Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15159
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งนภา พิตรปรีชา-
dc.contributor.authorรัติกร อุ่นนันกาศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-05-09T04:11:04Z-
dc.date.available2011-05-09T04:11:04Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15159-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาบทบาทการประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการความขัดแย้ง (2) เพื่อศึกษาการสื่อสารในการจัดการความขัดแย้ง (3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการความขัดแย้ง ประกอบด้วย การศึกษาวิจัย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ศึกษาเรื่อง "บทบาทและการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการความขัดแย้ง" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลเกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ เพื่อจัดการความขัดแย้งด้านมลภาวะทางเสียงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสาร บทความและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 ศึกษาเรื่อง "ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการความขัดแย้ง" เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบด้านมลภาวะทางเสียงโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการความขัดแย้งด้านมลภาวะทางเสียงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการวิจัยในเรื่อง บทบาทและการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการความขัดแย้งนั้น พบว่า มีการดำเนินงานสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างเป็นขั้นตอน และมีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนลดระดับความรุนแรงของปัญหา แบ่งกลยุทธ์ที่ใช้ได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) กลยุทธ์การสื่อสารเชิงรุก ประกอบด้วยกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม, กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างแนวร่วม และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อมวลชน (2) กลยุทธ์การสื่อสารกิจกรรมสาธารณะครบวงจร ประกอบไปด้วย กลยุทธ์ด้านมวลชนสัมพันธ์, กลยุทธ์ด้านชุมชนสัมพันธ์ และกลยุทธ์ด้านสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การใช้สื่อเพื่อการวางแผน, กลยุทธ์การใช้สื่อเพื่อมวลชนสัมพันธ์และกลยุทธ์การใช้สื่อเพื่อให้ความรู้ และ (3) กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย โดยทั้ง 3 ส่วนจะใช้แนวคิด "we care" และ "we do it for you" ส่วนผลการศึกษาในส่วนของ ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการความขัดแย้ง พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับติดตามข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ในระดับที่มาก 2. กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งในระดับปานกลาง 3. กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเฉยๆ ต่อข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์และการจัดการความขัดแย้ง 4. กลุ่มตัวอย่างมีการยอมรับต่อข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์และการจัดการความขัดแย้งในระดับปานกลาง 5. การเปิดรับข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน 6. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติของประชาชน 7. ทัศนคติของประชาชนต่อข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ การยอมรับของประชาชนต่อการจัดการความขัดแย้ง.en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study (1) Roles of public relations in conflict management (2) Communication in conflict management (3) Effectiveness of public relations in conflict management. The research is divided into 2 parts. A qualitative part concerns "Roles of public relations in conflict management" of which the information was gathered from a depth interview with public relations officers responsible and from related documents. A quantitative part deals with "Effectiveness of public relations in conflict management". The sample under study were 400 people located around Suvanabhumi Airport and affected by the noise pollution. It is found out in a qualitative part that the airport has made used of a systematic public relations process and several strategies to create good relationship with the community and solve the problem. Strategies used were (1) Active communication strategy (2) Multiple public activity strategy and Public relations media strategy and (3) Network strategy. These 3 strategies are based on the concept "we care" and "we do it for you" The findings in a quantitative part were as follow:- 1. The samples had high level of openness to public relations information. 2. The samples had moderate level of knowledge about conflict management of AOT. 3. The samples had moderate level of attitude toward public relations information and conflict management of AOT. 4. The samples had moderate level of acceptance for public relations information and conflict management of AOT. 5. Openness to public relations information and knowledge of the information were positively correlated in moderate level. 6. Knowledge of public relations information was positively correlated to attitude of people toward conflict management. 7. Attitude of people toward public relations information and their acceptance for conflict management were positively related.en
dc.format.extent13808537 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.101-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ -- การประชาสัมพันธ์en
dc.subjectการบริหารความขัดแย้งen
dc.subjectมลพิษทางเสียงen
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจen
dc.titleการจัดการความขัดแย้งด้านมลภาวะทางเสียงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิen
dc.title.alternativeNoise pollution conflict management of Suvarnabhumi Airporten
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRungnapar.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.101-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ruttikorn.pdf13.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.