Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1583
Title: การวิเคราะห์วัตถุโบราณขนาดใหญ่โดยไม่ทำลาย ณ พื้นที่ ด้วยเครื่องวิเคราะห์รังสีเอกซ์เรืองแบบเคลื่อนย้าย
Other Titles: In situ non-destructive analysis of large ancient objects using a mobile XRF analyzer
Authors: อรวรรณ ตรรกนาถ, 2522-
Advisors: นเรศร์ จันทน์ขาว
ศิริชัย หวังเจริญตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การทดสอบแบบไม่ทำลาย
รังสีเอกซ์
โบราณวัตถุ
ธาตุ--การวิเคราะห์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทดสอบเครื่องวิเคราะห์รังสีเอกซ์เรืองที่ใช้ต้นกำเนิดรังสีแบบไอโซโทปเป็นตัวกระตุ้น และหัววัดรังสีชนิดแคดเมียมเทลลูไรด์ สำหรับการวิเคราะห์ชิ้นงานโลหะและโบราณวัตถุทั้งในห้องปฏิบัติการและในภาคสนาม สำหรับโพรบที่ใช้บรรจุหัววัดรังสีเอกซ์และต้นกำเนิดรังสีเอกซ์ ได้ออกแบบตามผลการทดลอง ซึ่งพบว่าระยะห่างระหว่างต้นกำเนิดรังสีเอกซ์ปฐมภูมิกับผิวตัวอย่างตั้งแต่ 0.5-1.5 ซ.ม.มีค่าความเข้มรังสีเอกซ์มากที่สุดหรือใกล้เคียงกับค่าที่มากที่สุด ส่วนการศึกษาเรื่องความโค้งหรือเว้าของผิวตัวอย่าง พบว่า ที่ระยะห่างระหว่างต้นกำเนิดรังสีเอกซ์ปฐมภูมิกับผิวตัวอย่างตั้งแต่ 0.5-3.5 ซม. มีค่าอัตราส่วนของความเข้มรังสีเอกซ์เฉพาะตัวในตัวอย่างค่อนข้างคงที่ทางสถิติ ตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมี 5 ชนิด ได้แก่ สารประกอบออกไซด์ ทองเหลือง ตะกั่ว บัดกรี สำริด และพระพุทธรูปขนาดเล็ก โดยค่าผลต่างระหว่างปริมาณจริงกับปริมาณที่วิเคราะห์ได้มีค่าสูงสุดไม่เกิน 3.53% ในส่วนของการวิเคราะห์ภาคสนาม ได้วิเคราะห์พระพุทธรูปจำนวน 4 องค์ โดยวิเคราะห์ที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานครฯ จำนวน 2 องค์ และวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 องค์ พบว่า พระพุทธรูป 3 องค์แรก มีส่วนประกอบหลักคือ ทองแดงกับสังกะสี ส่วนประกอบรองคือ ดีบุก ตะกั่ว และเหล็ก ธาตุปริมาณน้อยคือ เงินกับพลวง ส่วนพระพุทธรูปอีก 1 องค์ พบทองเพียงธาตูเดี่ยวเท่านั้น เนื่องจากได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ด้วยการลงลักปิดทองพระองค์นี้แล้ว
Other Abstract: A compact radioisotope excited x-ray fluorescence (XRF) spectrometer using CdTe detector was tested both in laboratory and in the field for analysis of some metallic specimens and ancient objects. A source-detector assembly was designed and constructed according to the experimental results to obtain maximum fluorescent x-ray intensity for wide range of energy. It was found that the maximum source-to-specimen distance in the range of 0.5-1.5 cm would give maximum or near maximum x-ray intensity. Furthermore, effect of the curvature of the specimen surface on fluorescent x-ray intensity was also experimentally investigated. It was also found that the fluorescent x-ray intensity ratios of all elements in the tested multielement specimens were statistically constant for source-to-specimen distance between 0.5-3.5 cm from both flat and curved surface specimens. In laboratory, five sets of specimens were analyzed including oxides, brass, lead-tin alloys, and bronze specimens as well as small Buddha images. The discrepancies between the known and the analytical values were not greater than 3.53%. Finally, four Buddha images in 2 temples, namely Wat Rachabopithsathitmahasimaram in Bangkok. and Wat Naphramain in Ayuthaya Province, were analyzed. The major elements found in 3 Buddha images were Cu and Zn with Sn, Pb, and Fe as minor elements while Ag and Sb were found at trace levels. The other Buddha image was covered by gold foils thus only Au was found at all spots.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1583
ISBN: 9741760752
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawanta.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.