Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1590
Title: เครื่องรับแบบวนซ้ำใช้แบบจำลองถดถอยอัตโนมัติสำหรับประมาณช่องสัญญาณชนิดเรย์สีเฟดดิงแบบเรียบ
Other Titles: Itertive receiver using autoregressive model for estimation rayleigh flat-fading channel
Authors: ทัศนัย พลอยสุวรรณ, 2524-
Advisors: ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasit.T@chula.ac.th
Subjects: ทฤษฎีรหัส
ระบบสื่อสารไร้สาย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รหัสเทอร์โบเป็นหนึ่งในกรรมวิธีการถอดรหัสทางช่องสัญญาณ ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานเข้าใกล้ขีดจำกัดของชานอน (Shannon limit) โดยสามารถทำงานได้ในระดับความผิดพลาดอยู่ที่10[superscript-5] ที่ค่า EbNO =0.7 dB ในช่องสัญญาณที่เป็นแบบเกาส์เซียนสีขาวแบบบวก เป็นที่น่าเสียดายที่สมรรถนะสูงสุดของการถอดรหัสแบบเทอร์โบในช่องสัญญาณชนิดเรย์ลีเฟดดิงแบบเรียบขึ้นกับค่าความรู้ของค่รคอนจูเกตของสัญญาณเฟดดิ่งแบบแรียบของช่องสัญญาณเพื่อนำมาคูณกับสัญญาณที่รับได้ โดยภาครับเพื่อกำจัดผลของสัญญาณเรย์ลีเฟดดิงแบบเรียบ ถึงแม้นว่าเครื่องรับแบบวนซ้ำซึ่งอาศัยรหัสเทอร์โบและการแทรกสัญลักษณ์นำร่องในสัญญาณมอดดูเลชั่นสำหรับ การทำงานร่วมกันระหว่างการถอดรหัสและการประมาณช่องสัญญาณถูกนำเสนอมาก่อนหน้า โดยอาศัยวิธีค่าผิดพลาดกำลังสองต่ำสุดจะสามารถประมาณค่าเชิงซ้อนของสัญญาณเฟดดิ่งแบบเรียบในช่องสัญญาณได้ แต่ข้อเสียของวิธีการดังกล่าวคือเครื่องรับจำเป็นต้องอาศัยค่าความรู้ทางสถิติของสัญญาณเฟดดิ่งและค่าความแปรปรวนของช่องสัญญาณทำให้วิธีการประมาณช่องสัญญาณโดยวิธีค่าผิดพลาดกำลังสองต่ำสุดไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติ ในวิทยานิพนธ์นี้ผู้นำเสนออาศัยรูปแบบของเครื่องรับโดยการแทรกสัญลักษณ์นำร่องในสัญญาณมอดดูเลชั่นและนำแบบจำลองถดถอยอัตโนมัติ มาเป็นแบบจำลองสำหรับตัวประมาณช่องสัญญาณโดยเสนอ 2 วิธีการของตัวประมาณช่องสัญญาณโดยอาศัยแบบจำลองถดถอยอัตโนมัติได้แก่วิธีค่าผิดพลาดกำลังสองต่ำสุดและวิธีการค่าเฉลี่ยกำลังสองต่ำสุดที่ถูกนอร์แมลไลซ์ โดยในส่วนของผลการทดลอง ผู้นำเสนอทำการการเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องรับแบบวนซ้ำโดยอาศัยตัวประมาณโดยวิธีค่าผิดพลาดกำลังสองต่ำสุดและวิธีค่าผิดพลราดกำลังสองต่ำสุดและ วิธีการาค่าเฉลี่ยกำลังสองต่ำสุดที่ถูกนอร์แมลไลซ์บนแบบจำลองถดถอยอัตโนมัติ
Other Abstract: Turbo code is one of the most powerful channel decoding that the dermonstration of the performance close to Shannon limit by taking bit error rate (BER0 at 10[superscript-5] over EbNO =0.7 dB over additive white Gaussian channel. Unfortunately, the full potential of turbo decoding over rayleigh-flat-fading channel requires knowledge of fading conjugate for multiply with received signal for destroy the effect of complex rayleigh-flat-fading. Although the iterative receiver using turbo code and pilot symbol assisted modulation (PSAM) for joint channel estimation and decoding was proposed by using minimum mean square error (MMSE), the disadvantage of previous channel estimation is that the receiver must known fading statistic and noise variance of system. These limitations lead to previous work was not appropriate for practical system. In this thesis, the researcher uses pilot symbol assisted modulation for receiver. The autoregressive model is applied to channel estimation model. Two types of channel estimation both MMSE-based and NLMS-based over autoregressive model are proposed in this thesis. Simulation results demonstrate the comparative performance of iterative receiver by using the previous channel estimation and two types of proposed channel estimation by using autoregressive model.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1590
ISBN: 9741761422
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuchsanai.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.