Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14301
Title: ความชุกของภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมระยะแรก และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีในคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และคลินิกภูมิคุ้มกัน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Prevalence of mild cognitive impairment and related factors in adult HIV infected patients at Sexual Transmitted Disease clinic and Immunology clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ไพศาล แดงพัฒนพงศ์
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sookjaroen.T@Chula.ac.th
Subjects: ปัญญา
ความบกพร่องทางสติปัญญา
เอชไอวี (ไวรัส)
โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อหาค่าความชุกของภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมระยะแรก และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมระยะแรกในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี วิธีวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และคลินิกภูมิคุ้มกัน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน170 คน ที่ถูกเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงเดือนมกราคม 2552 โดยใช้แบบประเมินพุทธิปัญญาของ MoCa เป็นตัววัดภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมระยะแรก ซึ่งมีจุดตัดที่คะแนนต่ำกว่า 25 คะแนนลงไป ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างเพศชาย 95 คน เพศหญิง 75 คน มีอายุเฉลี่ย 42.88 ปี ±10 ปี พบค่าความชุกของภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมระยะแรกอยู่ที่ 50% โดยอายุที่มากขึ้นและระดับการศึกษาที่ต่ำเป็นตัวแปรที่เป็นปัจจัยเสี่ยง จากการศึกษาด้วย binary logistic regression analysis พบว่าอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมระยะแรก คือ อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี และการศึกษาต่ำกว่าหรือเท่ากับระดับประถมศึกษา โดยมีค่า Odds ratio = 2.47 (95% CI = 1.31-4.66) และ 2.65 (95% CI = 1.12-6.31) ตามลำดับ ทั้งนี้ จากการศึกษาด้วย multiple regression analysis พบว่าระดับการศึกษาเป็นปัจจัยทำนายต่อคะแนนพุทธิปัญญาด้าน Visuospatial / Executive, Attention และ ระดับการศึกษากับจำนวนของ CD4 เป็นปัจจัยทำนายต่อพุทธิปัญญาด้าน Language และ ระยะเวลาที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี เป็นปัจจัยทำนายต่อคะแนนพุทธิปัญญาด้าน Abstraction และ อายุเป็นปัจจัยทำนายต่อคะแนนพุทธิปัญญาด้าน Delayed Recall สรุปผล: จากผลการศึกษาพบว่าความชุกของพุทธิปัญญาเสื่อมระยะแรกในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีความใกล้เคียงกับงานวิจัยที่มีการศึกษาในประเทศไทย แต่มีความชุกสูงกว่าในงานวิจัยที่ผ่านมาของประเทศทางตะวันตก โดยอายุที่มากขึ้นและระดับการศึกษาที่ต่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับภาวะพุทธิปัญญาของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้
Other Abstract: Objective: To examine the prevalence of mild cognitive impairment (MCI) and its related factors in adult HIV-infected patients Method: The study was carried out in Sexually Transmitted Disease clinic and Immunology clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital. A cross-sectional screening was carried out, and 170 patients were selected by simple random sampling for MCI assessment. The study was conducted from November 2008 to January 2009. The Montreal Cognitive Assessment (MoCa) was used as an assessment tool to measure cognition. MCI was defined as a MoCa score below 25. Results: 95 males and 75 females were enrolled with mean age of 42.88 ±10.4 years old. The prevalence of mild cognitive impairment was 50%. Advanced age and low education status were variables identified as risk factors. As the result of binary logistic regression analysis indicated that age greater than 45 years old and education lower than grade 6 increased the risk of MCI with the odds ration = 2.47 (95% CI = 1.31-4.66) and 2.65 (95% CI = 1.11-6.31) respectively. Additionally, multiple regression analysis was performed and showed that education level could predict score in Visuospatial/Executive and Attention cognitive domain. Education level and CD4+ cell count could predict score in Language cognitive domain. Duration of HIV infection period could predict score in Abstraction cognitive domain and age could predict score in Delayed Recall cognitive domain. Conclusions: This study indicates that the prevalence of MCI in HIV infected patients was approximately similar to the previous reported from Thailand but higher than those reported from the western countries. Increasing age and low education were the risks of having poor cognitive performance in this sample.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14301
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.544
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.544
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paisal_da.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.