Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15229
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทธิลักษณ์ ปทุมราช-
dc.contributor.advisorวสันต์ อุทัยเฉลิม-
dc.contributor.authorกิตติ พงษ์ประดิษฐ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2011-05-28T07:07:10Z-
dc.date.available2011-05-28T07:07:10Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.isbn9745848522-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15229-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en
dc.description.abstractศึกษาผลของสารสกัดกระเทียมต่อความผิดปกติทางระบบหัวใจและหลอดเลือด การละลายลิ่มเลือด และปริมาณไฟบริโนเจนในหนูที่ทำให้เป็นเบาหวานด้วยสเตรปโตโซโตซิน ผลการศึกษาในช่วง 4 สัปดาห์แรก หลังการฉีดสเตรปโตโซโตซิน พบว่าหนูกลุ่มเบาหวาน จะมีอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการไหลของเลือดในเอออร์ตา และในโคโรนารีย์ และแรงหดตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่พบว่า พารามิเตอร์ต่างๆ ดังกล่าวนี้ของกลุ่มเบาหวานแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในช่วงระยะเวลา 8 และ 16 สัปดาห์ ส่วนค่าการละลายลิ่มเลือดในกลุ่มเบาหวานจะน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ตั้งแต่ในช่วงแรกของการศึกษาคือ 4 สัปดาห์ จนถึง 16 สัปดาห์ แต่ทว่าปริมาณ ไฟบริโนเจนไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มเบาหวาน และกลุ่มควบคุมตลอดช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา และจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าสารสกัดกระเทียม (100 มก./กก.น้ำหนักตัว/วัน) สามารถป้องกันหรือลดความผิดปกติดังกล่าวนี้ได้ กล่าวคือ หนูเบาหวานที่ได้รับสารสกัดกระเทียมจะมีค่าความดันเลือด อัตราการไหลของเลือดในเออร์ตาและโคโรนารีย์ และแรงหดตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายมากกว่าหนูกลุ่มเบาหวาน ทั้งในช่วง 8 และ 16 สัปดาห์ ตลอดจนในหนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับสารสกัดกระทียม จะมีค่าการละลายลิ่มเลือดมากกว่ากลุ่มเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกช่วงระยะเวลาที่ศึกษาคือ 4, 8 และ 16 สัปดาห์ ยิ่งกว่านั้นผลการศึกษาทางพยาธิสภาพ โดยกล้องสแกนนิ่ง อิเล็กตรอน ไมโครสโคป ยังช่วงสนับสนุนว่าสารสกัดกระเทียมช่วยลดความผิดปกติของทั้งหัวใจและหลอดเลือดในหนูเบาหวาน กล่าวคือ สังเกตได้ว่า 16 สัปดาห์หลังการฉีดสเตรปโตโซโตซิน ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดโคโรนารีย์ และเอออร์ตาในหนูกลุ่มเบาหวานที่ได้รับสารสกัดกระเทียม มีขนาดกว้างกว่าตลอดจนผนังของหลอดเลือดทั้งสองชนิดจะเรียบกว่า และบางกว่าของหนูกลุ่มเบาหวานอย่งชัดเจนen
dc.description.abstractalternativeStudies was to examine the effects of garlic extract on cardiovascular complications, plasma fibrinogen and fibrinolytic activity (ELT (unit) in streptozotocin (STZ) treated rats. The results indicated that at 4 weeks after STZ injection : heart rate (HR), carotid arterial pressure (CAP), aortic flow rate (AFR), coronary flow rate (CFR) and left ventricular contraction (LVC) assessed for STZ-rats were not significantly different from those of the control rats (CON) (p<0.05) ; however, these differences were statistically significant at 8 and 16 weeks (p<0.05). the values of ELT (unit) assessed for STZ-rats were significantly less than those of the CON (p<0.05) at 4, 8 and 16 weeks after STZ injection. Plasma fibrinogen were not significantly different from those of the CON at 4, 8 and 16 weeks. In this study, it appeared that garlic extract (100 mg/kgBW/day) could prevent or attenuate the cardiovascular changes resulting from diabetic complications. The results indicated that CAP, AFR, CFR and LVC assessed for STZ-rats treated with garlic extract (STZ-G) increased significantly when compared to those of the STZ-rats (p<0.05) at 8 and 16 weeks. Besides, the ELT (unit) measured from STZ-G was significantly higher than those of the STZ. Moreover, the pathological results studies by scanning electron microscope also showed that in STZ-G, the smoothness and thickness of the vascular wall of the aorta and the intramural coronary arteries were less than those of the STZ and the lumen diameters of those vessels were clearly wider than those of the STZ even as the disease progressed to 16 weeksen
dc.format.extent3385718 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระเทียมen
dc.subjectเบาหวานen
dc.subjectหนูen
dc.titleผลของสารสกัดจากกระเทียมต่อปริมาณไฟบริโนเจนในพลาสมา การละลายลิ่มเลือด การทำงานของหัวใจและต่อโครงสร้างของหลอดเลือดแดงเอออร์ตา และโคโรนารีย์ในหนูที่เป็นเบาหวานen
dc.title.alternativeEffects of garlic extract on plasma fibrinogen, fibrinolytic activity, cardiac functions and structures of aorta and coronary arteries in diabetic ratsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสรีรวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuthiluk.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorWasan.U@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitti_po.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.