Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1579
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์ธร จรัญญากรณ์-
dc.contributor.authorดำรงวิทย์ ทองดีนอก, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-09T03:33:42Z-
dc.date.available2006-08-09T03:33:42Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741766874-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1579-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงผลกระทบของเฟาลิ่งที่มีต่อสมรรถนะของระบบทำความเย็นในโรงน้ำแข็ง โดยทำการบันทึกข้อมูลจริงในโรงน้ำแข็ง การตรวจวัดและบันทึกการทำงานจริงในโรงน้ำแข็ง เพื่อใช้ในการคำนวณหาสมรรถนะของระบบการทำความเย็นและการเปลี่ยนแปลงของความต้านทานเฟาลิ่ง (Fouling Resistance) เพื่อศึกษาผลกระทบของความต้านทางเฟาลิ่งและช่วยในการอธิบายการเจริญเติบโตของเฟาลิ่ง โดยทำการเก็บข้อมูล 3 ช่วงตามฤดูกาล พร้อมทั้งทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเจริญเติบโตของเฟาลิ่งกับสมรรถนะของระบบการทำความเย็นในแต่ละฤดูกาล จากการศึกษาพบว่าค่าความต้านทานเฟาลิ่งในฤดูหนาวมีค่าระหว่าง 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0014 (m[superscirpt 2].K)/W ค่าความต้านทานเฟาลิ่งในฤดูร้อนมีค่าระหว่าง 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0018 (m[superscript 2].K)/W และค่าความต้านทานเฟาลิ่งในฤดูฝนมีค่าระหว่าง 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0014 (m[superscript 2].K)/W นอกจากนี้ค่าเฟาลิ่งของทั้งสามฤดูมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นและจะเพิ่มในอัตราที่ช้าลงในช่วงท้าย ตามจำนวนวันหลังจากการทำการล้างเครื่องควบแน่นเป็นลักษณะ Falling rate ทำให้สมรรถนะของระบบทำความเย็น (COP และ EER) ของโรงน้ำแข็งลดลง 2.0% และ 3.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามค่า COP และ EER ดังกล่าวยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกหลายอย่างอีกด้วย การเปรียบเทียบกับระบบที่ใช้เครื่องควบแน่นแบบเปลือกและท่อพบว่ามีสมรรถนะ (COP และ EER) สูงกว่า 4.0% และ 14.50% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลการศึกษาร่วมกับปริมาณการผลิตน้ำแข็งจะทำให้ทราบถึงข้อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น ค่าพลังงานต่อหน่วยการผลิตในสภาวะการทำงานต่างๆ ได้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตหรือการควบคุมการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นงานวิจัยนี้สามารถสรุปแนวทางในการทำงานที่เหมาะสมสำหรับสภาพปัจจุบันให้แก่ทางโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานen
dc.description.abstractalternativeThis research concerns a study of behaviors and effects of fouling on evaporative condenser of an ice-making plant. The study includes measurement and recording of data during normal operation of an ice-making plant. The data were then used to calculate the performance of refrigeration system and the fouling resistance. The fouling growth rate and its effects on performance of refrigeration system were also obtained. The study covered the operation in 3 seasons. It was found that the fouling resistance in the winter, summer and rainy season were in the ranges of 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0014 (m[superscirpt 2].K)/W , 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0018 (m[superscript 2].K)/W and 0.0005 (m[superscript 2].K)/W 0.0014 (m[superscript 2].K)/W, respectively. The fouling resistance tended to increase rapidly on day 1-7 after the tube cleaning and increased more gradually on day 8-12, ie, indicating the falling rate behavior. This led to COP and EER decrease of 2.0% and 3.3%, respectively. However, it shouldbe noted that in addition to the effects of fouling, there were also some other factors not considered here. This study also indicated that a refrigeration system with evaporative condenser exhibited higher COP and EER by 4.0% and 14.50% respectively, compare with a refrigeration system with shell-and-tube condenser. When analyzed together with ice production it was possible to improve energy usage efficiency such as kilowatts per unit of product.en
dc.format.extent20474916 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการทำความเย็นและเครื่องทำความเย็นen
dc.subjectเฟาลิ่งen
dc.titleการศึกษาผลกระทบของเฟาลิ่งที่มีต่อสมรรถนะของระบบทำความเย็นในโรงน้ำแข็งen
dc.title.alternativeStudy of fouling effect on performance of refrigeration system of ice-making planten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfmepcr@eng.chula.ac.th, Pongtorn.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dumrongwit.pdf10.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.