Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารีณา ศรีวนิชย์-
dc.contributor.authorปณิธาน มาลากุล ณ อยุธยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-09-21T11:41:40Z-
dc.date.available2011-09-21T11:41:40Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15913-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นยังไม่เหมาะสม และขาดหลักประกันที่ชัดเจน เนื่องจากในปัจจุบันมาตรการคุ้มครองดังกล่าว มีเพียงการให้สิทธิผู้เสียหายฟ้องร้องดำเนินคดีผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง ภายหลังพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีเท่านั้น นอกจากนั้น สิทธิดังกล่าวก็ยังถูกจำกัดโดยการตีความนิยามคำว่า “ผู้เสียหาย” รวมทั้งการเข้าถึงพยานหลักฐานและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องก็เป็นไปได้ยาก ทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในต่างประเทศ ได้มีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย ภายหลังพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับให้ผู้หนึ่งผู้ใด กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามหน้าที่ซึ่งตนมีอยู่ก็ได้ หมายนี้เรียกว่า “mandamus” ดังนั้น ผู้เสียหายอาจร้องขอต่อศาลให้ออกหมายดังกล่าวบังคับให้พนักงานอัยการ ซึ่งได้มีดุลพินิจไม่ฟ้องไปแล้วฟ้องคดีก็ได้ หรือในประเทศญี่ปุ่นมีมาตรการในการควบคุมคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคือ การไต่สวนการฟ้องคดี (Inquest of prosecution) โดยการไต่สวนนี้จะเป็นกระบวนการสอบสวนว่าการที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญานั้นๆ เหมาะสมแล้วหรือไม่ วิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าประเทศไทยควรแก้ไข เพิ่มเติมบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในเรื่องนิยามของผู้เสียหาย สิทธิในการเข้าถึงพยานหลักฐานและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของผู้เสียหายให้ชัดเจน นอกจากนั้น ควรเพิ่มเติมมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย โดยการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ซึ่งมีหน้าที่รับอุทธรณ์จากผู้เสียหาย ในกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องเพื่อสร้างความโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อให้เป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลได้อย่างเต็มที่en
dc.description.abstractalternativeIn present, measures to protect the injured person’s right after the prosecutor orders to drop the case are inappropriate and lacks of guarantee. The injured person only has the right to file criminal case on his own in case of non-prosecution. Furthermore, the right is limited by the interpretation of “the injured person” and the difficulties to achieve the evidence and the process of judgement. As a result, the injured person is not able to be completely and effectively protected. In foreign countries, measures have been adopted to protect the injured party’s right after the prosecutor orders to drop charges. For example, in the United States of America, the court has the authority to issue a warrant called “mandamus” enforcing a person to act upon his duty. Consequently, the victim might request for that warrant to order the prosecutor to file the case. In Japan, particular measures to inquest of prosecution, have been implemented for monitoring the non-prosecution order. This measure is the process to examine whether the case is appropriate for non-prosecution. This thesis suggests that Thailand should amend provisions in the Criminal Procedure Code: namely, to specifically define “the injured person”, the right to achieve the evidence and the process of judgement. Moreover, the prosecutor’s non-prosecution decision review body should be set up in order to facilitate transparency and fairness of the non-prosecution order, so that the injured party’s right can be effectively protected.en
dc.format.extent1070038 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.101-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาen
dc.subjectวิธีพิจารณาความอาญาen
dc.subjectเหยื่ออาชญากรรมen
dc.titleการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายกรณีพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องen
dc.title.alternativeThe protection of injured person's right in case of non-prosecution orderen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPareena.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.101-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panitan_Ma.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.