Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11576
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์-
dc.contributor.authorรุ่งตะวัน ยมหล้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-10-26T04:06:38Z-
dc.date.available2009-10-26T04:06:38Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746366122-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11576-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractประเมินค่าอัตราพันธุกรรมต่อการเติบโตของหอยตะโกรมกรามดำ Crassostres lugubris ที่ผลิตจากโรงเพาะฟักในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2539 โดยวิธี sib analysis หอยตะโกรมกรามดำที่ผลิตได้มี 2 ชุด จำนวน 27 ครอบครัว (จากเพศผู้ 10 ตัว และ เพศเมีย 27 ตัว) หอยตะโกรมกรามดำดังกล่าวเมื่ออนุบาลจนมีขนาดความยาวเปลือกประมาณ 1.5 ซม. จึงติดเบอร์เป็นรายตัวแล้วนำมาเลี้ยงในถุงอวนขนาด 40x40 ตร.ซม. ที่ความหนาแน่นจำนวน 80 ตัวต่อถุงอวน โดยเลี้ยงในสภาพแวดล้อม 2 แบบคือ แบบที่ 1 เลี้ยงในระบบรางน้ำไหล ซึ่งใช้เป็นตัวแทนระบบการเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา และแบบที่ 2 เลี้ยงในทะเลซึ่งใช้เป็นตัวแทนระบบการเลี้ยงในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ นำข้อมูลการเติบโตรายตัวที่แสดงในรูปของความกว้างเปลือกและความยาวเปลือก มาวิเคราะห์หาองค์ประกอบของความแปรปรวนที่เกิดขึ้น แล้วนำค่าที่ได้มาคำนวณหาอัตราพันธุกรรมที่ช่วงอายุต่างๆ กันได้แก่ 150, 180, และ 210 วัน จากนั้นประเมินค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม สหสัมพันธ์ทางสภาพแวดล้อมและสหสัมพันธุ์ทางลักษณะปรากฎ ระหว่างความกว้างเปลือกกับความยาวเปลือกในหอยตะโกรมกรามดำอายุ 210 วัน รวมทั้งค่าสหสัมพันธุ์ของลักษณะปรากฎของความกว้างเปลือกและความยาวเปลือก ระหว่างการเลี้ยงในสภาพแวดล้อมทั้งสองแบบอีกด้วย พบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความกว้างเปลือกและความยาวเปลือกของหอยที่ เลี้ยงในแบบที่ 1 ได้แก่ระบบรางน้ำไหลมีค่าเท่ากับ 0.34+-0.115, 0.39+-0.121 และ 0.36+-0.171 และเท่ากับ 0.26+-0.079, 0.34+-0.100 และ 0.33+-0.100 ที่อายุ 150, 180 และ 210 วันตามลำดับ ส่วนหอยตะโกรมกรามดำที่เลี้ยงในแบบที่ 2 ได้แก่ในทะเลมีค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความกว้างเปลือกและความยาวเปลือก เท่ากับ 0.21+-0.078, 0.26+-0.091และ 0.25+-0.099 และเท่ากับ 0.32+-0.117, 0.24+-0.091 และ 0.27+-0.106 ที่อายุ 150, 180 และ 210 วันตามลำดับ ผลการศึกษาค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างความกว้างเปลือกกับความยาว เปลือก ของหอยตะโกรมกรามดำที่อายุ 210 วันที่เลี้ยงในระบบรางน้ำไหลมีค่าเท่ากับ 0.97 และเลี้ยงในทะเลมีค่าเท่ากับ 0.55 ในทำนองเดียวกันค่าสหสัมพันธ์ทางสภาพแวดล้อมสำหรับการเลี้ยงในระบบรางน้ำไหล มีค่าเท่ากับ 1.14 และเลี้ยงในทะเลมีค่าเท่ากับ 1.79 ส่วนค่าสหสัมพันธ์ทางลักษณะปรากฎ สำหรับการเลี้ยงในระบบรางน้ำไหลมีค่าเท่ากับ 0.82 และเลี้ยงในทะเลมีค่าเท่ากับ 0.89 และค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฏระหว่างความกว้างเปลือกและความยาวเปลือก ของหอยที่เลี้ยงในระบบรางน้ำไหลและเลี้ยงในทะเลมีค่าเท่ากับ 0.61+-0.148 และ 0.74+-0.122 ตามลำดับ จากผลที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้สรุปได้ว่า สามารถจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหอยตะโกรมกรามดำได้ โดยการคัดเลือกพันธุ์โดยใช้ลักษณะความกว้างเปลือกหรือความยาวเปลือกเพียง ลักษณะหนึ่งได้ ทั้งนี้เพราะลักษณะทั้งสองดังกล่าวมีความสัมพันธุ์กันเชิงบวก และเมื่อนำค่าอัตราพันธุกรรมที่คำนวณได้ที่อายุ 210 วัน มาประเมินหาค่าผลตอบสนองต่อการคัดเลือกในรุ่นลูก จากการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จากประชากรเดิม 10% พบว่าจะได้รุ่นลูกมีความกว้างเปลือกและความยาวเปลือกเพิ่มขึ้นประมาณ 11% ต่อรุ่นสำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงในระบบรางน้ำไหลและเพิ่มขึ้นประมาณ 8 และ 10% ต่อรุ่นสำหรับการเลี้ยงในทะเลen
dc.description.abstractalternativeHeritabilities for growth rate of oyster, crassostrea lugubris, hatchery produced in May 1996 were estimated by sib analysis. Two groups of oysters consisting of 27 fullsib families (10 males and 27 females) were obtained. Each fullsib families were separately nursed up to 1.5 cm. in shell length. Oysters were then tagged individually and were grown together in twenty-four 40x40 sq.cm nets at density of 80 individual/net. Two grow out systems were used i.e. (1) in raceway which represent a semi-intensive system and (2) under farm condition which represent a conventional system. Individual growth rate data in term of shell width and shell were analyzed for various components. Then, heritabilities were calculated at the age of 150, 180 and 210 days. Genotypic correlations and phenotypic correlations between shell width and shell length as well as phenotypic correlations of shell width and shell length under the two grow out systems at 210 days were also calculated. Heritabilities estimated under the raceway system were 0.34+-0.115, 0.39+-0.121 and 0.36+-0.171 for shell width and 0.26+-0.079, 0.34+-0.100 and 0.33+-0.100 for shell length at 150, 180 and 210 days, respectively. Under the farm system, estimated heritabilities were 0.21+-0.078, 0.29+-0.136 and 0.26+-0.131 for shell width equal 0.32+-0.117, 0.27+-0.139 and 0.27+-0.148 for shell length at 150, 180 and 210 days, respectively. Genotypic correlations, environmental correlations and phenotypic correlations between shell width and shell length at age 210 days were 0.97 and 0.55; 1.14 and 1.79; and 0.82 and 0.89 under the raceway system and the farm system, respectively. Phenotyphic correlation between oyster grow in the raceway and in the farm system based on shell width and shell length were 0.61+-0.148 and 0.74+-0.122, respectively. From this study, it is concluded that selection based on either shell width or shell length can be used to increase production effeciency of this oyster. With the obtained heritabilities estimated at age 210 days and 10% selected proportion, it is expected that 11% in shell widht and shell lenght can be increased per generation under raceway system. Under the farm system, 8% increase in shell width per generation and 10% increase in shell length per generation can also be expected.en
dc.format.extent1181212 bytes-
dc.format.extent1552678 bytes-
dc.format.extent1222545 bytes-
dc.format.extent1251843 bytes-
dc.format.extent1070760 bytes-
dc.format.extent771625 bytes-
dc.format.extent1226354 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหอยตะโกรมกรามดำen
dc.subjectการปรับปรุงพันธุ์en
dc.subjectหอยนางรม -- การเพาะเลี้ยงen
dc.titleการประเมิณค่าอัตราพันธุกรรมต่อการเติบโตของหอยตะโกรมกรามดำ Crassostrea lugubris, sowerby 1871 โดยวิธี sib analysisen
dc.title.alternativeEstimation of heritability on growth of oyster crassostrea lugubris, sowerby 1871 by sib analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPadermsak.J@Chula.ac.th, paderm@sc.chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungtawan_Yo_front.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Rungtawan_Yo_ch1.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Rungtawan_Yo_ch2.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Rungtawan_Yo_ch3.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Rungtawan_Yo_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Rungtawan_Yo_ch5.pdf753.54 kBAdobe PDFView/Open
Rungtawan_Yo_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.