Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1656
Title: การพัฒนาระบบสแกนสำหรับการคำนวณสร้างภาพโทโมกราฟีโดยใช้เทคนิคการกระเจิงของรังสีแกมมา
Other Titles: Development of a computed tomography scanning system using gamma-ray scattering technique
Authors: รัตติยา คุณากร, 2523-
Advisors: สมยศ ศรีสถิตย์
อรรถพร ภัทรสุมันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Attaporn.P@Chula.ac.th
Somyot.S@Chula.ac.th
Subjects: โทโมกราฟีย์
รังสีแกมมา -- การกระเจิง
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบสแกนสำหรับการคำนวณสร้างภาพโทโมกราฟีโดยใช้เทคนิคการกระเจิงของรังสีแกมมา ซึ่งใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย โดยออกแบบให้ระบบสแกนสามารถเก็บข้อมูลโปรไฟล์ของรังสีแกมมา แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างภาพตัดขวางของชิ้นงาน ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วยต้นกำเนิดรังสีแกมมาอเมอริเซียม-241 ความแรงรังสี 100 มิลลิคูรี หัววัดรังสีแกมมาแบบซินทิลเลชันชนิดโซเดียมไอโอไดด์ (ทัลเลียม) ขนาด 2 นิ้ว x 2 นิ้ว จัดระบบวัดรังสีโดยมีอุปกรณ์บังคับลำรังสีให้เป็นลำแคบ ขนาดลำรังสี 2 มิลลิเมตร เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องวิเคราะห์แบบช่องเดี่ยวที่ควบคุมการทำงานโดยไมโครคอมพิวเตอร์ผ่านวงจรเชื่อมโยงสัญาณ โดยการคำนวณสร้างภาพนั้นใช้เทคนิคสร้างภาพแบบคอนโวลูชัน แบคโปรเจคชัน ระบบนี้สามารถใช้กับชิ้นงานที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 20 เซนติเมตรและหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม สำหรับขีดความสามารถในการสแกนเก็บข้อมูลโปรไฟล์จากชิ้นงานทดสอบมีขนาด 16 ซม. x 16 ซม. ซึ่งจำนวนโปรไฟล์ที่เพียงพอต่อการคำนวณสร้างภาพนั้นเท่ากับ 50 โปรไฟล์ มุมที่หมุนเปลี่ยนไปทีละ 7.2 องศา ระยะห่างระหว่างเรย์ซัมของการเคลื่อนที่นั้นเท่ากับ 2 มิลลิเมตร ใช้เวลาในการเก็บข้อมูล ประมาณ 12 ชั่วโมง ข้อมูลโปรไฟล์ที่เก็บได้จะอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์อย่างอัตโนมัติ เพื่อนำไปคำนวณสร้างภาพโทโมกราฟีต่อไป จากการทดสอบด้วยชิ้นงานทดสอบต่างๆ พบว่าการคำนวณสร้างภาพโทโมกราฟีจากเทคนิคการกระเจิงของรังสีแกมมาให้ภาพที่มีผลตอบสนองต่อชิ้นงานที่เป็นธาตุเบาดีกว่าธาตุหนัก โดยมีค่ารีโซลูชันประมาณ 1 เซนติเมตร
Other Abstract: The purpose of this research is to develop the scattering technique for computed tomography which would be useful for nondestructive inspection by development of a gamma-ray scattering scanning system for reconstruction of the specimens. This system consists of a 100 mCi Am-241 gamma-ray source. A 2" x 2" NaI(Tl) scintillation detector with 2 mm beam diameter and a single channel analysis (SCA) were used in measuring the scattered photons. The data acquisition system was continuously controlled by a microcomputer via the interface card. In particular the reconstruction uses the convolution filter back projection technique. The maximum dimension and weight of the specimen that could be tested by this system were 20 cm in diameter and 2 kg respectively. The capability of a scanning system can be used for 16 cm x 16 cm specimens. The number of profile needed for an acceptable reconstruction is 50, and the interval of projection angles is 7.2 degree. The interval of ray-sums is 2 mm. When the collection time ofeach ray-sum is set to 5 sec, the collection time to require for a CT image is about 12 hours. The collected profile data are stored in the microcomputer memory for reconstruction of CT image. From the test specimens, it was found that the obtained CT images from gamma-ray scattering technique were improved with light element better than heavy element and the resolution was approximately 1 cm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1656
ISBN: 9745314684
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratiiya.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.