Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12234
Title: การประยุกต์ใช้รูปแบบของแฮมมอนด์เพื่อการประเมินการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: Application of Hammond's model for instructional evaluation of computer subject in secondary schools
Authors: มณฑาทิพย์ มณีอินทร์
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วิทยาการคอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การประเมินผลทางการศึกษา
หลักสูตร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อประยุกต์ใช้รูปแบบของแฮมมอนด์ประเมินการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ โดยประเมินจากผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์และนักเรียนที่เลือกเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ใน 3 มิติ คือ มิติด้านสถาบัน มิติด้านพฤติกรรม และมิติด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 16 คน ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 37 คน และนักเรียนที่เลือกเรียนวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จำนวน 450 คน ผลการประเมินพบว่า 1. มิติด้านสถาบัน : ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและนักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ในเกณฑ์ดี และสนใจที่จะศึกษาด้วยตนเอง 2. มิติด้านพฤติกรรม : นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ในเกณฑ์ดี (คือมีคะแนนตั้งแต่ 14-19 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน) รวมทั้งนักเรียนมีเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ในระดับปานกลาง (x = 3.42, S.D. = 1.06 หรือ PR 22-77) และมีทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สูง (ร้อยละ 81.05) แสดงว่านักเรียนน่าจะสามารถเรียนรู้วิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ 3. มิติด้านการเรียนการสอน : การจัดระบบการเรียนการสอน เนื้อหาวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิธีสอนวิชาคอมพิวเตอร์ และความพร้อมของครูอยู่ในระดับดี สิ่งอำนวยความสะดวกและงบประมาณในการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับพอใช้
Other Abstract: Applies Hammond's Model for instructional evaluation of computer subject in secondary school in 3 dimensions : behavioral dimension, instructional dimension, and institutional dimension. The subjects were 16 administrators, 37 computer teachers, and 450 students who studied basic computer. The findings were as follows : 1. Institutional dimension : the computer knowledge of administrators, teachers and students were good and they were interested in studying by themselves. 2. Behavioral dimension : the students had a good computer achievement (14-19 marks from 30 marks). Attitude of the students about computer were in moderate level (x = 3.42, S.D. = 1.06 or PR 22-77) and the skill-practice of computer were also good. (81.07%) The results inticated that the students were capable to study computer courses. 3. Instructional dimension : the organization, the content and the method concerning the teaching and learning computer courses were all at the good level. The facilities and the cost concerning the teaching and learning computer courses were at the fair level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12234
ISBN: 9746343084
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montatip_Ma_front.pdf763.8 kBAdobe PDFView/Open
Montatip_Ma_ch1.pdf748.4 kBAdobe PDFView/Open
Montatip_Ma_ch2.pdf938.74 kBAdobe PDFView/Open
Montatip_Ma_ch3.pdf888.57 kBAdobe PDFView/Open
Montatip_Ma_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Montatip_Ma_ch5.pdf955.84 kBAdobe PDFView/Open
Montatip_Ma_back.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.