Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1586
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญชัย อุกฤษฏชน-
dc.contributor.authorวุฒินันต์ ประทุม, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-09T05:56:30Z-
dc.date.available2006-08-09T05:56:30Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745317403-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1586-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการคำนวณเชิงตัวเลขของทฤษฎีขอบเขตล่างหลักการนี้มีพื้นฐานมาจากวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบแยกชิ้นส่วนและทฤษฎีขอบเขตพลาสติก รูปแบบของระบบสมการที่ได้อยู่ในรูปของปัญหาการหาค่าที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นฟังก์ชันแบบไม่เชิงเส้นตรง ตัวแปรไม่ทราบค่าของระบบคือค่าหน่วยแรงภายในมวลดิน สมการข้อจำกัดของระบบประกอบด้วย สมดุลของหน่วยแรงภายในชิ้นส่วน สมดุลของหน่วยแรงบนขอบไม่ต่อเนื่องระหว่างชิ้นส่วน และสมดุลของแรงที่ขอบเขตมวลดิน อสมการข้อจำกัดของระบบพิจารณาจากฟังก์ชันขอบเขตการวิบัติของมวลดิน ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ฟังก์ชันการวิบัติแบบมอร์-คูลอมบ์ ฟังก์ชันวัตถุประสงค์ของระบบสามารถพิจารณาได้ 2 แบบคือ การวิเคราะห์หาแรงกระทำภายนอกและการวิเคราะห์หาหน่วยน้ำหนักของมวลดิน กระบวนการวิเคราะห์หาผลเฉลยใช้หลักการของคุน-ตัคเกอร์ออบติมอลิตี้ คอนดิชัน และวิธีการของนิวตันเป็นพื้นฐาน ระบบการคำนวณที่พัฒนาขึ้นได้นำมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์และทดสอบปัญหา 3 แบบคือ ปัญหาความสามารถในการรับแรงแบกทานของฐานรากต่อเนื่อง ปัญหาเสถียรภาพของมวลดินในแนวดิ่ง และปัญหาเสถียรภาพของอุโมงค์ในชั้นดินเหนียว สำหรับปัญหาฐานรากต่อเนื่องผลเฉลยที่ระบบการคำนวณวิเคราะห์ได้มีค่าคลาดเคลื่อนจากผลเฉลยแม่นตรง 3.9% สำหรับดินที่ไม่มีค่ามุมเสียดทานภายในมวลดินและคลาดเคลื่อน 8.3% สำหรับดินที่มีค่ามุมเสียดทานภายในมวลดิน สำหรับปัญหาอื่นๆ ผลการวิเคราะห์ที่ได้มีความสอดคล้องเป็นอย่างดีกับผลการวิเคราะห์ที่ผ่านมาในอดีต นอกจากนี้ยังได้ทดสอบระบบการคำนวณกับปัญหาตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาฐานรากต่อเนื่องวางบนชั้นดินที่มีค่ากำลังแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำเพิ่มขึ้นตามความลึก ปัญหาเสถียรภาพของมวลดินในแนวดิ่งแบบมีค้ำยันด้านข้าง ปัญหาเสถียรภาพของอุโมงค์ในชั้นดินเหนียวที่มีค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำเพิ่มขึ้นตามความลึก โดยผลการวิเคราะห์ที่ได้จากระบบการคำนวณมีค่าสอดคล้องกับผลเฉลยของค่าขอบเขตล่างและขอบเขตบนที่ได้จากงานวิจัยที่ผ่านมาแล้ว และในบางกรณีผลการวิเคราะห์ที่ได้จากระบบที่พัฒนาขึ้นให้ค่าขอบเขตล่างที่ดีกว่าผลการวิเคราะห์ในอดีตen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to develop optimization technique for plastic limit analysis, based on lower bound plastic limit analysis. The equation system of stability problem is formed in the optimization problem which is the non-linear function of unknown stress variables. The equality constraints of this problem consist of: 1.) equilibrium in element; 2. equilibrium on discontinuity plane; and 3.) equilibrium on boundary condition. The inequality constraints of the system are obtained from the failure criterion of the Mohr-Coulomb function. The objective function of the system is to maximize the magnitude of surface traction or the magnitude of soil unit weight. The final formulation is the non-linear programming problem, where the algorithm used to solve this system is based on the Kuhn-Tucker optimality condition and the Newton's method. The proposed numerical lower bound limit analysis is applied to analyze and to verify three undrained problems in clay, namely bearing capacity of strip footing, stability of vertical cut, and stability of shallow tunnel. For the case of strip footing, whose exact solutions are well-known, the result shows the error of 3.9% for cohesive soil and error of 8.3% for cohesive-frictional soil. For the other problems, the numerical results are in excellent agreement with those of existing numerical solutions. In addition, the proposed program is then applied in predictions of collapse load for shallow footing on non-homogenous clay layer whose undrained shear strength increases with depth, the stability of braced excavation, and the stability of shallow tunnel in non-homogenous clay layer. Those results correspond with those of other solutions and in some cases the results obtained are more accurate.en
dc.format.extent2616422 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการกำหนดเชิงตัวเลขen
dc.subjectการโปรแกรมไม่เชิงเส้นen
dc.subjectปฐพีกลศาสตร์en
dc.titleการพัฒนาเทคนิคการหาค่าที่ดีที่สุดสำหรับวิเคราะห์ขอบเขตพลาสติกen
dc.title.alternativeDevelopment of optimization technique for plastic limit analysisen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfcebuk@eng.chula.ac.th, Boonchai.Uk@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wuttinan.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.