Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15185
Title: การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของซัยโทโครมพี 450 2 อี 1 และภาวะดื้อต่ออินสุลินในผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสที่มีไขมันแทรกในเนื้อตับ
Other Titles: Association of Cytochrome P450 2E1 and Insulin resistance with hepatic steatosis in chronic viral hepatitis
Authors: วิริยะ ตันเยาวลักษณ์
Advisors: ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์
นฤมล คล้ายแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: pkomolmit@yahoo.co.uk
wnaruemon@hotmail.com
Subjects: ตับอักเสบ -- ผู้ป่วย
ตับอักเสบจากไวรัส
อินสุลิน
ซัยโต
ไซโตโครมพี-450 2 อี 1
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการตรวจทางพยาธิวิทยาของผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ พบว่ามีภาวะไขมันแทรกในเนื้อตับค่อนข้างมาก มีรายงานว่าภาวะไขมันแทรกในเนื้อตับในโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบชนิด ซี มีผลทำให้การตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี และยังมีส่วนในการเกิดพังผืดในเนื้อตับเพิ่มขึ้น ซัยโทโครม พี 450 2 อี 1 ก็มีส่วนที่มีความสัมพันธ์ในการเกิดภาวะไขมันแทรกในเนื้อตับ จากการศึกษาในหลอดทดลอง วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ของ ซัยโทรโครม พี 450 2 อี 1 และ ภาวะต้านอินสุลิน ต่อการเกิดภาวะไขมันแทรกในเนื้อตับในผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจำนวน 19 คน และจากเชื้อไวรัสซีจำนวน 25 คน เข้าร่วมในการวิจัยนี้ ไม่มีผู้ที่ครบเกณฑ์การวินิจฉัย metabolic syndrome ดัชนีมวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 22.84+-2.90 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในหน้าที่ของ ซัยโทโครมพี 450 2 อี 1 และภาวะต้านอินสุลิน ในระหว่างผู้ที่มีและไม่มีไขมันแทรกในเนื้อตับ สรุป: ซัยโทโครมพี 450 2อี 1 และภาวะต้านอินสุลิน น่าจะไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไขมันแทรกในเนื้อตับในผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื่อรังจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ ที่ไม่มีภาวะ metabolic syndrome และมีดัชนีมวลกายน้อย เชื้อไวรัสตับอักเสบเองอาจจะมีบทบาทในการเกิดภาวะไขมันแทรกในเนื้อตับซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาต่อไปเพื่อที่จะยืนยันทฤษฎีที่จะอธิบายพยาธิกำเนิดดังกล่าว.
Other Abstract: Background: There is high prevalence of hepatic steatosis in chronic viral hepatitis B and C. There were reports that hepatic steatosis impaired response of chronic hepatitis C treatment and developed more fibrosis. Insulin resistance was reported to be associated with hepatic steatosis. Cytochrome P 450 2E1 also had shown some associations with steatosis of liver tissue in in vitro study. Aim: To determine association of hepatic steatosis with cytochrome P 450 2E1 activity and insulin resistance. Results: 19 cased of chronic hepatitis B 25 cases of chronic hepatitis C joined in our study. No one of our patients had metabolic syndrome. The mean body mass index was 22.84 +- 2.90 kg/m[superscript 2] . There was no different in cytochrome P 450 2E1 activity and insulin resistance between the patients with and without hepatic steatosis and between hepatitis B and C. Conclusions: The cytochrome P 450 2E1 activity and insulin resistance may not associated with hepatic steatosis in patients who had low risk of metabolic syndrome. Viral hepatitis itself may play major role of steatosis. However, the further studies are needed to confirm the hypothesis about pathogenesis of steatosis in chronic viral hepatitis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15185
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.866
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.866
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wiriya.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.