Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13133
Title: การรับฟังคำรับสารภาพของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา : ศึกษาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547
Other Titles: Admissibility of the accused's confession as evidence in criminal case : study on the criminal procedure code (22nd Amendment) Act B.E. 2547
Authors: อัญชนา สุขสาคร
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
จรัญ ภักดีธนากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Mattaya.J@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรับสารภาพ
ผู้ต้องหา
สิทธิผู้ต้องหา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
พยานหลักฐาน
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โดยหลักแล้วพยานหลักฐานทุกชนิดที่มีคุณสมบัติบ่งชี้ถึงข้อเท็จจริง ที่พิพาทกันในคดีย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ซึ่งคำรับสารภาพของผู้ตัองหาเป็นพยานหลักฐานชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะผู้ที่จะรู้เห็นการกระทำความผิดได้ดีที่สุดก็คือ ผู้กระทำความผิดเอง คำรับสารภาพของผู้ต้องหาจึงมีคุณค่าในทางพยานหลักฐาน และมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา แต่บางครั้งการแสวงหาพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ อาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ เช่น อาจจะใช้วิธีการอันไม่ชอบด้วยกฏหมายบีบบังคับ หรือจูงใจให้ผู้ต้องหารับสภาพ ซึ่งเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยตรง และเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 โดยกำหนดวิธีปฏิบัติในการสอบคำให้การของผู้ต้องหาไว้อย่างเคร่งครัด ให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทั้งในชั้นจับกุมและสอบสวน หากฝ่าฝืน คำรับสารภาพของผู้ต้องหาที่ได้มา ก็ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของผุ้ต้องหาคนนั้นได้ โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความรุนแรงของอาชญากรรมในประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จากการศึกษาการรับฟังคำรับสารภาพของผู้ต้องหาในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และเยอรมนี ไม่พบประเทศใดที่วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามรับฟังคำรับสารภาพ ของผู้ต้องหาเป็นพยานหลักฐานอย่างเคร่งครัดเหมือนดังเช่นประเทศไทย เนื่องจากการวางหลักเกณฑ์ในเรื่องของการรับฟังพยานหลักฐานไว้อย่างเคร่งครัดเกินไปนั้น จะมีผลต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีและทำให้ยากต่อการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายในเรื่องการรับฟังคำรับสภาพของผุ้ต้องหาไว้อย่างเคร่งครัด เพียงเพื่อมุ่งคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาเพียงด้านเดียว จึงเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และเพื่อมิให้กฏหมายเกี่ยวกับการรับฟังคำรับสารภาพของประเทศไทยมีความเคร่งครัดจนเกินจำเป็น จึงควรมีการแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรับฟังคำรับสารภาพของผู้ตัองหาให้มีความยีดหยุ่นยิ่งขึ้น โดยให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจรับฟังคำรับสารภาพของผู้ต้องหาได้ หากเห็นว่าเพื่อประโยชน์ของกระบวนการยุติธรรม โดยวางหลักของการใช้ดุลยพินิจดังกล่าวไว้ด้วย ซึ่งจะทำให้กฏหมายเกี่ยวกับการรับฟังคำรับสารภาพเป็นพยานหลักฐานในประเทศไทย มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันเหมือนกฏหมายที่เป็นอยู่ในระบบสากล
Other Abstract: In principle, all evidences having probative value to prove facts in dispute are able to be admitted. Confession of alleged offender is an important evidence because the person who realizes with commission of an offence is the wrongdoer. Confession of alleged offender is a strong evidence playing an important role with proceeding of the criminal cases. Nevertheless, seeking of evidence by officer may affect right and freedom of people such as illegal procedure, oppression of inducement for confession. For protecting right and freedom of people, the Criminal Procedure Code (22nd Amendement) Act B.E. 2547 is issued by the Parliament for enforcement and the Act is strictly determined about procedure for government officer to comply with not only at the stage of arrest but also investigation. If the officer violates the Act, confession of alleged offender will not be admitted without any exception. This does not conform with criminal situation in Thailand which is in a high tendency. From studying, admissibility of the accued's confession in the United States of America, England, Australia and Germany are not strictly determined as that in Thailand because adhering to strict doctrine will affect establishing the guilt of the accused and will be an obstruction of bringing the criminal to receive the punishment. Hence, the strict enactment involved with inadmissibility of the accused's confession which is only for protecting the alleged offender is highly obstruction for maintaining public order. Beside, to avoid the strict principle relating to inadmissibility of the accused's confession, the Act should be amended for more flexible which the accused's confession should be admitted by discretion of judge if it is beneficially for proceeding. The disceretion as mentioned should be exercised according to a regulation which admissibility of the accused's confession will be appropriate for circumstances in Thailand and similarly with the legal system of ther nations.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13133
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.382
ISBN: 9741434049
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.382
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchana_So.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.