Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13535
Title: การแสดงออกของยีนมิวซินในผู้ป่วยโรคนิ่วไต
Other Titles: Mucin gene expression in nephrolithiasis
Authors: ขนิษฐา พูนภิรมย์
Advisors: ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
ชาญชัย บุญหล้า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piyarat.T@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแสดงออกของยีน
มิวซิน
นิ่วไต
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มิวซิน เป็นไกลโคโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ โครงสร้างประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตซึ่งส่วนใหญ่เป็น O-glycan ในปัจจุบันพบมิวซิน 19 ชนิด มีรายงานในนิ่วถุงน้ำดีและนิ่วในตับพบว่า มิวซินจะมีปริมาณมากขึ้นและส่งเสริมการเกิดก้อนนิ่ว โดยในขณะนี้หน้าที่และการแสดงออกของมิวซิน ต่อการเกิดนิ่วในผู้ป่วยโรคนิ่วไตยังไม่มีการศึกษา รายงานนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงออกของ MUC1 และ MUC2 ในเนื้อเยื่อไตของผู้ป่วยโรคนิ่วไต และศึกษาบทบาทของมิวซินในปัสสาวะต่อการเกิดการเกาะกลุ่มของผลึกนิ่วชนิดแคลเซียมออกชาเลต ผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ทำการศึกษามีจำนวนทั้งหมด 31 ราย โดยจะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไตและปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เนื้อเยื่อไตของกลุ่มควบคุม ได้จากผู้ป่วยโรคมะเร็งไตที่ต้องตัดไตออก โดยทำการเก็บเนื้อเยื่อไตในส่วนที่ไม่ใช่มะเร็งและส่วนที่เป็นมะเร็ง มีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงจากผู้มีสุขภาพดีจำนวน 31 ราย โดยทำการวัดการแสดงออกของ mRNA ของ MUC1 และ MUC2 โดยวิธี RT-PCR การหาปริมาณ 8-hydroxy deoxyguanosine (8-OHdG) ซึ่งถือว่าเป็นสารบ่งชี้ของการเกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นในเนื้อเยื่อไต การวิเคราะห์ปริมาณของครีเอตินีน ออกชาเลต ซิเทรต และ 8-OHdG ในปัสสาวะ ทำการสกัดมิวซินในปัสสาวะเพื่อหาปริมาณของมิวซินโดยวิธี CL-2B gel filtration ทำการย้อม MUC1 หากให้ผลเป็นบวกจะเทรวมกัน ซึ่งจะทำให้ได้กลุ่ม fraction ที่ 27-43 จากปัสสาวะของผู้มีสุขภาพดี (HP1) fraction ที่ 5-17 จากปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไต (NLP1) และ fraction ที่ 24-40 จากปัสสาวะผู้ป่วยโรคนิ่วไต (NLP2) มาทดสอบการเกาะกลุ่มของผลึก จากการศึกษาทั้งหมด พบว่า MUC1 ในเนื้อเยื่อไตของผู้ป่วยโรคนิ่วไตให้ผลบวกทุกราย ในขณะที่การแสดงออกของ MUC2 ให้ผลบวกเพียง 64.52% (20 รายจาก 31 ราย) การแสดงออกของ MUC1 มีแนวโน้มสูงกว่าการแสดงออกของ MUC2 ใน เนื้อเยื่อไตของผู้ป่วยโรคนิ่วไตเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อไตส่วนที่ไม่ใช่มะเร็งของกลุ่มควบคุม ความสัมพันธ์ระหว่างระดับ 8-OHdG กับการแสดงออกของ MUC1 และ MUC2 ในเนื้อเยื่อไต ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อวัดการเกาะกลุ่มของผลึกนิ่วแคลเซียมออกซาเลต พบว่า NLP1 มีค่าการเกาะกลุ่มสูงกว่า HP1 และ NP2 อย่างมีนัยสำคัญ และพบปริมาณของกรดเซียริกใน NP1 มีปริมาณต่ำกว่า HP1 และ NLP2 จากผลการวิเคราะห์ MUC1 มีแนวโน้มแสดงออกสูงในเนื้อเยื่อไตของผู้ป่วยโรคนิ่วไต NLP1 มีขนาดใหญ่กว่าและมีปริมาณกรดเซียริกต่ำ ซึ่งจะกระตุ้นการเกาะกลุ่มชนิดแคลเซียมออกซาเลต การศึกษานี้พบว่ามิวซินในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไตจะมีขนาดใหญ่และประจุลบน้อย ซึ่งทำให้มีผลส่งเสริมต่อการโตขึ้นของก้อนนิ่ว
Other Abstract: Mucin (MUC) is a large molecular weight glycoprotein containing numerous O-linked glycans. To date, 19 human mucin genes have been identified. In gallstone and hepatolithiasis, mucins are up-regulated and their role in lithogenesis has been demonstrated. Expression and lithogenic function of mucins in kidney stone disease have not been explored. This study aimed to investigate the expression of MUC1 and MUC2 in renal tissues of patients with nephrolithiasis and to examine the role of urinary mucins in calcium oxalate (CaOx) crystal aggregation. Renal biopsy and 24-hour urine specimens were obtained from 31 stone patients who underwent open stone surgery. Control renal tissues (n=7) were taken from non-cancerous and cancerous portions of nephrectomy patients with localized renal tumors. Control 24-hour urine samples were collected from 19 healthy subjects. Intrarenal expression of MUC1 and MUC2 transcripts were measured by real time RT-PCR. 8-hydroxydeoxyguanosine (8-OHdG), an oxidative DNA damage marker was determined in renal tissues. Urine specimens were analyzed for creatinine, oxalate, citrate, N-acetyl gluosaminidase (NAG) activity and 8-OHdG. Urinary mucins were partially purified from pooled urine samples of healthy and renal stone subjects using CL-2B gel filtration column. MUC1-positive fractions were pooled and named HP1 (for healthy pool, fractions 27-43), NLP1 (for nephrolithiasis pool, fractions 5-17) and NLP2 (fractions 24-40). The lithogenic activity of each pooled fraction was examined by in vitro aggregation assays. Urinary citrates significantly lower than healthy subjects. Level of urinary 8-OHdG and NAG activity in nephrolithiatic group was significantly higher than in healthy group. In nephrolithiasis, MUC1 was positive in all samples whereas MUC2-positive tissues were accounted for 64.52% (20/31). Expression level of MUC1 was higher than MUC2. MUC1 trended to be overexpressed in nephrolithiasis tissues compared to non-cancerouse renal tissue controls. Association between Oxidative DNA damage and the expression of MUC1 and MUC2 was not observed. CaOx crystal aggregation assay revealed that NLP1 had an aggregation coefficient significantly higher than HP1 and NLP2. Total Sialic acid content in NLP1 was lower than HP1 and NLP2. In conclusion, MUC1 trended to be up-regulated in stone-containing renal tissues. NLP1 had a very large size but low sialic acid content. It promoted the aggregation of CaOx crystals. The presence of large and low-negative-charge mucins in the urine of nephrolithiasis patients may enhance the growth of stone.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13535
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.568
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.568
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanitta.pdf11.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.