Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16042
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์-
dc.contributor.advisorชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์-
dc.contributor.authorณัฐพงษ์ ชัยพัฒน์ปรีชา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2011-09-29T10:31:59Z-
dc.date.available2011-09-29T10:31:59Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16042-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาผลการฝึกโพรไพรโอเซ็ฟทีฟที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและการทรงตัวในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 15 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย ทำการฝึก 3 วัน ต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยให้กลุ่มทดลองทำการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมโพรไพรโอเซ็ฟทีฟ ก่อนการฝึกซ้อมตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมทำการฝึกซ้อมตามปกติ โดยทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว พลังระเบิดของกล้ามเนื้อขา ความสามารถในการเร่งความเร็ว ความอ่อนตัวแบบเคลื่อนที่ของสะโพก การทรงตัวแบบนิ่งอยู่กับที่ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One way analysis of variance with repeated measures) หากพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของ ตูกี เอ (Tukey a) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไว ความสามารถในการเร่งความเร็ว ความอ่อนตัวแบบเคลื่อนที่ของสะโพก การทรงตัวแบบนิ่งอยู่กับที่ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไว ความสามารถในการเร่งความเร็ว การทรงตัวแบบนิ่งอยู่กับที่ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และพบว่าความอ่อนตัวแบบเคลื่อนที่ของสะโพกของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันen
dc.description.abstractalternativeTo examine the effects of proprioceptive training on agility and balance in soccer players. Thirty soccer players from the Bangkok Sports School were purposively sampled to participate in the research. The subjects were assigned into two groups of 15 players by simple random sampling. The experimental group had a supplementary proprioceptive training before their regular training, while the control group had only the regular training. Both groups trained three days a week for a period of eight weeks. The data of agility, leg muscular explosive power, acceleration ability, dynamic flexibility of hip joint, static balance and leg muscular strength were collected before experiment, four weeks after training and eight weeks after training. The obtained data were analyzed in term of means, standard deviations, One way analysis of variance with repeated measures and multiple comparison by the Tukey (a) were also employed for statistical significance. Independent t-test was used to check the differences between the two groups. The results indicated that: 1. After eight weeks of experiment, agility, acceleration ability, dynamic flexibility of hip joint, static balance and leg muscular strength in the control group and the experimental group were significantly better than those before experiment at the .05 level. 2. After eight weeks of experiment, agility, leg muscular explosive power, acceleration ability, static balance and leg muscular strength in the experimental group were significantly better than the control group at the .05 level. However, there was no statistical difference on dynamic flexibility of hip joint between the two groups.en
dc.format.extent2449295 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.330-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการรับรู้อากัปกิริยาen
dc.subjectความสามารถทางกลไกen
dc.subjectการทรงตัวen
dc.subjectนักฟุตบอลen
dc.titleผลการฝึกโพรไพรโอเซ็ฟทีฟที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและการทรงตัวในนักกีฬาฟุตบอลen
dc.title.alternativeEffects of proprioceptive training on agility and balance in soccer playersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChaninchai.I@Chula.ac.th-
dc.email.advisortonchaipat@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.330-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattapong_ch.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.