Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16482
Title: Thai truck loading monitoring and assessment of existing concrete bridges
Other Titles: การวัดสังเกตุน้ำหนักรถบรรทุกในประเทศไทยและการประเมินสภาพโครงสร้างสะพานคอนกรีต
Authors: Douangmixay Dounsuvanh
Advisors: Phoonsak Phainsusom
Sato, Yasuhiko
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Advisor's Email: fcepps@eng.chula.ac.th
No information provided
Subjects: Bridges -- Live loads
Trucks -- Weight
Issue Date: 2009
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: At the present decades, bridge assessment and evaluation are the vital issues in Thailand. Due to that many old bridge structures are inclined and deteriorated. In the contrast, the present truck loads are heavier than previous truck loads. To evaluate the old bridge structure, the actual truck data have to be available. Therefore, this study has mainly studied on development truck load monitoring system, and assessment for existing bridges. In Thailand, bridges have been designed by HS20-44 bridge design truck designed by AASHTO for many years, but the actual truck loads are greater than those the design truck. However, the data for local truck load has not been available to develop bridge truck load design for Thailand. Therefore, this study proposes an alternative truck load monitoring system based on the bridge weigh-in-motion (B-WIM) algorithm. The system is inexpensive, no devices exposed on the road, and it is convenient in installation and maintenance. From results of testing monitoring actual truck load, the system estimates the GVW of the truck within 6% to 10% error. Many constitutive models for nonlinear finite element method (NLFEM) for analysis concrete and reinforced concrete structures can not account for existing flaw/crack in old concrete and reinforced concrete (RC) members. In this study, the softening model for concrete and tension stiffening model for RC members are adopted to account for existing flaw/crack for analysis old concrete and RC structures. Some notched concrete and RC beams are analyzed to verify the proposed models which notch is assumed as an existing flaw. The analysis results of these examples are very close to the test results. To apply the proposed models which existing flaw/cracks are accounted, three concrete slab bridges have been analyzed by 3D NLFEM. The analysis results obtained from the proposed models have then compared to truck test results and to general NLFEM results. The results obtained from the proposed models are closed to the test results, while the results by general NLFEM are much less than those of the test results. After that, two concrete slab bridges are continued to analyze evolution their capacity using the proposed models and using maximum truck load from monitored data. From the analysis results, the behavior and capacity of the bridges can be obtained reasonably which bridge capacity obtained from the proposed models is less than those from general NLFEM and higher than those from simplify method of AASHTO
Other Abstract: การตรวจสอบและประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้างสะพานเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากสะพานที่ใช้กันอยู่ได้ผ่านการใช้งานต่อเนื่องมาเป็นเวลานานทำให้มีการเสื่อมสภาพ ในทางกลับกันปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกของยานพาหนะมีค่าเพิ่มขึ้นจากในอดีต ในการที่จะประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้างสะพานเก่า จำเป็นจะต้องทราบน้ำหนักบรรทุกจริงของยานพาหนะ ดังนั้นการศึกษานี้จะมุ่งเน้นการศึกษาในการพัฒนาเทคนิคในการตรวจวัดน้ำหนักรถ และเทคนิคในการประเมินโครงสร้างสะพานเก่าให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผลกระทบของน้ำหนักรถบรรทุกต่อโครงสร้างสะพานเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในประเทศไทยในปัจจุบัน เพราะโครงสร้างของสะพานในประเทศไทยได้ออกแบบตามมาตรฐานของ American Association of State Highway and Transportation Officials (AASHTO) แต่น้ำหนักรถบรรทุกจริงมีความแตกต่างจากน้ำหนักที่ใช้ในการออกแบบ และยังไม่มีข้อมูลน้ำหนักรถบรรทุกจริงที่เพียงพอ ในการพัฒนาแบบจำลองน้ำหนักรถบรรทุกที่ใช้ในการออกแบบสะพานของประเทศไทย ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้พัฒนาวิธีการตรวจวัดน้ำหนักรถ โดยอิงตามวิธี Bridge weigh–in–motion (B-WIM) สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้มีราคาไม่สูงมาก ติดตั้งง่าย ผลการวิจัยนี้พบว่า มีความคาดเคลื่อนในการประเมินน้ำหนักรวมของรถบรรทุก 6% ถึง 10% การวิเคราะห์โครงสร้างคอนกรีตด้วยวิธี Nonlinear finite element method (NLFEM) ทั่วไปไม่สามารถจำลองความเสียหาย และรอยแตกร้าวได้ ในการศึกษานี้ได้พัฒนาวิธีจำลองความเสียหายและรอยแตกร้าวของโครงสร้างคอนกรีตและคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อนำไปใช้ในการประเมินโครงสร้างคอนกรีตเก่าที่มีจุดบกพร่องและรอยแตกร้าว เพื่อตรวจสอบวิธีจำลองที่นำเสนอ จึงได้วิเคราะห์คานคอนกรีต และคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีจุดบกพร่อง จากการเปรียบเทียบพบว่า ค่าที่ได้จากวิธีที่นำเสนอมีความใกล้เคียงกับผลการทดสอบ จากนั้นได้นำวิธีการที่นำเสนอไปวิเคราะห์โครงสร้างสะพานจริง ซึ่งสะพานที่วิเคราะห์เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 3 สะพาน ซึ่งสะพานดังกล่าวได้ทำการเก็บข้อมูลความเสียหายและรอยแตกร้าวจากการตรวจสอบที่ภาคสนาม ผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีที่นำเสนอนี้ ได้ทำการเปรียบเทียบกับวิธีการวิเคราะห์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป และผลจากการวัดจากภาคสนาม พบว่า วิธีการที่นำเสนอมีความใกล้เคียงกับผลทดสอบ ในขณะที่วิธีการที่ใช้กันทั่วไปนั้น มีความคลาดเคลื่อนมาก หลังจากนั้นได้นำวิธีการที่นำเสนอไปวิเคราะห์เพื่อประเมินสะพาน จำนวน 2 สะพานจากน้ำหนักรถบรรทุกที่วัดมาได้ และทำการเพิ่มน้ำหนักจนกระทั่งสะพานถึงจุดรับกำลังประลัย จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่า วิธีที่นำเสนอสามารถทราบถึงพฤติกรรมของโครงสร้างสะพาน และกำลังรับน้ำหนักสูงสุดของสะพาน ที่น่าเชื่อถือซึ่งกำลังที่ได้จากวิธีที่นำเสนอมีค่าน้อยกว่าวิธี NLFEM ทั่วไป แต่สูงกว่าวิธีมาตรฐานของ AASHTO
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2009
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Civil Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16482
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2007
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2007
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
douangmixay_do.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.