Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15312
Title: บทบาทในการสื่อสารระหว่างประเทศของนักการทูต
Other Titles: The role of diplomat's international communication
Authors: ฉัตรระวี สุคนธรัตน์
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Tanawadee.b@chula.ac.th
Subjects: นักการทูต
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
การสื่อสารระหว่างประเทศ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานของนักการทูต รูปแบบการสื่อสารและกลยุทธ์ในการเจรจาทางการทูตของนักการทูต รวมทั้งศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเจรจาทางการทูตเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 ราย ซึ่งแบ่งเป็น นักการทูตอาชีพ 12 ราย และผู้แทนพิเศษ 12 ราย ผลการศึกษามีดังนี้ 1. คุณสมบัติพื้นฐานของนักการทูต กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 31-58 ปี จบการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงระดับปริญญาเอก ทุกคนมีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตในต่างประเทศโดยผ่านการศึกษาหรือการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ จากต่างประเทศ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศได้ดี และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองของประเทศที่จะต้องไปประจำการ ส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพดี เป็นมิตร พูดจาฉะฉาน แต่งกายสุภาพ ถูกกาละเทศะ ภูมิฐาน มีรสนิยม เป็นคนสุขุมรอบคอบ ใจเย็น 2. รูปแบบการสื่อสารและกลยุทธ์ในการเจรจาทางการทูตของนักการทูต การสื่อสารระหว่างรัฐบาล/หน่วยงานต้นสังกัดกับนักการทูตที่ประจำอยู่ต่างประเทศ เป็นการสื่อสารสองทาง ส่วนการสื่อสารกับประเทศคู่เจรจามีลักษณะเป็นการโน้มน้าวใจ โดยยึดหลักการประนีประนอม ผลประโยชน์ร่วมกัน การใช้ล่ามเป็นกลยุทธ์ทางการสื่อสารประเภทหนึ่ง การเจรจามีความตรงไปตรงมา ให้ความสำคัญกับการเตรียมการก่อนการเจรจาทางการทูต รวมทั้งกิจกรรมอันเอื้อประโยชน์ต่อการเจรจาและการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคู่เจรจา นั่นคือการล็อบบี้และงานเลี้ยง 3. เปรียบเทียบคุณสมบัติพื้นฐานของนักการทูต และรูปแบบการสื่อสารและการเจรจาทางการทูตของนักการทูตอาชีพและผู้แทนพิเศษ พบว่านักการทูตอาชีพ และผู้แทนพิเศษมีคุณสมบัติพื้นฐาน และรูปแบบการสื่อสารและการเจรจาทางการทูตที่ไม่แตกต่างกัน 4. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเจรจาทางการทูต คือผลประโยชน์แห่งชาติที่มีร่วมกันระหว่างประเทศคู่เจรจา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มประเทศเพื่อสร้างแนวร่วม และปัจจัยด้านความคล้ายคลึงของคู่เจรจา.
Other Abstract: The objectives of this research are to study the diplomat's basic qualifications, diplomat's communication patterns and styles, negotiation strategies and factors affecting successful diplomatic negotiation. 24 career diplomats and special envoys were indepth interviewed. Findings: 1. DIPLOMAT'S BASIC QUALIFICATIONS: highly educated, received trainings abroad, be able to use foreign language and local dialects, good human relation, personality, taste, polite and well-dressed. 2. DIPLOMAT'S COMMUNICATION AND NEGOTIATION STRATEGIES: Communication between government/head office and diplomats are two-way communication. Communication with diplomats or delegates of other countries tended to be persuasive under compromise and mutual benefit principles. Using interpreter is one of the communication strategies as well as lobbying and socialization are strategies of effective negotiation and building human relationship. 3. There is no difference in basic qualifications, communication patterns and style, and negotiation strategies between career diplomats and special envoys. 4. Factors affecting successful diplomatic negotiation are mutual national interest or identification, international relations, international integration (reference group) and homophily of negotiators.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15312
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.343
ISBN: 9743339817
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.343
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatravee_Su.pdf13.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.