Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1252
Title: การถอดรหัสแบบวนซ้ำโดยอาศัยการตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ สำหรับสัญญาณคิวพีเอสเคที่เกิดเรย์ลีเฟดดิงที่มีสหสัมพันธ์กัน
Other Titles: Iterative decoding using multiple symbol differential dectetion of correlated rayleigh fading QPSK
Authors: จันทิมา ศรีเตียเพ็ชร, 2522-
Advisors: สุวิทย์ นาคพีระยุทธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: nsuvit@chula.ac.th
Subjects: ระบบสื่อสารไร้สาย
ระบบสื่อสารเคลื่อนที่
ทฤษฎีรหัส
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสนอวิธีการปรับปรุงสมรรถนะของระบบถอดรหัสเทอร์โบ ที่ใช้ตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ สำหรับสัญญาณคิวพีเอสเคที่เกิดเรย์ลีเฟดดิงที่มีสหสัมพันธ์กัน ตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ทำหน้าที่ประมาณข่าวสารช่องสัญญาณ และส่งข่าวสารนี้ให้กับเครื่องถอดรหัสเทอร์โบเพื่อใช้ในกระบวนการถอดรหัส นอกจากนี้เครื่องถอดรหัสเทอร์โบยังถูกออกแบบให้ส่งข่าวสารกลับไปให้ ตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ ทำให้การประมาณช่องสัญญาณแม่นยำขึ้นในแต่ละรอบของการถอดรหัส และส่งผลให้กระบวนการถอดรหัสมีประสิทธิภาพดีขึ้น แนวความคิดหลักที่ใช้ในการปรับปรุงสมรรถนะของระบบถอดรหัสเทอร์โบ ที่ใช้ตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์คือ การเสนอให้ภาคส่งแยกส่งบิตข้อมูลและบิตรหัสที่คู่กันไป ในสัญญาณคิวพีเอสเคต่างสัญลักษณ์กัน เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีที่บิตข้อมูลและบิตรหัสจะเสียหายไปพร้อมกัน เมื่อผ่านช่องสัญญาณแบบเฟดดิง ทั้งนี้ระบบที่เสนอนี้จำเป็นจะต้องวิเคราะห์วิธีการถอดรหัสขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกัน โดยที่เครื่องถอดรหัสเทอร์โบยังคงสามารถใช้ข่าวสารช่องสัญญาณ ที่คำนวณมาจากตัวตรวจจับเชิงผลต่างแบบหลายสัญลักษณ์ได้ ผลจากการจำลองระบบแสดงให้เห็นว่า ระบบถอดรหัสที่เสนอสามารถปรับปรุงสมรรถนะของระบบถอดรหัสแบบเดิมให้ดีขึ้นได้ ทั้งในกรณีที่อัตราเร็วเฟดดิงเท่ากับ 0.01, 0.125 และ 0.200 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เฟดดิงมีการเปลี่ยนแปลงช้าๆ ที่อัตราเร็วเฟดดิงเท่ากับ 0.01 ระบบถอดรหัสที่เสนอสามารถลดอัตราความผิดพลาดของบิตลงได้ถึง 3 ระดับขนาด
Other Abstract: In this thesis, an improvement strategy of a turbo decoding system with multiple symbol differential detector (MSDD) of correlated rayleigh fading QPSK is proposed. The main task of MSDD is to estimate the channel states and send to turbo decoder. In addition, MSDD can also utilize the information output from turbo decoder. Due to the information exchange between MSDD and turbo decoder, the channel estimation can be improved with each decoding iteration resulting in better performance of decoding process. The main idea in improving the performace of turbo decoding system with MSDD is to transmit data bit and associated coded bit into different QPSK symbols in order to avoid the case that both bits are corrupted over fading channel. With this proposed system, the new decoding scheme has to be derived accordingly. However, the channel information calculated from MSDD can still be used by turbo decoder. Based on the results from computer simulations, it is found that the performance of the proposed decoding system is better than that of the original decoding system for fading rate of 0.01, 0.125 and 0.200. Especially for slow fading at fading rate equals to 0.01, the proposed decoding system can lower the bit error rate down by 3 orders of magnitude.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1252
ISBN: 9741716532
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chantima.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.