Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15429
Title: คุณภาพชีวิตและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Quality of life and depression in breast cancer patients after surgery in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ภูมรินทร์ มาลารัตน์
Advisors: ณัทธร ทิพยรัตน์เสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความซึมเศร้า
เต้านม -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของคุณภาพชีวิตและภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหญิงโรคมะเร็งเต้านมหลังได้รับการผ่าตัดที่มารับการตรวจ ณ คลินิก ศัลยกรรมผู้ป่วยนอก แผนกเคมีบำบัด และ แผนกรังสีรักษา และ มะเร็งวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 203 รายเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90, 0.79, 0.85 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตราฐาน และ Chi – square ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังได้รับการผ่าตัดโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ([x-bar] = 73.48, S.D = 12.80) 2. ความชุกของภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังได้รับการผ่าตัดเท่ากับ ร้อยละ 7.39 3. ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังได้รับการผ่าตัดพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 92.61 ([x-bar] = 14.68, S.D = 6.81) 4. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต คือ อาชีพ ผลข้างเคียงจากการรักษา คือ อาการปากแห้ง อาการท้องผูก อาการอ่อนเพลีย อาการ มีแผลเรื้อรังที่กระพุ้งแก้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < 0.01 และ การสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < 0.05. 5. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า คือ ผลข้างเคียงจากการรักษา คือ อาการข้อไหล่ติด หรือ แข็ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Other Abstract: The purpose of descriptive study was to study quality of life and depression and related factors affecting breast cancer patients after surgery. Two hundred and three subjects were recruited from out–patient surgery clinic, day care clinic and radiology clinic in King Chulalongkorn Memorial Hospital. All subjects completed demographic questionnaire and questionnaires assessing quality of life (WHOQOL–BREF–THAI), depression (HRSR), and social support (PRQ Part II) with the reliability alpha coefficients of 0.90, 0.79, 0.85 respectively . The statistics was mean, standard deviation, and Chi-Square tests . The results of this study were 1. Quality of life of breast cancer patients in this study was in the intermediate level. (mean scores 73.48, S.D = 12.80) 2. Prevalence of depression in breast cancer patients after surgery were 7.39 % 3. Depression scores in breast cancer patients were within the normal range, i.e. most patients did not have depression. (mean scores 14.68, S.D = 6.81) 4. Occupation category, side effects after operation, and social support could significantly predict quality of life in breast cancer patients. 5. Side effects after operation could significantly predict depression in breast cancer patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15429
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1279
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1279
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poomarin_Ma.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.