Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16479
Title: การพัฒนาความสามารถในการเขียนเรียงความแบบโน้มน้าว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดของไวกอทสกี
Other Titles: Development of ability in writing persuasive essays of Prathom Suksa six students according to Vygotsky's thought
Authors: บังเอิญ สร้อยกล่อม
Advisors: แรมสมร อยู่สถาพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Ramsamorn.y@chula.ac.th
Subjects: การเขียน -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
เรียงความ
การโน้มน้าวใจ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาความสามารถในการเขียนเรียงความแบบโน้มน้าว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนเขียนเรียงความแบบโน้มน้าวตามแนวคิดของไวกอทสกี ตัวอย่างประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนพญาไท กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเรียงความแบบโน้มน้าว ตามแนวคิดของไวกอทสกี ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามหลักสูตรการสอนการเขียนเรียงความ แบบโน้มน้าวตามแนวคิดของไวกอทสกี ซึ่งเบอร์คัลเตอร์ (Burkhalter, 1995) ได้นำเสนอไว้ ประกอบด้วย 6 จุดประสงค์ คือ 1) การสอนให้นักเรียนรู้จักเรียงความแบบโน้มน้าว 2) การช่วยนักเรียนในการพัฒนาการอ้างเหตุผลและคาดหมายข้อคัดค้านของผู้อ่าน 3) การกระตุ้นให้นักเรียนเขียนเรียงความแบบโน้มน้าว 4) การเปลี่ยนวิธีการอ้างเหตุผลจากการพูดเป็นการอ้างเหตุผลด้วยการเขียน 5) การชี้ให้เห็นถึงการอ้างเหตุผลที่ดีและการอ้างเหตุผลที่ไม่ดี และ 6) การสนับสนุนทรรศนะของตนเอง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบความสามารถ ในการเขียนเรียงความแบบโน้มน้าวตามแนวคิดของไวกอทสกี ของนักเรียน ก่อนและหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์การพัฒนาความสามารถในการเขียนเรียงความ แบบโน้มน้าวตามแนวคิดของไวกอทสกี ขณะดำเนินการทดลองสอนโดยการวัดสามารถในการเขียนเรียงความแบบโน้มน้าว ด้วยแบบทดสอบความสามารถ ในการเขียนเรียงความแบบโน้มน้าว ตามแนวคิดของไวกอทสกี (Burkhalter, 1995) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเขียนเรียงความแบบโน้มน้าว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดของไวกอทสกีหลังการได้รับการสอนเขียนเรียงความ แบบโน้มน้าวตามแนวคิดของไวกอทสกี มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเขียนเรียงความ แบบโน้มน้าวก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเขียนเรียงความ แบบโน้มน้าวตามแนวคิดของไวกอทสกีขณะดำเนินการทดลอง หลังจากวัดด้วยแบบทดสอบความสามารถในการเขียนเรียงความแบบโน้มน้าว ตามแนวคิดของไวกอทสกี (Burkhalter, 1995) โดยทั่วไปเพิ่มขึ้น
Other Abstract: To develop ability in writing persuasive essays of prathom suksa six students taught by persuasive essay writing approach according to Vygotsky's thougt. The subjects were 30 students of prathom suksa six, academic year 1996, in Phayathai School, Bangkok. The research instrument used in this research was a students' ability in writing persuasive essay test. Research precedure was conducted according to a Vygotsky-based curriculum for teaching persuasive essays in the elementary school presented by Burkhalter (1995) which consisted of 6 objectives as follow : 1) To help students recognize a persuasive essay; 2) To help students develop arguments and anticipate a reader's objections; 3) To motivate students to write persuasive essays; 4) To transfer an oral argumentation skill into a written one; 5) To identify strong and weak arguments; and 6) To support their viewpoint. The obtained data were analized by comparing ability in writing persuasuve essays according to Vygotsky's thought between pre-post test including significant difference testing. The ability development in writing persuasive essays according to Vygotsky's thought during research conduct was measured by students' ability in writing persuasive essay test as well. The results indicated that : 1. The post-test arithemetic mean score of students' persuasive essay writing ability according to Vygotsky's thought was higher than that of pre-test at the .05 level of significance. 2. The arithemetic mean score of students' persuasive essay writing ability development according to Vygotsky's thought in overall was increased
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16479
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bungern_So_front.pdf763.44 kBAdobe PDFView/Open
Bungern_So_ch1.pdf876.89 kBAdobe PDFView/Open
Bungern_So_ch2.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Bungern_So_ch3.pdf883.02 kBAdobe PDFView/Open
Bungern_So_ch4.pdf758.82 kBAdobe PDFView/Open
Bungern_So_ch5.pdf812.08 kBAdobe PDFView/Open
Bungern_So_back.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.