Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11898
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของดินกับโครงสร้างระบบนิเวศป่าผลัดใบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Other Titles: Relationships between soil properties and structure of deciduous forest ecosystem, Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary
Authors: ภูวดล โกมณเฑียร
Advisors: จิรากรณ์ คชเสนี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ป่าผลัดใบ -- ไทย -- ห้วยขาแข้ง
ดิน -- การวิเคราะห์
ป่าเต็งรัง
ป่าเบญจพรรณ
นิเวศวิทยาป่าผลัดใบ
ระบบนิเวศ -- ไทย -- ห้วยขาแข้ง
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติดินกับโครงสร้างระบบนิเวศป่าผลัดใบ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยการเลือกพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของระบบนิเวศป่าผลัดใบที่เป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณในแต่ละแปลงจะทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ลงระดับอกตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตรขึ้นไป ทำการเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 3 ระดับคือ 0-20, 20-40 และ 40-60 เซนติเมตร จำนวน 6 จุด และทำการวิเคราะห์สมบัติของดินทั้งทางกายภาพและทางเคมี วิเคราะห์การจัดกลุ่มของพรรณไม้ในแปลงตัวอย่างโดยสถิติวิธี Cluster analysis แบบ Flexible strategy วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของดินกับกลุ่มของพรรณไม้โดยสถิติวิธี Discriminant analysis การวิเคราะห์การจัดกลุ่มของพรรณไม้สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นตัวแทนของระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ กลุ่มที่ 2 เป็นตัวแทนของระบบนิเวศป่าเต็งรัง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของดินกับโครงสร้างระบบนิเวศป่าผลัดใบพบว่า ปริมาณไนโตรเจนรวม (Total nitrogen) ปริมาณเหล็กที่แลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable iron) และปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดโครงสร้างระบบนิเวศป่าผลัดใบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และผลการศึกษาสามารถสร้างสมการที่ทำนายและใช้จำแนกระบบนิเวศป่าผลัดใบทั้งป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Other Abstract: Studies relationships between soil properties and structure of deciduous forest ecosystems in the 5 representative plots of dry dipterocarp forest and mixed deciduous forest at Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary. Specie composition, number of species and diameter at breast hight of trees >_ 4.5 centimeters were collected. Six soil sampling were made in each plot at the depth of 0-20, 20-40 and 40-60 centimeters. Chemical and physical soil properties were analysed. Quantitative ecological parameters of trees were analysed by cluster analysis with flexible strategy. Discriminant analysis was used to related soil properties with stand cluster. Cluster analysis suggested 2 groups of clustering based on number of species and number of individuals of 5 permanant plots. Discriminant analysis suggested that total nitrogen exchangeable iron and organic matter were important factors in discriminating between 2 groups than other soil properties. The discriminant equation to determine the structure of deciduous forests ecosystems in Huai Kha Khaeng wildlife Sanctuary was constructed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11898
ISBN: 9746354817
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhuvadol_Go_front.pdf820.57 kBAdobe PDFView/Open
Bhuvadol_Go_ch1.pdf856.7 kBAdobe PDFView/Open
Bhuvadol_Go_ch2.pdf997.17 kBAdobe PDFView/Open
Bhuvadol_Go_ch3.pdf780.59 kBAdobe PDFView/Open
Bhuvadol_Go_ch4.pdf975.64 kBAdobe PDFView/Open
Bhuvadol_Go_ch5.pdf742.1 kBAdobe PDFView/Open
Bhuvadol_Go_ch6.pdf688.07 kBAdobe PDFView/Open
Bhuvadol_Go_back.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.