Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1559
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสรี จันทรโยธา-
dc.contributor.authorปิยะ กุณาศล, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-07T12:49:10Z-
dc.date.available2006-08-07T12:49:10Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745314935-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1559-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractศึกษาชลศาสตร์การไหลลอดบานประตูระบายแบบบานยกตรง ของเขื่อนปิดกั้นลำน้ำที่ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็ม ในลำน้ำที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง โดยศึกษาจากแบบจำลองกายภาพทางชลศาสตร์ ณ ห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อกำหนดให้อัตราการไหลและระยะการเปิดบานประตูระบายน้ำ รวมทั้งค่าแอมพลิจูดคลื่นเป็นตัวแปรชลศาสตร์การไหลที่ศึกษา แบบจำลองชลศาสตร์ในการวิจัยประกอบด้วย แบบจำลองทางน้ำ แอ่งน้ำขึ้นน้ำลง เครื่องกำเนิดน้ำขึ้นน้ำลง ชุดควบคุมอัตราการไหล รวมทั้งชุดเก็บบันทึกข้อมูล โดยแบบจำลองทางน้ำ สร้างขึ้นจากพลาสติกใส ขนาดความกว้าง 0.50 เมตร ยาว 18 เมตร สูง 0.20 เมตร กำหนดค่าอัตราการไหลในช่วงที่ศึกษามีค่าอยู่ระหว่าง 1-24 ลิตรต่อวินาที ระยะการเปิดบานประตูระบายน้ำ ตั้งแต่ 0.5-2.5 ซม. และค่าแอมพลิจูดคลื่นอยู่ในช่วง 0.49-1.25 ซม. สำหรับตัวแปรอื่นๆ กำหนดให้มีค่าคงที่ ประกอบด้วย คาบคลื่นและลักษณะทางกายภาพของแบบจำลอง สัมประสิทธิ์การไหลลอดบานประตูเป็นตัวแปรชลศาสตร์การไหลหลัก ที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมชลศาสตร์การไหลลอดบานประตู ภายใต้อิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลงและการไหลแบบคงตัวที่ไม่อยู่ใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งในกรณีการไหลที่ไม่อยู่ใต้อิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลง ได้ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การไหล เพื่อทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองโดยเปรียบเทียบกับผลการศึกษาที่ผ่านมา และจากผลการศึกษานี้พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การไหลลอดบานประตูสอดคล้องกับผลการศึกษาที่ผ่านมา สำหรับค่าสัมประสิทธิ์การไหลภายใต้อิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลง จากผลการทดลองพบว่ามีค่าน้อยกว่าค่าสัมประสิทธิ์การไหล เมื่อไม่มีอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงโดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.1-0.45 มีช่วงความแตกต่างประมาณ 5%-60% ที่ระยะความแตกต่างระดับน้ำเหนือบานและท้ายบานเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์อัตราการไหลที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับค่าแอมพลิจูด และระยะยกบานประตู โดยพบว่าเมื่อค่าแอมพลิจูดคลื่น และระยะยกบานประตูสูงขึ้น ค่าความแตกต่างของของสัมประสิทธิ์การไหลยิ่งมากขึ้นen
dc.description.abstractalternativeTo investigate the hydraulic of flow through the sluice gate of the closure dam which has the influence of the tidal flows. The study of the hydraulic behaviors was experimentally conducted by using a hydraulic physical model at the Hydraulic and Coastal Model Laboratory, Department of Water Resources Engineering, Chulalongkorn University. In the experiment, the hydraulic and related parameters collected consisted of upstream discharges, gate opening and wave amplitudes. The model used in this study consisted of a river model, a sea model or tidal basin, a tidal wave generator, a discharge controller, wave height meters, and an computer with an anlog to digital conversion card for measuring data. The river model was made of plexi glass with the dimensions of 0.5 m X 18 m X 0.20 m. The range of flow under this study was 1-2.4 I/s and the range of gate opening was 0.5-2.5 cm. The wave amplitude used was in the range 0/49-1.25 cm. For the other parameters concerned such as wave period and the physical characteristics of the hydraulic model were kept constant. The discharge coefficient was the major hydraulic parameter that was used in the comparative investigation of the hydraulic behavior of flow through sluice gate in the cases of with and without downstream tidal effects. In the case of flow without tidal effect, the discharge coefficient was experimentally studied in order to verify with the previous studies. The experiment results indicated that the discharge coefficient obtained from this study well conformed with the previous studies. In the case of flow with tidal effect, it has been shown that the discharge coefficient was between 0.1 to 0.45. In comparison, the discharge coefficient of the flow under the tidal effect was less than which of the flow without tidal flow effect. The percentage difference of the discharge coefficient of the two conditions was in the range of 5 to 60. Moreover, the discharge coefficient likely increased as the wave amplitude and the gate opening increased.en
dc.format.extent136486019 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพลศาสตร์ของไหลen
dc.subjectแบบจำลองทางชลศาสตร์en
dc.subjectการระบายน้ำen
dc.subjectน้ำขึ้นน้ำลงen
dc.titleการไหลลอดประตูระบายภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงen
dc.title.alternativeFlow through sluice gate under tidal effecten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมแหล่งน้ำen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSeree.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piya.pdf81.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.