Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12542
Title: การพัฒนาพรีเรควิซิทโมเดลวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน สำหรับหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับปริญญาตรี โดยใช้แผนที่มโนทัศน์
Other Titles: The development of prerequisite model in basic mathematics courses for science and technology undergraduate curricula by using concept maps
Authors: ชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
ยงค์วิมล เลณบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pornchulee.A@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
ความคิดรวบยอด
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อที่จะสร้างแผนที่มโนทัศน์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน สำหรับหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับปริญญาตรี และใช้แผนที่มโนทัศน์ที่สร้างนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาพรีเรควิซิทโมเดล ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน โมเดลที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นโมเดลเชิงสาเหตุที่เรียกว่า พรีเรควิซิทโมเดล ประกอบด้วยตัวแปรภายนอก 2 ตัวแปร และตัวแปรภายใน 5 ตัวแปร ผู้วิจัยได้ปรับปรุงและพัฒนาโมเดลบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้หลักการและทฤษฎีของการวิเคราะห์เส้นทาง และประกอบกับคำแนะนำที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรล โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ 1 ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 384 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ 1 จำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรในโมเดล โดยการหาค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปร ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สำหรับเรื่องอิทธิพลของตัวแปร สมการโครงสร้าง และการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมลิสเรล 7.20 และ 8.10 ผลการวิจัยพบว่า พรีเรควิซิทโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า ไค-สแควร์ เท่ากับ 6.79 ที่องศาอิสระเท่ากับ 5 ดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.995 สำหรับในเรื่องการวิเคราะห์อิทธิพล พบว่าอิทธิพลระหว่างตัวแปรมีนัยสำคัญทุกคู่ เมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องที่เป็นพื้นฐานด้วยกัน พบว่าเรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อทุกเรื่องในพรีเรควิซิทโมเดล ซึ่งได้แก่ เรื่องการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน การประยุกต์ของอนุพันธ์ การอินทิเกรด การประยุกต์ของการอินทิเกรต และการหาคำตอบของสมการที่ไม่เป็นเชิงเส้น โดยมีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.27 0.45 0.41 0.45 และ 0.15 ตามลำดับ สำหรับอิทธิพลทางตรงนั้นเรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน ยังคงมีอิทธิพลสูงสุดต่อเกือบทุกเรื่อง ยกเว้นอิทธิพลทางตรงต่อเรื่องการประยุกต์การอินทิเกรต ซึ่งเรื่องอินทิเกรต มีอิทธิพลสูงสุด ในเรื่องของสมการโครงสร้างพบว่า สมการที่มีอำนาจการพยากรณ์สูงที่สุดคือ สมการอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตาม เรื่องการประยุกต์ของการอินทิเกรต โดยตัวแปรต้น เรื่องลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน การประยุกต์ของอนุพันธ์ การอินทิเกรต
Other Abstract: The purpose of this study was to construct the concept maps in basic mathematics courses for science and technology undergraduate curricula and used them as the basis for developing the prerequisite model. This causal model consists of two exogenous variables and five endogenous variables. The prerequisite model developed was based on empirical data analyzed by LISREL programs. The sample consist of 384 engineering students in the faculty of Engineering, King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok. Data were collected by using 3 tests. Basic statistics were used to analyze the background of samples. The LISREL program version 7.20 and 8.10 were used in testing the measurement of the effects, structural equations and the fitness of the model. The result were as follows. The developed model was consistent with empirical data with chi-square = 6.79 (df=5) GFI=0.995. Every path coefficients between the prerequisite topics had significant effects. Specifically, limits and continuities of the functions had the maximum total effects to derivatives of the functions, applications of derivatives, integrations, applications of integrations and solutions of nonlinear equations with the effects of 0.27, 0.45, 0.41, 0.45 and 0.15 respectively. Moreover, the direct effects limits and continuities of the functions still had the maximum effects to the other variables except the effects to applications of integrations which had the maximum effects from integrations. The best equation from the structural equations accounted for 50% of variances in applications of integrations by the independence variables: limits and continuities of the functions, derivatives of the functions, applications of derivatives, integrations and solutions of nonlinear equations. In sum, the fitness of the model with empirical data indicates that the concept mapping is a tool for the development prerequisite models. The principles and theorides of path analysis are productive in testing and developing prerequisite models so as to suggest an appropriate order of the contents in individual course or curriculum in higher education as possibly other levels as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12542
ISBN: 9746352288
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanasak_Ba_front.pdf810.97 kBAdobe PDFView/Open
Chanasak_Ba_ch1.pdf921.68 kBAdobe PDFView/Open
Chanasak_Ba_ch2.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Chanasak_Ba_ch3.pdf960.97 kBAdobe PDFView/Open
Chanasak_Ba_ch4.pdf952.55 kBAdobe PDFView/Open
Chanasak_Ba_ch5.pdf978.05 kBAdobe PDFView/Open
Chanasak_Ba_back.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.