Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1417
Title: รูปแบบของผลิตภัณฑ์จากการไฮโดรไลซิสสารประกอบอะลูมิเนียมอัลคอกไซด์ ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไตรเอทิลอะลูมินัมกับเอทิลไดเอทานอลเอมีนในน้ำมันแร่ขาว
Other Titles: Forms of hydrolysis products of aluminium alkoxide produced from the reaction between triethylaluminum and ethyldiethanolamine in the white mineral oil
Authors: พัชรา ภูผา, 2518-
Advisors: วิทย์ สุนทรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: wit.s@chula.ac.th
Subjects: น้ำมันแร่ขาว
ไฮโดรไลซิส
อะลูมิเนียมอัลคอกไซด์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหารูปแบบของผลิตภัณฑ์จากการไฮโดรไลซิสสารประกอบอะลูมิเนียมอัลคอกไซด์ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไตรเอทิลอะลูมินัมกับเอทิลไดเอทานอลเอมีนในน้ำมันแร่ขาว ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค NMR FTIR AAS SEM เครื่องมือวิเคราะห์ขนาดอนุภาค และเครื่องมือวิเคราะห์สารอินทรีย์ โดยมีหัวข้อการวิเคราะห์คือ ปริมาณอะลูมิเนียมที่ลดลง ขนาดของอนุภาคและโครงสร้างผลึก ปริมาณน้ำมันที่ได้หลังการไฮโดรไลซิส และการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในเฟสน้ำมันหลังการไฮโดรไลซิส ตัวแปรที่ใช้ศึกษา คือ อัตราส่วนโดยน้ำหนักของน้ำต่ออะลูมิเนียม อุณหภูมิ รอบของการปั่นกวน และเวลา จากการทดลองพบว่าไม่มีปัจจัยใดเลยที่ส่งผลต่อการลดลงของปริมาณอะลูมิเนียมในน้ำมันแร่ขาว เนื่องจากสารประกอบอะลูมิเนียมที่เกิดขึ้นหลังการไฮโดรไลซิสสามารถเกิดการรวมตัวกันเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ตกตะกอนและแยกเฟสออกจากน้ำมันที่ให้การย้อนกลับของปฏิกิริยาต่ำมาก ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในส่วนของการศึกษาการเปลี่ยนองค์ประกอบในเฟสน้ำมันหลังการไฮโดรไลซิส สำหรับขนาดของอนุภาคและโครงสร้างผลึกหลังการไฮโดรไลซิส และ ปริมาณน้ำมันที่ได้หลังการไฮโดรไลซิสจะขึ้นกับอุณหภูมิ การปั่นกวน และสัดส่วนน้ำต่ออะลูมิเนียมเป็นสำคัญ โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น ที่อุณหภูมิต่ำ รอบการปั่นกวนสูง เวลาในการทำปฏิกิริยามาก และมีปริมาณน้ำมาก จะมีแนวโน้มการเกิดผลิตภัณฑ์ในรูปของอะลูมิเนียมไตรไฮดรอกไซด์ ซึ่งมีโครงสร้างผลึกขนาดเล็กที่เชื่อมโยงด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์และสามารถกระจายตัวในเฟสน้ำมันได้ง่าย ทำให้ประสิทธิภาพการแยกน้ำมันต่ำลงในขณะที่สภาวะอุณหภูมิสูง รอบการปั่นกวนต่ำ เวลาในการทำปฏิกิริยาน้อย และปริมาณน้ำน้อย จะมีแนวโน้มการเกิดผลิตภัณฑ์ที่รวมตัวเป็นอนุภาคขนาดใหญ่และแข็งแรงที่เกิดจากการเชื่อมโยงด้วยพันธะโควาเลนต์ สามารถแยกออกจากเฟสน้ำมันได้ง่ายกว่า
Other Abstract: This research aimed at studying forms of hydrolysis products of aluminum alkoxide produced from the reaction between triethylaluminum and ethyldiethanolamine in the white mineral oil. The analysis in the study was accomplished both quantitatively and qualitatively, by the applications of NMR, FTIR, AAS, SEM, particle size analyzer, and CHNS/O analyzer. The analysis could be categorized into four aspects; namely, the reduction of aluminium content in oil, particle size and crystal lattice of hydrolysis products, oil content obtained after hydrolysis, and change in functional groups in oil after hydrolysis. Correspondingly, the following factors were investigated; mass ratio of water to aluminium, temperature, mixing speed, and time. According to the experiments, it was found that none of the stated factors had an effect in reducing the aluminium content in white mineral oil. Since after the hydrolysis, the aluminium compound could form to a larger lattice making it easy to separate from the oil phase after the hydrolysis which give low rate of reversible reaction. This was consistent with the results of the succeeding experiments where change in functional groups in oil phase after the hydrolysis was studied. As for the study of particle size and crystal lattice after hydrolysis, and oil content obtained from hydrolysis depends significantly on temperature, mixing speed and mass ratio of water to aluminium due to the occurrence of different form of products. At low temperature, high mixing speed, long reaction time and high water content, aluminium trihydroxide is formed whose lattice size is small and connected by Van der Waals' forces, and is able to distribute in oil phase. Therefore oil separation efficiency is low. On the other hand, at high temperature, low mixing speed, short reaction time and low water content, the products tend to form the larger and stronger particle size of covalent bonding which could be easier separated from oil phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1417
ISBN: 9741717369
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patchara.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.