Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11781
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัมพร ทีขะระ | - |
dc.contributor.author | ฐิตยารัตน์ อินทวงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-12-09T02:10:31Z | - |
dc.date.available | 2009-12-09T02:10:31Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745673838 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11781 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เนื้อหา ประเภท ลักษณะ ช่วงระยะเวลา และแหล่งผลิตหนังสือหายากของห้องสมุดสยามสมาคม จำนวน 769 รายการ โดยไม่รวมเอกสารตัวเขียน จุลสาร สูจิบัตร หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร แผนที่และสิ่งพิมพ์ระยะสั้น ยกเว้นราชกิจจานุเบกษา ในช่วงแรกของการผลิต คือ พ.ศ. 2417-2451 วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีประเมินตามเกณฑ์ประเมินหนังสือหายากที่สร้างขึ้น จากการศึกษาเอกสารและคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 9 ท่าน ผลการวิจัยเสนอเป็นค่าร้อยละ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ หนังสือหายากภาษาไทยในห้องสมุดสยามสมาคม จำแนกตามการจัดหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้ มีเนื้อหาด้านวรรณคดี (ได้แก่ วรรณคดีไทย) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 23.93 รองลงมาคือหมวดสังคมศาสตร์ (ได้แก่ วัฒนธรรมไทย ลัทธิประเพณีไทย การละเล่นพื้นเมือง) หมวดประวัติศาสตร์ (ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย) หมวดศาสนา (ได้แก่ วัฒนธรรมไทย ลัทธิประเพณีไทยที่เกี่ยวกับศาสนา) หมวดวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และหมวดวิทยาศาตร์ ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับแนวเหตุผลที่ว่า หนังสือหายากภาษาไทยของห้องสมุดสยามสมาคมส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ วัตถุประสงค์ของสมาคม อันได้แก่ "การรวบรวมข้อเท็จจริง และส่งเสริมศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปและวัฒนธรรมไทย วรรณคดีไทย ลัทธิประเพณีไทย การละเล่นพื้นเมือง และเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย" เมื่อประเมินหนังสือหายากภาษาไทยตามเกณฑ์ 4 ประเภท พบว่า หนังสือหายากประเภทที่มีสภาพสมบูรณ์หรือมีสภาพรูปเล่มสวยงามมีจำนวนมากที่ สุด คิดเป็นร้อยละ 94.80 รองลงมาคือหนังสือที่มีความสำคัญทางด้านประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย หนังสือที่มีประวัติการครอบครอง และหนังสือที่มีเนื้อหาเป็นที่กล่าวขวัญถึง จากเกณฑ์ 16 ลักษณะ พบว่า หนังสือหายากลักษณะที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยยังอยู่ในสภาพดี มีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 93.11 รองลงมาได้แก่ หนังสือที่มีการพิมพ์จำนวนจำกัด หนังสือที่จัดพิมพ์ในช่วงระยะ 50-90 ปี ของพัฒนาการพิมพ์ของประเทศไทย (พ.ศ. 2379-2468) หนังสือที่พิมพ์จากต้นฉบับที่มีอยู่ในหอสมุดวชิรญาณราชบัณฑิตสภา และกรมศิลปากร เมื่อศึกษาระยะเวลาที่ผลิตหนังสือ พบว่า มีหนังสือที่จัดพิมพ์ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2454-2468 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.15 รองลงมาได้แก่ หนังสือในช่วง พ.ศ. 2469-2484 หนังสือที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ หนังสือช่วง พ.ศ. 2488 เป็นต้นมา หนังสือหายากที่ผลิตในช่วง พ.ศ. 2412-2453 ส่วนใหญ่จัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์หลวง รองลงมาได้แก่ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ โรงพิมพ์วัชรินทร์ โรงพิมพ์กองละหุโทษ โรงพิมพ์อักษรนิติ หนังสือหายากที่จัดพิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2454-2468 และ พ.ศ. 2469-2484 ส่วนใหญ่ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร หนังสือหายากที่จัดพิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2485-2487 และช่วง พ.ศ. 2488 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์หนังสือที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ส่วนใหญ่พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับห้องสมุดสยามสมาคม ในการสงวนรักษาหนังสือหายาก ตลอดจนการปรับปรุงการจัดหา และให้บริการข้อมูลเพื่อการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับประเทศไทยและ ประเทศเพื่อนบ้าน | en |
dc.description.abstractalternative | Directs to study the contents, categories, characteristic, time span and sources of publications for 769 items of Thai rare books belonging to the Siam Society Library, including the Royal Gazette during its first period of publication i.e. B.E. 2417-2451. Employs in this research criterion for evaluating rare books based on documents and under guidances of the learned personnel. Sums up from the findings that the main content of them is Thai literature, next in line are Social Science group, the History Group and the Applied Science and Science Group respectively ; 94.80 percent are books of perfect condition, in other words, deluxe edition ; the largest publications were printed during B.E. 2454-2468 ; the majority of those published during B.E. 2454-2468, B.E. 2469-2484 and the undated were printed at Sophon Pipatnakorn Press. | en |
dc.format.extent | 24016808 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สยามสมาคม. ห้องสมุด | en |
dc.subject | หนังสือหายาก -- ไทย | en |
dc.subject | หนังสือและการอ่าน | en |
dc.subject | การพิมพ์ -- ไทย | en |
dc.subject | บรรณานุกรม -- ไทย | en |
dc.subject | โรงพิมพ์ | en |
dc.title | การประเมินหนังสือหายากภาษาไทยของห้องสมุดสยามสมาคม | en |
dc.title.alternative | An evaluation of Thai rare books collection of the Siam Society Library | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บรรณารักษศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Titayarat.pdf | 23.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.