Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.authorมานิสา พงษ์พรต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-12-26T01:24:09Z-
dc.date.available2010-12-26T01:24:09Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14252-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractศึกษาเพื่อทราบถึงการใช้ภาษาเขียนในรายการเกมโชว์ญี่ปุ่นทางโทรทัศน์ และเพื่อให้เข้าใจถึงการสื่อความหมายอันเกิดจากลักษณะต่างๆ ของภาษาเขียน ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอโทรทัศน์ที่เป็นทั้งการสื่อสารเชิงตรรกะที่อาศัยโครงสร้างทางไวยากรณ์ และยังเป็นการสื่อสารเชิงเสมือนโดยธรรมชาติของตัวภาษาเอง ที่มีต่อองค์ประกอบภาพและเสียงของรายการ จากผลการวิจัยสรุปว่า ลักษณะของภาษาเขียนที่ปรากฏในรายการเกมโชว์ญี่ปุ่นที่คัดสรรมาทำการศึกษาทั้ง 3 รายการนั้น มีลักษณะเป็นอักษรกราฟิกที่ช่วยเพิ่มข้อมูลให้แก่ผู้ชม ประดับประดาตกแต่ง และทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร โดยลักษณะหน้าที่ต่างๆ ของภาษาเขียนแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะใหญ่ คือ 1. แนะนำรายการ 2. บอกข้อมูลทั่วไป 3. บอกกติกาการเล่นเกม 4. แสดงคำพูดของบุคคลและกระตุ้นความสนใจ ภาษาเขียนในรายการเกมโชว์ญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นรหัสกำกับภาพและเสียง ให้เป็นไปตามกติกาและขั้นตอนของเกม อันเป็นหัวใจสำคัญของรายการเกมโชว์ อีกทั้งภาษาเขียนยังทำหน้าที่เพิ่มข้อมูลให้แก่ผู้รับสาร มีรูปแบบการเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่ทำให้มองเห็นง่ายและเร็วขึ้นในเวลาอันจำกัด ทำให้ผู้ชมมีโอกาสที่จะอ่านอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับรูปแบบของรายการเกมโชว์ ความหมายของภาษาเขียนในรายการเกมโชว์ญี่ปุ่นที่คัดสรรมาศึกษาทั้ง 3 รายการเกิดจากการใช้รูปแบบกราฟิกอักษรในการจำแนกความหมายและสื่ออารมณ์ความรู้สึก การใช้รหัสสีในการสื่อความหมาย การเคลื่อนไหวของสัญญะ การใช้สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ อันมีอิทธิพลมาจากการ์ตูนของญี่ปุ่น หรือ “มังงะ” ทำหน้าที่เป็นตัวจำกัดความหมายของภาพและเสียงให้อยู่ ทำให้กระบวนการสื่อความหมายเป็นไปด้วยความชัดเจน เพิ่มความสนุกในการติดตาม และลดความคลุมเครือในการตีความของผู้รับสาร ทั้งนี้ลักษณะต่างๆ ของภาษาเขียนในรายการเกมโชว์ญี่ปุ่น มีหน้าที่และการสื่อความหมายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและบริบทขององค์ประกอบอื่นในรายการคือ องค์ประกอบของภาพ องค์ประกอบของเสียง ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของการเล่นของแต่ละรายการที่มาเป็นรหัสควบคุมภาษา ตลอดจนบริบทของผู้รับสาร ล้วนทำให้ลักษณะและการสื่อความหมายของภาษาเขียนมีรูปแบบที่หลากหลาย มิได้มีลักษณะตายตัว การประยุกต์ใช้ภาษาเขียนเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์ประกอบการสื่อสารในรายการ จึงต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังกล่าวen
dc.description.abstractalternativeTo understand the significance of the use of written words. This digital communication is using a grammatical structure as well as an analogical communication by the very nature of the written words themselves, interacting together with the images and sounds. Results indicate that written words in the selected Japanese Game shows studied here, are graphics used for information, decoration and phatic function purposes. The use of written words can be classified in the following four functions: 1.identification 2.information 3.informing of game’s rule 3.subtitle and stimulation Written words in the selected Japanese game shows are codes that guide images and sounds to follow the game’s rules forming the heart of the show. It also supplies additional information to the audience, and is designed to be easy to read quickly in a limited amount of time, supporting the game show’s format. The signification of written words is created using graphic elements to lead feelings as colors, movements and signs shows a set of conventions that takes its influences from Japanese cartoon or “Manga”. The written word is used to anchor the image and sound, helps clarifying the message by improving the understanding and raise the interest. The written words can also play different roles depending on the timing of the use, on the interaction they have with the images and sounds as well as with the audience’s environment. The meaning will vary based on those changing circumstances. It is, therefore, necessary to consider the purpose of the production to employ written words appropriately.en
dc.format.extent4684058 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.442-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเกมโชว์ทางโทรทัศน์ -- ญี่ปุ่นen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectภาษาญี่ปุ่น -- การใช้ภาษาen
dc.titleการใช้ภาษาเขียนในรายการเกมโชว์ญี่ปุ่นทางโทรทัศน์en
dc.title.alternativeThe use of written words in Japanese game shows on televisionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirichai.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.442-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manisa_ph.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.