Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15128
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกำเริบของโรคซิสเทมิก ลูปัส อิริทีมาโทซัส
Other Titles: Factors associated with systemic lupus erythematosus disease activity
Authors: อาทิตยา ไทพาณิชย์
Advisors: อภิฤดี เหมะจุฑา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Aphirudee.H@Chula.ac.th
Subjects: ซิสเทมิก ลูปัส อิริทีมาโทซัส -- โรค
ภาวะติดเชื้อ
โรคติดเชื้อ
เอสแอลอี
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ด้านโรค ด้านผู้ป่วย ด้านยา ที่มีผลต่อการกำเริบของโรคซิสเทมิก ลูปัส อิริทีมาโทซัส (เอสแอลอี) และปัจจัยทำนายการกำเริบของโรคเอสแอลอี ในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยภาคตัดขวางระยะสั้นเชิงสำรวจ (Cross-sectional Survey) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเอสแอลอี ที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 โดยเก็บข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านโรค ได้แก่ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็น ภาวะติดเชื้อ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ คะแนนความรู้ คะแนนการปฏิบัติตัว คะแนนความเครียด ปัจจัยด้านยา ได้แก่ คะแนนความร่วมมือในการใช้ยา และนำมาหาความสัมพันธ์กับคะแนนการกำเริบของโรคซึ่งประเมินโดยMEX-SLEDAI วิเคราะห์ความสัมพันธ์จากค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน แล้วนำมาหาปัจจัยทำนายการกำเริบของโรคโดยใช้สถิติการถดถอยพหุ ผลการศึกษาวิจัย จากผู้ป่วย 132 ราย พบภาวะติดเชื้อในผู้ป่วย 30 ราย ค่าเฉลี่ยคะแนนการกำเริบของโรคของกลุ่มติดเชื้อสูงกว่ากลุ่มไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการกำเริบของโรคจากค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ผู้ป่วยที่มีความเครียดมาก และความร่วมมือในการใช้ยาน้อย สัมพันธ์กับการกำเริบของโรคที่สูงอย่างมีนัยสำคัญ (r=+0.242, r=+0.276, p=0.005, 0.001 ตามลำดับ) ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นโรค ความรู้เกี่ยวกับเอสแอลอี การปฏิบัติตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับการกำเริบของโรค ปัจจัยทำนายการกำเริบของโรคคือ ภาวะติดเชื้อ ความเครียด และ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา สรุป ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ มีความเครียดมาก และ มีความร่วมมือในการใช้ยาน้อย เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการกำเริบของโรคเอสแอลอีได้ ข้อมูลดังกล่าวอาจช่วยเป็นข้อพิจารณาในการให้คำแนะนำในการลดความเครียดและเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา เพื่อลดโอกาสกำเริบของโรคได้
Other Abstract: Objectives. To determine whether there were any associations in terms of nature of disease, patients and drugs factors in determining systemic lupus erythematosus (SLE) disease activity and whether these can be used in developing model in predicting SLE disease activity. Methods. Using the Cross-sectional survey method, SLE patients at Nopparat Rajathanee hospital were interviewed during November 1, 2007 to February 29, 2008. Data on disease duration, infection, knowledge about SLE, self management, stress and compliance, were collected. Such parameters were evaluated with disease activity scores (measured by MEX-SLEDAI). Pearson Product-Moment Correlation was used to evaluate causal relationship; Multiple Regression Analysis was also applied to identify an appropriate model in predicting the disease activity. Results. Based on data from 132 SLE patients, infections were found in 30 patients. Infected group had significantly disease activity score more than non-infected group (p<0.001). Stress and non-compliance were significantly associated with disease activity (r=+0.242, r=+0.276, p=0.005, 0.001 respectively). Disease duration, SLE knowledge and self management were not significantly associated with disease activity. Infection, stress and compliance were significantly predictive factors in disease activity model. Conclusion. Patients who had infection, more stress and non-compliance were at risk in association with SLE flare.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15128
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1899
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1899
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Artitaya_Th.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.