Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1613
Title: การวิเคราะห์เพื่อลดระดับสินค้าคงคลังประเภทชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องมือในโรงงานผลิตแผงวงจรไฟฟ้ารวม
Other Titles: Analysis on inventory level reduction of equipment spare parts for an integrated circuit (IC) factory
Authors: ศศิธร สาดแสงจันทร์, 2524-
Advisors: ศรีรักษ์ ศรีทองชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: อุตสาหกรรมแผงวงจรรวม -- การควบคุมสินค้าคงคลัง
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการดำเนินการธุรกิจ คือ การลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มีการหาวิธีการในการปรับปรุงระบบการผลิต และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตให้ต่ำที่สุดแม้จะจัดการกับระบบที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตโดยตรงให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว บริษัทบางบริษัทยังคงมีช่องว่างในการลดต้นทุนของการจัดการระดับการเก็บและจุดสั่งซื้อพัสดุคงคลังที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตวิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอถึงการวิจัยวิธีการบริหารและการจัดการพัสดุคงคลังประเภท Spare parts ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตของ โรงงานผลิตแผงวงจรไฟฟ้ารวม จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันโรงงานยังขาดการจัดทำระบบข้อมูลที่ดี ทำให้เกิดปัญหามูลค่าการจัดเก็บสูงถึง 18,077,707.27 เหรียญสหรัฐฯ หลังจากการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้วยโปรแกรมแอคเซส ทำให้ทราบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อมากขึ้น และพบว่ามี Spare part ที่มีการสั่งซ้ำซ้อนกันทั้งสิ้น 618 รายการ และเป็นรายการที่ถูกยกเลิกการสั่งจากผู้ใช้แล้วแต่ยังมีการสั่งซื้ออยู่ทั้งสิ้น 2,132 รายการ ซึ่งการจัดทำระบบฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถชี้บ่งถึงปริมาณคงคลังที่จำเป็นต้องขจัดออกจากคลังคิดเป็นมูลค่าการเก็บเท่ากับ 771,655.45 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับการกำหนดนโยบายพัสดุคงคลัง จะเริ่มจากการแบ่งกลุ่มตามความสำคัญโดยใช้เทคนิค AHP (Analytic Hierarchy Process) โดยพิจารณาปัจจัยการทดแทนกันของอะไหล่ ประเภทของอะไหล่ และเวลานำไปพร้อมๆ กัน จากการแบ่งกลุ่มพบว่าเป็นรายการที่มีความสำคัญมาก (A) 194 รายการ รายการที่ความสำคัญปานกลาง (B) 2,173 รายการ และที่เหลือ 10,002 รายการเป็นรายการที่มีความสำคัญน้อย (C) ซึ่งงานวิจัยจะทำการศึกษาเฉพาะรายละเอียดของรายการที่มีความสำคัญมาก 194 รายการ นโยบายพัสดุคงคลังที่นำมาประยุกต์ใช้กับรายการที่มีความสำคัญมากของโรงงานตัวอย่าง คือ นโยบายจุดสั่งซื้อ-ระดับสั่งซื้อ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมคงคลังจากระบบเดิมลงได้ 92,915.68 เหรียญสหรัญฯ
Other Abstract: One major factor of performing business is to reduce production cost. Industries attempt on developing production lines and keep the production cost as low as possible. Although, effective production management can have issue on reducing production cost while carrying over-needed items. However, the issue is indirectly involved with the production lines. This thesis analyses on equipment management and concentrates on spare part equipment that are indirectly involved with production line of a Semiconductors Factory. The study discovers that good information management system is absence. Therefore, carrying as much as $18,077,707.27 on-hand equipment became a big issue. After creating database in MS Access, more information efficiencies are obtained. It reveals that 618 items are duplicated and 2,132 items are ordered but no longer needed, they both cost $771,655.45. For the spare part equipment policy, the study begins by classifying items base on their significant levels with AHP technique (Analytic Hierarchy Process technique). The classification is based on lead time, type of spare parts, and status of availability simultaneously. The sequel shows 3 levels of significant; most significant (A model), medium significant (B model), and least significant (C model), containing 194 items, 2,173 items, and 10,002 items respectively. The study analyses comprehensively on 194 items in A model. The Ordering Point and Order Level or (s,S) policy is applied to model A from the classified spare parts equipment policy. This reduces $92,915.68 spare part equipment cost from the total amount of the spare part equipment in previous system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1613
ISBN: 9741766793
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sasithronS.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.