Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15469
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพีระ จิรโสภณ-
dc.contributor.advisorวิลาสินี อดุลยานนท์-
dc.contributor.authorภัคนันท์ ภัทรนาวิก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialพม่า-
dc.date.accessioned2011-07-10T07:28:52Z-
dc.date.available2011-07-10T07:28:52Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15469-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractศึกษารูปแบบเนื้อหาการนำเสนอเรื่องชนกลุ่มน้อยพม่าที่อยู่ในประเทศพม่าและประเทศไทย ของวารสารสาละวินโพสต์และเว็บไซต์ศูนย์ข่าวสาละวิน ในฐานะสื่อที่มีคุณลักษณะของสื่อทางเลือก กระบวนการและปัจจัยที่กําหนดวาระข่าวสารที่สะท้อนอุดมการณ์จากผู้ผลิต และบทบาทการเป็นสื่อทางเลือกเพื่อสื่อสารเรื่องชนกลุ่มน้อยพม่าในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและวาทกรรม จากวารสารสาละวินโพสต์ จำนวน 24 ฉบับ และเว็บไซต์ศูนย์ข่าวสาละวิน ที่เผยแพร่เป็นเวลา 2 เดือน (ธันวาคม พ.ศ. 2549-มกราคม 2550) และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มบุคคลต่างๆ ด้านสื่อวิชาการ กลุ่มที่มีบทบาทขับเคลื่อนด้านสิทธิของชนกลุ่มน้อยและผู้อ่าน ผลการวิจัยพบว่า วารสารและเว็บไซต์มีรูปแบบเนื้อหาไม่แตกต่างกัน ด้วยการสะท้อนภาพตัวแทนของชนกลุ่มน้อยในเชิงบวก เป็น ‘ส่วนหนึ่ง’ ของสังคมและเป็น ‘เหยื่อ’ ‘ผู้ถูกกระทำ’ หรือ ‘ผู้ได้รับผลกระทบ’ ซึ่งแตกต่างจากสื่อกระแสหลัก สำหรับบทบาทการเป็นสื่อทางเลือกเพื่อเผยแพร่เรื่องชนกลุ่มน้อยพม่าในประเทศไทย ประกอบด้วยการมุ่งสื่อสารเรื่องชนกลุ่มน้อยพม่า เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสังคมและเป็นปากเสียงเรียกร้องสิทธิแทนชนกลุ่มน้อย แต่เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการไม่ว่าจะเป็น ช่องทางการเผยแพร่ไปสู่กลุ่มผู้อ่านที่เป็นเจ้าของปัญหาตัวจริง การเน้นถ่ายทอดอุดมการณ์ของผู้ผลิตเป็นหลัก มากกว่าการเปิดพื้นที่ให้ชนกลุ่มน้อยที่เป็นเจ้าของปัญหาได้สื่อสารด้วยตัวเอง จึงทำให้สื่อทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะของสื่อที่มีเป้าหมายเฉพาะเพื่อการเปลี่ยนแปลง เรื่องสิทธิชนกลุ่มน้อยพม่า มากกว่าสื่อทางเลือกของชนกลุ่มน้อยพม่า.en
dc.description.abstractalternativeTo study the content about Burmese minority living in Myanmar and Thailand presented in Salween Post Journal and Salween News Network Website as alternative media. Furthermore, this research studies how the editor as an agenda setter reflects her ideology about the right of Burmese minority through the Journal and Website. The study uses content analysis, discourse analysis and in-depth interviews with scholars, media practitioners, readers, and advocators on minority right movements, as well as data collected from 24 issues of Salween Post Journal and Salween News Network Website presenting during December 2006-January 2007. The results indicate that Salween Post Journal and Salween News Network Website share similar contents reflecting positive attitudes towards minority representation. Both media presents Burmese minority as “a part” of society or “victims” of society. Regarding the role of the alternative media, the Journal and the Website have attempted to increase understanding about the Burmese minority and to speak on behalf of them. However, the Journal and the Website could not play full function as alternative media due to some limitations, for example the distribution to the target groups and the public space open for Burmese minority to make their own voices. Therefore, this research concludes that the Journal and the Website play the role of media advocacy rather than alternative media.en
dc.format.extent4820814 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.255-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสาละวินโพสต์en
dc.subjectเว็บไซต์ศูนย์ข่าวสาละวินen
dc.subjectสื่อทางเลือกen
dc.subjectการสื่อข่าวและการเขียนข่าวen
dc.subjectชนกลุ่มน้อย -- พม่าen
dc.subjectชนกลุ่มน้อย -- ไทยen
dc.subjectชาวพม่า -- ไทยen
dc.titleวารสารสาละวินโพสต์ และเว็บไซต์ศูนย์ข่าวสาละวิน กับบทบาทสื่อทางเลือกเพื่อสื่อสารเรื่องชนกลุ่มน้อยพม่าในประเทศไทยen
dc.title.alternativeSalween Post jouranl and Salween News Network Website and their roles as alternative media for communicating burmese minorities in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPira.C@chula.ac.th-
dc.email.advisorfcomvcs@phoenix.acc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.255-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakkanan_pa.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.