Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14579
Title: ผลกระทบของการควบคุมราคาสินค้าที่มีต่อนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ
Other Titles: Impacts of administered prices on monetary policy under inflation targeting
Authors: กรพินธ์ ศรีอำพลชาญ
Advisors: พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นโยบายการเงิน
นโยบายเศรษฐกิจ
สินค้า -- ราคา
เงินเฟ้อ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นับจาก พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยทำให้เกิดการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของดัชนีราคาหลักทั้ง 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน โดยพบว่าดัชนีทั้งสามมีการเบี่ยงเบนออกจากกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการปรับตัวของเงินเฟ้อทั้งสาม คือ การควบคุมราคาสินค้าและบริการโดยหน่วยงานของรัฐ การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลของการควบคุมราคาสินค้าที่มีต่อ ความครอบคลุมและความชัดเจนในการส่งสัญญาณด้านราคาของอัตราเงินเฟ้อไปยังนโยบายการเงิน ตลอดจนผลของการควบคุมราคาสินค้าที่มีต่อการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ผลการศึกษาพบว่า การควบคุมราคาสินค้ามีผลต่อความครอบคลุมของอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นแต่ไม่มีผลในระยะยาว การควบคุมราคาสินค้ามีผลต่อความชัดเจนในการส่งสัญญาณด้านราคาไปยังนโยบายการเงินของอัตราเงินเฟ้อทั้งสองด้าน กล่าวคือ แม้ว่าการควบคุมราคาจะทำให้อัตราเงินเฟ้อที่คำนวณได้มีความผันผวนสูง แต่ก็ช่วยให้ความสามารถในการจับแนวโน้มการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงดียิ่งขึ้น และช่วยให้ความสามารถในการคาดการณ์แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อดีขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้การควบคุมราคาสินค้ายังทำให้ความสามารถในการควบคุมได้โดยนโยบายการเงินของอัตราเงินเฟ้อลดลงด้วย หากเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาขึ้นในระบบเศรษฐกิจ การควบคุมราคาสินค้าจะช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นแบบชั่วคราว แต่หากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบถาวร การควบคุมราคาสินค้าจะทำให้การดำเนินนโยบายการเงินเป็นไปอย่างลำบากมากขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่คำนวณได้ต่ำกว่าความเป็นจริง
Other Abstract: Since 2002, Producer price index (PPI), consumer price index (CPI) and core consumer price index in Thailand have been rising gradually according to dramatically increasing of oil price in the world market. Moreover, these 3 indices are diverging form each other. One of the most important factors that cause these inflation processes is the government price control. This thesis studies the impacts of government price control on comprehensiveness, clarity of price signal of both headline inflation and core inflation and the implications on monetary policy under inflation targeting framework when shock appears in the economy accordingly. The study concludes that government price control has no impact on long run comprehensiveness. Although it help improve clarity of price signal in case of tracking inflation trend and predictive power, government price control increase the volatility of inflation and decreases monetary policy ability to control inflation. When there is a shock in the economy, government price control improves monetary policy effectiveness if adverse shock is temporary. On the other hand, if adverse shock is permanent, government price control obstructs the monetary policy because underestimated inflation rate leads to less response to the shock.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14579
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.407
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.407
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Korapin_Sr.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.