Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13891
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัชระ เพียรสุภาพ-
dc.contributor.authorนิติ ปุรินทราภิบาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-11-11T11:41:05Z-
dc.date.available2010-11-11T11:41:05Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13891-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractงานก่อสร้างเป็นงานที่ซับซ้อนและมีสภาพการทำงานที่ยากต่อการควบคุมเหตุการณ์บางอย่างได้ อุบัติเหตุเป็นเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในงานก่อสร้าง จากการศึกษาพบว่าอุบัติเหตุในงานก่อสร้างส่งผลเสียทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน และระยะเวลาก่อสร้างของโครงการ งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดอุบัติเหตุในงานก่อสร้างคือ นโยบายขององค์กร การสร้างแรงจูงใจให้ปฏิบัติตามกฎ การควบคุมกระบวนการทำงาน และคุณสมบัติส่วนบุคคล แม้ว่าองค์กรขนาดใหญ่ได้กำหนดนโยบายและปัจจัยส่งเสริมเพื่อควบคุมอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง แต่ปัจจัยดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในเชิงปฏิบัติในโครงการก่อสร้างขนาดกลางและเล็กที่มีงบประมาณจำกัด ดังนั้นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสภาพโครงการดังกล่าวจึงเป็นผลมาจากพฤติกรรมของคนงานที่ปฏิบัติไม่เหมาะสม เพื่ออธิบายพฤติกรรมเสี่ยงของคนงานที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่เกิดในโครงการก่อสร้างขนาดกลางและเล็ก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการใช้ทฤษฎีการกระทำตามแผน (Theory of Planned Behavior) ในการอธิบายพฤติกรรมเสี่ยงของคนงานก่อสร้าง เนื่องจากทฤษฎีการกระทำตามแผนได้ถูกใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ในลักษณะต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งทฤษฎีนี้อธิบายว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มของปัจจัยเช่น ความตั้งใจ ทัศนคติต่อพฤติกรรม ความเชื่อต่อกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ต่อสิ่งควบคุมพฤติกรรม โดยบทความนี้ได้ทดสอบแนวคิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มคนงานก่อสร้างในโครงการก่อสร้างขนาดกลางและเล็ก สร้างแบบจำลองเบื้องต้นสำหรับแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยง พัฒนาและทดสอบแบบจำลองพฤติกรรมจากข้อมูลที่รวบรวมได้ด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ประเภทพฤติกรรมเสี่ยงที่น่าสนใจนำมาทำการศึกษามี 3 ประเภท คือ พฤติกรรมการไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะทำงาน พฤติกรรมการไม่ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้ และ พฤติกรรมการวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ และยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในเชิงลบต่อพฤติกรรมเสี่ยงทั้ง 3 ประเภทในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างคิดว่ากลุ่มอ้างอิงไม่ต้องการให้แสดงพฤติกรรมเสี่ยงทั้ง 3 ประเภทในระดับสูง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ว่าสิ่งควบคุมพฤติกรรมมีส่วนให้แสดงพฤติกรรมเสี่ยงในระดับสูง อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 พฤติกรรมพบว่า องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยในแบบจำลองส่งอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมเสี่ยงของคนงานก่อสร้างในลักษณะแตกต่างกัน และพบว่าแบบจำลองพฤติกรรมทั้ง 3 ชนิด สามารถอธิบายการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงของคนงานก่อสร้างได้ร้อยละ 52 ร้อยละ 50 และร้อยละ 51 ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeConstruction work is a complicated and uncontrollable fieldwork environment. An accident is one situation which cannot be controlled and almost always occurs in the process of performing construction work. Previous research has found that construction accidents affect life, assets and overall the construction time. Moreover, previous research has found that the main factors of controlling construction accidents are the organizational policy, the motivation to conform, the controlling of work processes and the individual trait. Though these supporting factors for controlling the accidents are provided in large construction projects, these factors are limited to implement in medium construction projects that have limited budget. Therefore the occurring of accident under this project environment is dependent on worker’s behavior. To describe accident risk behavior of construction workers, this research aims to propose the using of Theory of Planned Behavior (TpB) to explain the risk behavior of construction workers. TpB is used to rationally describe several human behavior in different aspects. This theory argues the human behavior occurring from group of factors such as the behavior intention, attitude toward behavior, subjective norm and the perceived behavioral control. The methodology is to collect data from interviewees of small and medium construction projects. Once the data is collected then build the primary model to describe the relationship between the factors and risk behavior. Then, examine and improving the all of three model conform to data from the sample by Structural Equation Model method. Result indicates that there are three main risk behaviors, which are non-wearing the safety equipment, non-inspecting the equipment before using it and non-putting thing in order on the ground. Further more, the result shows that the sampling of workers has a negative attitude on all behaviors at high level. The normative belief influences on the sampling of workers to deny all of behaviors at high level and the perceived behavioral control of the worker sampling is in high level. In addition, the relationship analysis by LISREL program reveals that the factors effect each of behavior in difference way and the model can describe the behavior of construction workers with 52, 50 and 51 percent respectively.en
dc.format.extent2830469 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.724-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคนงานก่อสร้างen
dc.subjectความปลอดภัยในงานก่อสร้างen
dc.subjectการก่อสร้าง -- อุบัติเหตุen
dc.subjectอุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- มาตรการความปลอดภัยen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยตามทฤษฎีการกระทำตามแผนกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของคนงานก่อสร้างen
dc.title.alternativeThe relationship between factors by theory of planned behavior and accident risk behaviors of construction workersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpvachara@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.724-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niti_pu.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.