ขั้นตามลำดับ คือ (1) การรู้จักคอมพิวเตอร์ (2) การชักจูงให้หาความรู้เพิ่มขึ้น (3) การตัดสินใจใช้คอมพิวเตอร์ (4) การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ และ (5) การยืนยันการตัดสินใจใช้คอมพิวเตอร์ พบว่า นักเรียนที่อยู่ในขั้นที่ 1 และ 2 มีแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนนักเรียนที่อยู่ในขั้นที่ 3 ถึง 5 มีแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก 2. นักเรียนประถมศึกษาที่อยู่ในขั้นยอมรับคอมพิวเตอร์ต่างกัน มีแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนประถมศึกษาที่อยู่ในขั้นที่ 1 มีแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์น้อยกว่านักเรียนที่อยู่ในขั้นที่ 4 และ 5 นอกจากนี้ นักเรียนที่อยู่ในขั้นที่ 2 มีแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์น้อยกว่านักเรียนที่อยู่ในขั้นที่ 5 3. นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 มีแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียน ป.4 มีแรงจูงใจในการเรียนคอมพิวเตอร์น้อยกว่านักเรียน ป.5 และ ป.6
Other Abstract: To study computer acceptant stages and computer learning motivation of elementary education students and to compare computer learning motivation among groups of students with different stages of computer acceptance. The case study was a private school in Bangkok. The samples consisted of 264 prathom 4-6 students in 2004 academic year and 3 computer teachers. A questionnaire and a classroom observation guideline were research tools. The analysis procedure employed a one-way analysis of variance and the Scheffeʼ method for post hoc analysis. The findings were as followings: 1. In general, elementary students had computer learning motivation at the high level. When classifying the elementary students into computer acceptance stages. The five stages were (1) computer acquaintance (2) increasing knowledge (3) decision in computer utilization (4) computer implementation and (5) confirmation to using of computer. It was found that the students in stage 1 and 2 were at the moderate level of computer learning motivation. While the students in stage 3 to 5 were at the high level. 2. There was a significant difference at .05 level on computer learning motivation among students in different stages of computer acceptance. The post hoc analysis indicated that students in stage 1 had lower computer learning motivation than stage 4 and 5. Also, the students in stage 2 had lower computer learning motivation than the student in stage 5. 3. There was a significant difference at .05 level on computer learning motivation among students in different grades. The post hoc analysis indicated that the students in grade 4 had lower computer learning motivation than the students in grade 5 and 6.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยานิพนธ์, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11553
ISBN: 9741757891
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.