Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1500
Title: การเข้ารหัสปริภูมิ-เวลาแบบบล็อกเชิงดิฟเฟอเรนเชียล ร่วมกับโอเอฟดีเอ็มสำหรับการสื่อสารไร้สาย
Other Titles: Differential space-time block-coded OFDM for wireless communications
Authors: ศรัณย์ เมืองไทย, 2522-
Advisors: ลัญจพร วุฒิสิทธิกุลกิจ
สุวิทย์ นาคพีระยุทธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: wlunchak@chula.ac.th
nsuvit@chula.ac.th
Subjects: การมัลติเพล็กซ์โดยการแบ่งความถี่ที่สัญญาณพาหะตั้งฉากซึ่งกันและกัน
ระบบสื่อสารไร้สาย
ทฤษฎีรหัส
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสนอระบบที่ใช้การเข้ารหัสปริภูมิ-เวลาแบบบล็อกเชิงดิฟเฟอเรนเชียลร่วมกับโอเอฟดีเอ็ม ในช่องสัญญาณที่มีเฟดดิงแบบเลือกความถี่ เพื่อทำให้สมรรถนะในแง่ของอัตราบิตผิดพลาดของระบบ ดีกว่าระบบที่ใช้การเข้ารหัสปริภูมิ-เวลาแบบบล็อกเชิงดิฟเฟอเรนเชียลเพียงอย่างเดียว ในช่องสัญญาณแบบเดียวกัน เนื่องจากหลักการของระบบที่เสนอนี้ อาศัยข้อดีของโอเอฟดีเอ็มที่มีการใส่เวลาคุมในแต่ละสัญลักษณ์ของโอเอฟดีเอ็ม สำหรับป้องกันการแทรกสอดระหว่างสัญลักษณ์ ดังนั้นเมื่อช่องสัญญาณส่งผลให้เกิดการแผ่แบบประวิงเวลาที่ไม่เกินช่วงเวลาคุมนี้ ก็จะไม่เกิดการแทรกสอดระหว่างสัญลักษณ์ขึ้น การนำโอเอฟดีเอ็มมาใช้กับช่องสัญญาณที่มีเฟดดิงแบบเลือกความถี่ จึงเปรียบเสมือนการแปลงช่องสัญญาณเป็นช่องสัญญาณย่อย ที่ขนานกันตามจำนวนคลื่นพาห์ย่อย ซึ่งช่องสัญญาณย่อยเหล่านี้มีเฟดดิงแบบราบนั่นเอง ระบบที่เสนอนี้แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ ระบบที่เสนอวิธีที่ 1 และระบบที่เสนอวิธีที่ 2 ซึ่งทั้งสองวิธีมีการเข้ารหัสปริภูมิ-เวลาแบบบล็อก เชิงดิฟเฟอเรนเชียลที่แต่ละคลื่นพาห์ย่อย และการตรวจจับของภาครับที่แตกต่างกัน ผลจากการจำลองแบบด้วยคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นว่า ระบบที่เสนอทั้งสองวิธีมีสมรรถนะในแง่ของอัตราบิตผิดพลาดที่ดีกว่า ระบบที่ใช้การเข้ารหัสปริภูมิ-เวลาแบบบล็อกเชิงดิฟเฟอเรนเชียลเพียงอย่างเดียว ทั้งในกรณีสายอากาศส่งจำนวน 2, 3 และ 4 ตัว ซึ่งใช้รหัสกรุ๊ปยูนิแทรีที่มีอัตราการเข้ารหัสเท่ากับ 1.0, 1.5 และ 2.0 b/s/Hz ถึงแม้ว่าเมื่อพิจารณาความซับซ้อนของการคำนวณ ระบบที่เสนอทั้งสองวิธีจะมีความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นความซับซ้อนที่สามารถยอมรับได้
Other Abstract: To propose the system with differential space-time block-coded OFDM (DSTBC-OFDM) in frequency-selective fading channels. The purpose of this method is to provide the better performance, in bit error rate (BER) aspect, than the system with only DSTBC in the same channels. The proposed system uses the OFDM advantage that has guard time for each symbol to prevent intersymbol interference (ISI). If the channels cause delay spread that is not larger than the guard time, ISI will not happen. Therefore, by exploiting OFDM, a frequency-selective fading channel is transformed, with respect to subcarriers, into parallel flat-fading subchannels. There are two methods of the proposed system, which are both different in coding of each subcarrier and detection of receiver. According to the computer simulation results, both methods of the proposed system provide the better BER performance than the system with only DSTBC when 2, 3 and 4 transmit antennas with bit rate of 1.0, 1.5 and 2.0 b/s/Hz unitary group codes. Although, the complexity of the proposed system in both methods is higher, but it is acceptable.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1500
ISBN: 9741766033
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saran.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.