Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14449
Title: การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: Antiretroviral therapy in pediatric HIV infection in Nakhonsawan Province
Authors: สุพรรณิการ์ ปานกรด
Advisors: สาริณีย์ กฤติยานันต์
รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Sarinee.K@Chula.ac.th
Rungpetch.C@Chula.ac.th
Subjects: การติดเชื้อเอชไอวี
โรคเอดส์ในเด็ก -- ไทย -- นครสวรรค์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลของการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ และ 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดนครสวรรค์ มีผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 65 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 33.8 เพศหญิงร้อยละ 66.2 อายุเฉลี่ย 9.6+-3.3 ปี ระยะเวลาในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์เฉลี่ย 2.5+-1.2 ปี ร้อยละของ CD4 เฉลี่ยก่อนได้รับยาเท่ากับ 5.72+-5.96 ผู้ป่วย 50 ราย (ร้อยละ 76.9%) เริ่มการรักษาด้วยสูตรยาต้านไวรัสเอดส์ 3 ชนิด (highly active antiretroviral therapy, HAART) และอีก 15 ราย (ร้อยละ 23.1) เริ่มการรักษาด้วยสูตรยาต้านไวรัสเอดส์ 2 ชนิด มีการเปลี่ยนสูตรยาที่เริ่มใช้ในผู้ป่วย 18 ราย (ร้อยละ 27.7) เนื่องจาก 1) %CD4 ไม่เพิ่ม 2) เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 3) ไม่สะดวกในการรับประทานยาและ 4) การรักษาล้มเหลว เมื่อสิ้นสุดการวิจัยมีผู้ป่วย 60 ราย (ร้อยละ 92.3) ใช้สูตรยาต้านไวรัสเอดส์แบบ HAART โดย GPO-VIR เป็นยาที่สั่งใช้มากที่สุดคือ 39 ราย (ร้อยละ 60) มีเพียง 5 ราย(ร้อยละ 7.7)ที่ยังคงใช้สูตรยาแบบ 2 ชนิดและทุกรายได้รับยา zidovudine+lamivudine ผู้ป่วย 21 รายที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ค่าเฉลี่ย-2D) มี 11 ราย(ร้อยละ 52.4)ที่น้ำหนักเข้าเกณฑ์ปกติหลังจากได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ที่ระยะเวลาเฉลี่ย 14.5+-8.7 เดือน ผู้ป่วยที่ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ 32 รายมี 11 ราย (ร้อยละ 34.4) ที่สูงเข้าเกณฑ์ปกติที่ระยะเวลาเฉลี่ย 21.5+-6.1 เดือนหลังจากได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ การติดเชื้อฉวยโอกาสระหว่างการรักษาที่เกิดขึ้น 13 ราย (ร้อยละ 20.0) ค่าเฉลี่ย %CD4 ที่ระยะเวลา 6,12,18 และ 24 เดือนเมื่อเปรียบเทียบกับค่าพื้นฐาน(ร้อยละ 5.95) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) ปัญหาจากการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ที่พบมากที่สุดคือ ผู้ป่วยได้รับยาโดยไม่จำเป็น 21 ราย (ร้อยละ 32.3) รองลงมาคือได้รับยาขนาดน้อยเกินไป 9 ราย (ร้อยละ 13.8) จากผู้ดูแล 64 รายเป็นปู่/ย่า/ตา/ยาย 29 ราย (ร้อยละ 45.3) เป็นบิดา-มารดา 17 ราย (ร้อยละ 26.6) ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลโดยผู้ดูแล 45 รายที่อ่านออกเขียนได้มี % CD4 เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 5.80+-6.22 เป็น 24.66+-10.79 ในเดือนที่ 24 และกลุ่มที่ ได้รับการดูแลโดยผู้ดูแลที่มีปัญหาด้านการอ่านเขียนมี %CD4 เฉลี่ยเพิ่มจาก 5.56+-5.46 เป็น 18.41+-7.10 ในเดือนที่ 24
Other Abstract: The purposes of this research were to study 1) the effectiveness of antiretroviral therapy and 2) the drug-therapy problems (DTPs) of antiretroviral agents in pediatric HIV infection in Nakhonsawan province. Sixty-five patients were participated in the study, 33.8% male and 66.2% female, with average age of 9.6+-3.3 years old. The mean duration of antiretroviral therapy was 2.5+-1.2 years. The average of baseline %CD4 was 5.72+-5.96. Fifty patients (76.9%) were initiated with highly active antiretroviral therapy (HAART) and the other 15 patients (23.1%) were started with dual therapy. The initial regimen was later changed in 18 patients (27.7%) due to 1) no increase in %CD4, 2) adverse drug reactions, 3) inconvenience of drug administration, and 4) therapeutic failure. At the end of the study, 60 patients (92.3%) were on HAART therapy and GPO-VIR was most prescribed to 39 patients (60%). Only five patients (7.7%) were still on dual therapy and all received zidovudine + lamivudine. Among 21 underweight patients (average weight – 2SD), normal body weight was observed in 11 patients (52.4%) at average of 14.5+-8.7 months after therapy. For 32 patients whose heights were below normal, only 11 patients (34.4%) gained normal, only 11 patients (34.4%) gained normal height at average of 21.5+-6.1 months after therapy. The opportunistic infection and severe AIDS-related illness were found in 13 patients (20.0%). The mean %CD4 at months 6, 12, 18 and 24 compared to baseline (5.95%) were significantly increased (p=0.000). Most of the DTPs found in 21 patients (32.3%) and 9 patients (13.8%) were related to “unnecessary drug therapy” and “too low dosage”, respectively. Regarding to 64 caregivers, 29 (45.3%) were their grandparents and 17 (26.6%) were their parents. Forty-five caregivers were literate and the patients under their care had increased mean %CD4 from baseline of 5.80+-6.22 to 24.66+-10.97 at month 24 and the mean %CD4 of the patients under illiterate caregivers was increased from 5.56+-5.46 to 18.41+-7.10 at month 24.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14449
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.274
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.274
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supannika.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.