Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16457
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสนานจิตร สุคนธทรัพย์-
dc.contributor.advisorสุภางค์ จันทวานิช-
dc.contributor.authorชูชาติ พ่วงสมจิตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2011-12-29T08:51:19Z-
dc.date.available2011-12-29T08:51:19Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16457-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาจากโรงเรียนประถมศึกษาและชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียนในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 แห่ง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน ประกอบด้วย 3 กลุ่มปัจจัย คือ 1.1 กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย(1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มีอุตสาหกรรมเป็นแกนหลัก และสภาวะในช่วงที่เศรษฐกิจดี(2) ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองท้องถิ่นกระตุ้นให้นักการเมืองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน และ(3) ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรมได้แก่ ลักษณะนิสัยพื้นฐานของคนไทย 1.2 กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน ได้แก่ ความศรัทธา ความรูสึกเป็นเจ้าของ ความเป็นห่วงสวัสดิภาพของบุตรหลาน ความเกี่ยวข้องผูกพันกับโรงเรียน สถานภาพของคนในชุมชน ความคาดหวังที่มีต่อโรงเรียน ลักษณะนิสัยพื้นฐานของคนในชุมชน เครือข่ายของชุมชน ผู้นำชุมชน ความพร้อมของคนในชุมชน การเห็นความสำคัญของตนเองและการเห็นแก่ความเจริญของส่วนรวม 1.3 กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน ประกอบด้วย (1) ปัจจัยเกี่ยวกับบุคลากรของโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารรุ่นก่อนสร้างสมศรัทธาไว้ให้ ผู้บริหารและครูมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ผู้บริหารทำงานกับกรรมการศึกษาได้ดี ผู้บริหารและครูให้เกียรติและกำลังใจแก่ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถดี ผู้บริหารและครูประพฤติตนดี ครูรัก ผูกพันและความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของโรงเรียน โรงเรียนมีครูเก่าแก่หรือศิษย์เก่าอยู่ในโรงเรียน ครูสนใจเด็กและสอนดี และคณะครูมีความสามัคคี (2) ปัจจัยเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเป็นผู้เข้าไปขอความร่วมมือจากชุมชน สร้างระบบที่เอื้อให้ชุมชนมีส่วนร่วม ให้ความเอื้อเฟื้อแก่ชุมชน และสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน(3) ปัจจัยเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมีแผนงานที่ดี มีความน่าเชื่อถือเรื่องการเงิน และมีการพัฒนาที่ดี (4) ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน ความเป็นโรงเรียนของชุมชน ชื่อของโรงเรียน และการที่โรงเรียนเป็นแหล่งสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้เข้ามามีส่วนร่วม 2. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียน ประกอบด้วย 3 กลุ่มปัจจัย คือ 2.1 กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมที่ทำให้คนในชุมชนไม่มีเวลาว่าง สภาวะในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตและระบบมาตรฐานสินค้า(2) ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในท้องถิ่น ก่อให้เกิดความแตกแยกในชุมชน และระบบของการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครู ไม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน 2.2 กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน ได้แก่ ความเสื่อมศรัทธา ความไม่ผูกพันกับชุมชน การไม่มีเวลาว่าง การขาดความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียน และความขัดสนส่วนบุคคล 2.3 กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน ประกอบด้วย (1) ปัจจัยเกี่ยวกับบุคลากรของโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารและครูรุ่นปัจจุบันขาดความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน บุคลากรในฝ่ายบริหารไม่ให้ความสำคัญกับผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ผู้บริหารไม่อยู่บริหารโรงเรียน จำบุคคลที่ช่วยเหลือโรงเรียนไม่ได้ ทำงานโดยไม่ปรึกษาหารือ และไม่เร่งแก้ปัญหาความขัดแย้งกับชุมชน ครูมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมต่อชาวบ้านประพฤติตนไม่เหมาะสม และกีดกันการเข้ามามีส่วนร่วมของคนในชุมชน (2) วิธีปฏิบัติงานของโรงเรียน ได้แก่ ความเอาใจใส่ต่อนักเรียนน้อยลง โรงเรียนทำให้ประชาชนเดือดร้อน ยกเลิกสิทธิพิเศษของผู้มีอุปการะต่อโรงเรียน แต่งตั้งผู้ที่มาทำงานกับชุมชนไม่เหมาะสม ไม่ตอบแทนชุมชน ไม่กำหนดบทบาทที่เหมาะสมให้แก่ผู้เข้ามามีส่วนร่วม (3) ผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน ได้แก่ ความโดดเด่นด้านวิชาการของโรงเรียนลดลง และไม่มีผลงานที่ประสบผลสำเร็จเสนอให้ชุมชนชื่นชม (4) ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ข่าวทางลบของโรงเรียน ความสัมพันธ์กับวัดไม่ดี การขาดบุคลากรที่จะเชื่อมโยงกับชุมชนและการขาดทีมงานที่ดีen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this qualitative study was to analyze the facilitating factors and restraining factors towards community and elementary school participation in 2 elementary schools in the vicinity of Bangkok Metropolis. The findings revealed that 3 main factors: environment, community and school were on the one hand facilitating factors and on the other hand restraining factors. Environment as facilitating factors consisted of:(1) Economic factors: industrial economy and good economic condition; (2) Political factors: changes in the from of local government;(3) Social factors: character of Thai people. Environment as restraining factors was composed of: (1) Economic factor: working hours of factory workers, economic recession, and changes in production technology; (2) Political factors: local government election, teacher and administrator recruitment system. Community factors, facilitating and restraining ones, could be grouped into social psychological factors including faith in education and school administrators, characteristics and status of community members especially community leaders, concern for school and existing community network. School factors affecting community-school relationship were those related to: (1) school personnel especially administrators and teachers (e.g. relationship with community, behaviors and attitudes in dealing with community members); (3) school performance (e.g. academic achievement) and (4) other factors (e.g. relationship with monks, personnel to deal with community)en
dc.format.extent807110 bytes-
dc.format.extent777649 bytes-
dc.format.extent986665 bytes-
dc.format.extent877399 bytes-
dc.format.extent731055 bytes-
dc.format.extent756921 bytes-
dc.format.extent1251505 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงเรียนวัดสุขเกษมen
dc.subjectโรงเรียนวัดคลองน้ำดำen
dc.subjectการมีส่วนร่วมen
dc.subjectชุมชนen
dc.subjectชุมชนกับโรงเรียนen
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษาen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeAn analysis of facilitating factors and restraining factors towards community-elementary school participation in the vicinity of Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSnanchit.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorSupang.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Choochat_Ph_front.pdf850.15 kBAdobe PDFView/Open
Choochat_Ph_ch1.pdf779.83 kBAdobe PDFView/Open
Choochat_Ph_ch2.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Choochat_Ph_ch3.pdf809.12 kBAdobe PDFView/Open
Choochat_Ph_ch4.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Choochat_Ph_ch5.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Choochat_Ph_ch6.pdf967.88 kBAdobe PDFView/Open
Choochat_Ph_back.pdf850.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.