Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12914
Title: การออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการศึกษาทางไกลแบบอะซิงโครนัส
Other Titles: A design and development of asynchronous distance learning supporting system
Authors: วศิน ภิรมย์
Advisors: ชัยศิริ ปัณฑิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: chaisiri@cp.eng.chula.ac.th, Chaisiri.P@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษา -- ทรัพยากรเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การศึกษาทางไกล
ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการศึกษาทางไกลแบบอะซิงโครนัส ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในการออกแบบและพัฒนาระบบได้นำเอาซอฟต์แวร์ MOODLE ซึ่งเป็นโปรแกรมบริหารจัดการการเรียนรู้แบบเปิดเผยซอร์สโค้ด มาเพิ่มความสามารถให้ใช้งานบทเรียนตามมาตรฐานของ SCORM ได้ดียิ่งขึ้น โดยได้ออกแบบ APIWrapper ด้วย JavaScript ติดต่อกับ scormAPI.php ใน MOODLE ให้มีการเก็บคะแนนและผลการใช้งานไว้ รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมที่สามารถบันทึกจัดเก็บข้อมูล วันที่และเวลาที่เรียน รายละเอียดของไฟล์บทเรียนที่ได้รับชม และรูปแบบการทำงาน เช่น การกดแป้นพิมพ์ การใช้งานโปรแกรมอื่นๆ ในระหว่างเรียน เป็นต้น ระบบนี้ได้ถูกทดลองการใช้งานกับนิสิตสาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ โครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 นิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 21 คน ซึ่งเรียนวิชาจริยธรรมวิชาชีพทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกลุ่มที่ 2 นิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 37 คน ซึ่งเรียนวิชาปฏิสัมพันธ์มนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้สอนอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เรียนศึกษาที่ศูนย์การเรียนรู้จังหวัดน่าน ผลการทดลองใช้งานระบบสนับสนุนการศึกษาทางไกลแบบอะซิงโครนัส พบว่า ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม มีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตามความเหมาะสมในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ดังจะเห็นได้จาก ผู้เรียนกลุ่มที่ 2 มีความถี่ในการเข้าศึกษาทบทวนบทเรียน และเข้าสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามการเรียนในวันอื่นนอกจากวันที่มีการเรียนในสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความถี่การเข้าใช้งานกลางคืนในช่วงเวลาก่อนเที่ยงคืนในสัดส่วนที่มากกว่าหลังเที่ยงคืน ขณะที่กลุ่มที่ 1 มีความถี่การเข้าใช้งานกลางคืน ในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนในสัดส่วนที่มากกว่าก่อนเที่ยงคืน สำหรับความถี่การใช้งานกลางวันมีสัดส่วนสูงในช่วงเวลาเรียนของแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ กลุ่มที่ 2 เห็นว่าระบบนี้เข้าเรียนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ สะดวก รวดเร็ว อยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการทดสอบปฏิสัมพันธ์การใช้งานระบบ พบว่าทักษะการใช้งานของผู้เรียนอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ และสามารถพยากรณ์การใช้ Bandwidth ได้จากสมการ Bandwidth = 0.243 (useable frequency)
Other Abstract: To design and develop an asynchronous distance learning supporting system comfortably used for both on-line and off-line distance learning. In this research, MOODLE open source e-learning was used to be the content and learning management system to increase performance for learning objectives according to SCORM requirements. The APIWrapper was designed by JavaScript linking with scormAPI.php in MOODLE. Therefore, this system can record the score and using results, including general data, date and time of using, details of learning objectives and activities, i.e., key stroke and other program using in time of learning. This system was tested with 2 groups of student of the software development department, higher education of opportunity enhancement of Chulalongkorn University. The first group is the 21 senior students for learning in Computer Engineering Professional Ethics, classing in Bangkok and the second group is the 37 sophomore students for learning in Human Computer Interaction, classing in the Nan province learning center. The result of testing the asynchronous distance learning supporting system with learners showed that 2 groups effectively used this system in different conditions. For results of the frequency for studying learning objectives and exchanging knowledge, everyday except learning day, the second group showed higher frequency than the first group. Moreover, the frequency before midnight using of the second group was higher than that of the first group while the first group showed the frequency after midnight using higher than before midnight using. For the learning time, both two groups showed high using. In addition, the second group gave the recommendation that this system can comfortably and rapidly use every time requiring in the highest level. In the interaction of system using, the skill of learner using was acceptable. Moreover, the use of Bandwidth was forecasted by Bandwidth equation, which equals to 0.243 (useable frequency)
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12914
ISBN: 9745325082
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasin_pi.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.