Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14705
Title: การศึกษาแนวคิดโพสต์โมเดิร์นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Other Titles: A study of postmodernism in art activity in instructional management at the upper secondary school level under Bangkok Educational Service Area 2
Authors: สลักโฉม สุพงศกร
Email: Ampai.Ti@Chula.ac.th
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
โพสต์โมเดิร์นนิสม์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดโพสต์โมเดิร์นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ศิลปะ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 และศึกษาความแตกต่างของความคิดเห็นของผู้สอนและผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมก ารเรียนการสอนศิลปะ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 70 คน และผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะสาระทัศนศิลป์ ศ1.1 และ ศ1.2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แบบชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งมีโครงสร้างการจัดลำดับข้อคำถามตามกรอบความคิดการบูรณาแนวคิดโพสต์โม เดิร์น 4 ด้าน ดังนี้ 1) แนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 1: เน้นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิดที่สร้างสรรค์การให้เสรีภาพ ทางความคิด 2) แนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 2: เน้นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นความเป็นไปของกระบวนการทดลอง สื่อ อุปกรณ์ใหม่ๆ หรือแม้แต่การใช้เพียงแค่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายตนเอง สร้างงานศิลปะหรืองานศิลปะแบบสื่อประสม เป็นต้น 3) แนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 3: เน้นกิจกรรมที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ เปิดกว้างให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่หลากหลาย และแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้เต็มที่ 520 4) แนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 4: เน้นการจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมและความสัมพันธ์ ทางวัฒนธรรมของชาติอื่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสุนทรียะ และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบกึ่งมีโครงสร้างเป็นคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ([x-bar]) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐานเปรียบเทียบผู้สอนและผู้เรียนด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สอนมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ จำแนกตามแนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 1 ในระดับมาก ([x-bar] = 4.36) แนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 2 ในระดับมาก ([x-bar] = 3.92) แนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 3 ในระดับมาก ([x-bar] = 3.82) และแนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 4 ในระดับมาก ([x-bar] = 3.79) และผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะ จำแนกตามแนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 1 ในระดับมาก ([x-bar] = 3.70) แนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 2 ในระดับมาก ([x-bar] = 3.64) แนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 3 ในระดับปานกลาง ([x-bar] = 3.33) และแนวคิดโพสต์โมเดิร์นที่ 4 ในระดับมาก ([x-bar] = 3.59) 2. ผู้สอนศิลปศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความคิดเห็นในเรื่องของการจัดกิจ กรรมการเรียนการสอนศิลปะ (ทัศนศิลป์) แตกต่างกับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ให้ทรรศนะที่น่าสนใจใน 2 ประเด็นมากที่สุด คือ 1) หลักสูตร: ควรจะมีการนำแนวคิดโพสต์โมเดิร์นมาปรับให้สอดคล้องกับปัจจุบันและท้องถิ่น และมีความทันสมัย คิดเป็นร้อยละ 80 และ 2) การวัดและประเมินผล: ควรประเมินจากภาพรวมของพัฒนาการของผู้เรียน มากกว่าชิ้นงานที่สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 80
Other Abstract: The purposes of this research were to study Postmodernism in Art Activity in instructional management at the upper secondary schools level under Bangkok Education Service Area 2, and to study the differences between teachers' opinions and learners' opinions on the activities of Art Eduation. The samples in the study include 70 teachers and 373 students in upper secondary schools. The instruments used in this research were a set of questionnaire and an interview. The questionnaire was composed of 4 approaches in Postmodernism: 1) activities to promote creativity and freedom of thought, 2) activities to experiment new media, 3) activities that provide new learning process with alternatives for learners in according to their choice and identity, and 4) activities that featre their own culture, relationship with other cultures, local wisdom and aesthetics. The interview was in the form of semi- structure open-ended questions which composed of: 1) Curriculum, 2) Teachers and Students, 3) Art Activity, and 4) Elements of the instructional management in art education. The statistical analysis used to the research were percentage, means ([x-bar]), Standard Deviation (S.D.) and t-test. Research findings are as follows: 1. The Art teachers agreed at high level in all 4 approaches: ([x-bar] = 4.36), ([x-bar] = 3.92), ([x-bar] = 3.82), and ([x-bar] = 3.79) respectively. The students agreed at the high level in 3 approaches: approach 1, approach 2, and approach 4 ([x-bar] = 3.70), ([x-bar] = 3.64), and ([x- bar] = 3.59). They agreed at the moderate level in the third approach ([x-bar] = 3.33). 2. Two suggestions were given by most Art educators and most experts (80%): 1) in the aspect of curiculum, postmodernism approaches should be incorporated with the present and local circumstances, and 2) In the aspect of measurement and evaluation: Students' total learning development process should be evaluated rather than only from their art works. 3. The opinions of the Art teachers in upper secondary schools on visual art activities was significantly different from those of the students at 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14705
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.666
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.666
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Salakchome_Su.pdf18.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.