Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13689
Title: การวิเคราะห์ธาตุในโบราณวัตถุ ณ พื้นที่โดยวิธีไม่ทำลายด้วยเทคนิคการวัดรังสีพรอมต์แกมมา
Other Titles: Non-Destructive in situ elemental analysis of ancient objects using prompt gamma-ray measurement techniques
Authors: พวงพร ศรีสมบูรณ์
Advisors: นเรศร์ จันทน์ขาว
ศิริชัย หวังเจริญกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fnenck@eng.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โบราณวัตถุ
รังสีแกมมา -- การวัด
การทดสอบแบบไม่ทำลาย
ต้นกำเนิดนิวตรอน
นิวตรอน -- การจับ
การแผ่รังสี -- การวัด
Issue Date: 2549
Abstract: ทดลองใช้เทคนิคการวัดรังสีพรอมต์แกมมาจากปฏิกิริยาการจับนิวตรอน และการชนแบบไม่ยืดหยุ่นของนิวตรอนในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพโบราณวัตถุ ณ พื้นที่ ส่วนสำคัญของระบบที่ใช้วิเคราะห์ คือต้นกำเนิดนิวตรอนอะเมริเซียม-214/เบริลเลียม ความแรง 500 มิลลิคูรี (18.5 กิกะเบคเคอเรล) และหัววัดรังสีชนิดเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูงแบบเคลื่อนย้ายได้ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการออกแบบภาชนะบรรจุต้นกำเนิดนิวตรอนสำหรับการหน่วงพลังงานและกำบังนิวตรอนโดยใช้ถังพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซ็นติเมตร สูง 32 เซ็นติเมตร เติมน้ำเต็ม มีกรวยเหล็กกล้าไร้สนิมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ซม. ยาว 18 เซ็นติเมตร สอดเข้าไปในถังทางด้านข้างเพื่อนำนิวตรอนออกไปยังตัวอย่างที่ทดสอบ ส่วนที่สอง คือระบบวิเคราะห์รังสีแกมมา ซึ่งประกอบด้วยหัววัดเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูงทีมีประสิทธิ์ภาพสัมพัทธ์ 30%และเครื่องวิเคราะห์สเหปกตรัม Inpector 2000 ที่ต่อเข้ากับไมโครคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว ตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมี 12 ชนิด ได้แก่ แผ่นโลหะหรือก้อนโลหะ แคลเซียมคลอไรด์ ซิงค์ออกไซค์ ปูนโบราณ รวมทั้งพระพุทธรูป และระฆังสำริด ในภาคสนามได้วิเคราะห์องค์พระประธานภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพบว่ามีพีคพลังงานของธาตุทองแดง ซิลิกอน คลอรีน และแคลเซียม แต่ไม่พบทองคำทั้งที่องค์พระประธานลงรักปิดทองคำไว้หนาประมาณ 0.5 ไมครอน ธาตูซิลิกอนและแคลเซียมที่พบคาดว่ามาจากปูนโบราณที่อยู่ภายใน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเทคนิดนี้สามารถวิเคราะห์ธาตุบางชนิดได้ เช่น โบรอน อะลูมิเนียม ซิลิกอน คลอรีน แคลเซียม ทองแดง เหล็ก และตะกั่ว แต่ไม่มีความไวในการวิเคราะห์บางธาตุ เช่น ดีบุกและทองคำ
Other Abstract: Measurement of prompt gamma-rays from neutron capture and inelastic scattering of neutrons was experimentally investigated to be used for in situ qualitative analysis of elements in ancient objects. A 500 mCi (1.85 GBq) Am-241/Be neutron source and a portable high purity germanium detector were the major parts of the analysis system. The first part of the research was the design of a neutron source container for neutron moderation and shielding using a plastic drum of 32 cm diameter and 32 cm height filled with water. A stainless of 9 cm diameter and 18 cm length was inserted fom the side of the source container in order to bring thermal neutrons out to the test specimen. the second part was a gamma-ray analysis system comprising a HPGe detector of 30% relative efficiency and an Inspector 2000 spectrum analyzer comected to a portable microcomputer. In laboratory, 12 test specimens were analyzed including metal sheets or blocks, calcium chloride, zinc oxide, mortar, as well as Buddha images and a bronze bell. In the field, a Buddha image at Wat Naphramain in Ayuthaya Province was analyzed. Cu, Si, CI and Ca were clearly seen in the spectrum obtained from the Buddha image. However AU could not be seen even the Buddha image was covered with gold of about 0.5 um thickness. Si and Ca most probably came from motar inside. The results indicated that the technique was capable of analysing some elements such as B, Al, Si, Cl, Ca, Cu Fe and Pb but was not sensitive to some elements like Sn and Au.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13689
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.720
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.720
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
puangporn.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.