Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14785
Title: การบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันและสารลดแรงตึงผิวด้วยกระบวนการอินดิวซ์แอร์โฟลเทชัน
Other Titles: Treatment of oily wastewater containing surfactant by induced air flotation process
Authors: ประจักษ์ ศาสตรเวช
Advisors: พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดน้ำมัน
สารลดแรงตึงผิว
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการบำบัดตัวอย่างน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันร่วมกับสารลดแรงตึงผิวชนิด Sodium Dodecyl Sulphate (SDS) Cetyl Trimethyl Ammonium Bromide (CTAB) และ Polysorbate 20 (Tween 20) ด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชัน อินดิวซ์แอร์โฟลเทชัน (IAF) และโมดิฟายอินดิวซ์แอร์โฟลเทชัน (MIAF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการต่างๆ เช่น ค่าพีเอช ชนิดและปริมาณสารโคแอกกูแลนท์ อัตราการไหล จลนศาสตร์และตัวแปรด้านอุทกพลศาสตร์ จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชันในตัวอย่างน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันร่วมกับสารลดแรงตึงผิว SDS ให้ประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุดเท่ากับ 98.84 เปอร์เซ็นต์ ที่ปริมาณเฟอร์ริกคลอไรด์ 0.8 กรัมต่อลิตร ในกรณีของตัวอย่างน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันร่วมกับสารลดแรงตึงผิว CTAB และ Tween 20 พบว่าปริมาณสารโคแอกกูแลนท์ไม่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัด โดยให้ประสิทธิภาพการบำบัดอยู่ในช่วง 40-55 เปอร์เซ็นต์ จากการทดลองในส่วนของกระบวนการ IAF พบว่าให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบำบัดตัวอย่างน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันร่วมกับสารลดแรงตึงผิว SDS CTAB และ Tween 20 เท่ากับ 69.28, 24.33 และ 48.19 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการศึกษากระบวนการ MIAF ในการบำบัดตัวอย่างน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันร่วมกับสารลดแรงตึงผิว SDS ให้ประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุด 98.93 เปอร์เซ็นต์ ที่ปริมาณเฟอร์ริกคลอไรด์ 0.8 กรัมต่อลิตร ในขณะที่สามารถบำบัดตัวอย่างน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันร่วมกับสารลดแรงตึงผิว CTAB และ Tween 20 โดยให้ประสิทธิภาพในการบำบัดอยู่ในช่วง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้การศึกษาจลนศาสตร์ของกระบวนการ IAF และ MIAF เป็นปฏิกิริยาอันดับ 2 ให้ค่า k ในช่วง 2x10[superscript -4] - 2x10[superscript -6] (ลิตรต่อมิลลิกรัมวินาที) และความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบำบัด จากการศึกษาตัวแปรด้านอุทกพลศาสตร์พบว่าค่าพื้นที่ผิวสัมผัสจำเพาะ (a) และค่าความเร็วแกรเดียนท์ (G) สัมพันธ์กับอัตราการไหลอากาศ โดยค่าสัดส่วน a/G สูงสุดให้ประสิทธิภาพการบำบัดสูงสุด ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าวเพื่อบอกถึงประสิทธิภาพกระบวนการทำให้ลอยแบบได้
Other Abstract: The objective of this research is to study the appropriate conditions for the treatment of oily wastewater containing Sodium Dodecyl Sulphate (SDS), Cetyl Trimethyl Ammonium Bromide (CTAB) and Polysorbate 20 (Tween 20) by Coagulation process, Induced Air Flotation process (IAF) and Modified Induced Air Flotation process (MIAF). Therefore, the obtained results could probably provide a better understanding of the oily wastewater treatment and the suitable operating conditions for high treatment efficiency. The analytical parameters, applied in this study, were pH values, types and concentrations of coagulants, gas flow rates, treatment kinetics and bubble hydrodynamic parameters. Firstly, the experimental results revealed that Coagulation process can provide the highest treatment efficiency equal to 98.84 percent for oily wastewater containing SDS with 0.8 g/l of Ferric chloride. However, only 40 to 55 percent treatment efficiencies were obtained with the oily wastewater containing CTAB and Tween 20. Due to the oily wastewater treatment by IAF process, the highest treatment efficiencies of oily wastewater containing SDS, CTAB, and Tween 20 were to 69.28, 24.33 and 48.19 percent, respectively. Moreover, it can be noted that the 98.93% treatment efficiency were observed in case of MIAF process with oily wastewater containing SDS at 0.8 g/l of Ferric chloride. MIAF process then can enhance the treatment performance. However, the treatment efficiencies of oily wastewater containing CTAB and Tween 20 were in the range of 30 to 40 percent. Due to the kinetic study of IAF and MIAF processes, the second-order reaction and reaction rate constant (k) ranged between 2x10[superscript -4] and 2x10[superscript -6] L/mg[superscript -1]s[superscript -1] can be obtained and also related with the associated treatment efficiency. Furthermore, the interfacial area (a) and velocity gradient (G) increase with the gas flow rates. The a/G ratio related to the obtained treament efficiency can be applied for investigating of the floatation efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14785
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.930
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.930
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prajak_sa.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.