Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16818
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิรงรอง รามสูต-
dc.contributor.authorตุลย์ รักเรือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-11T15:09:49Z-
dc.date.available2012-02-11T15:09:49Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16818-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการวางกรอบความหมายของวาทะที่ปรากฏในกรณีพิพาทปราสาทพระวิหารที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ไทยช่วงรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช ที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ไทยประเภทประชานิยมและประเภทคุณภาพที่ไม่แสดงจุดยืน ที่ชัดเจนในความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนั้น ได้แก่ ไทยรัฐ และมติชน และหนังสือพิมพ์ไทยที่มีจุดยืนที่ค่อนข้างชัดเจนในความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนั้น ได้แก่ โลกวันนี้ และผู้จัดการรายวัน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 โดยวิเคราะห์ ทุกฉบับ ทุกวัน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีอำนาจตัดสินใจในการคัดเลือกนำเสนอข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทย ทั้ง 4 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า วาทะที่ปรากฏในกรณีพิพาทปราสาท พระวิหารฯ สามารถแบ่งวาทะได้เป็น 4 วาทะหลัก ได้แก่ วาทะการรักษาผลประโยชน์ของชาติและอธิปไตยเหนือดินแดน วาทะชาตินิยม วาทะการอ้างอำนาจศาลและกฎหมายรัฐธรรมนูญ และวาทะการอ้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งในแต่ละวาทะหลักจะปรากฏวาทะย่อย ที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป โดยหนังสือพิมพ์ไทย ได้แก่ ไทยรัฐ มติชน และผู้จัดการรายวัน และแหล่งข่าว ได้แก่ ฝ่ายค้าน นักการเมือง นักวิชาการที่ต่อต้านการกระทำของรัฐบาล และกลุ่มพันธมิตรฯ วางกรอบความหมายของวาทะกรณีพิพาทปราสาทพระวิหารไปในทิศทางลบ โดยมองว่าการลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯ ไทย-กัมพูชา ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นการดำเนินงานที่ผิดพลาดจนทำให้ประเทศไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียอธิปไตยเหนือดินแดน ตลอดจนมีเรื่องผลประโยชน์แอบแฝงเข้ามาเกี่ยวข้อง ในขณะที่หนังสือพิมพ์ไทย ได้แก่ โลกวันนี้ และแหล่งข่าว ได้แก่ ฝ่ายรัฐบาลและ ฝ่ายทหาร วางกรอบความหมายของวาทะกรณีพิพาทปราสาทพระวิหารไปในทิศทางบวก โดยมองว่าเป็นการทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์และอธิปไตยของชาติอย่างถูกต้อง และชอบธรรมen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to study meaning frames and definitions of rhetorics as appeared in the Temple of Preah Vihear dispute presented in Thai newspapers content from headlines, sub-headlines and news stories have been thoroughly examined and analyzed. Non-partisan newspapers (Thairath and Matichon) and partisan newspapers (Daily World Today and Manager Daily) published during 1 February 2008 to 30 September 2008, are main data sources. Interviews with the editors from four newspapers were conducted to compliment the above data. The study categorizes the rhetorics into 4 groups : (1) rhetoric on the preservation of sovereign rights over the area, (2) rhetoric on the boosting of nationalism sentiment, (3) rhetoric on court ruling according to constitutional law and (4) rhetoric on international relations, particularly bilateral relations with Cambodia. Findings illustrate that each rhetoric used with different meanings by different sources. For instance, Thairath, Matichon and Manager Daily as well as opposition party, anti-government academia and People's Alliance for Democracy group view the signing of the joint declaration between Thailand and Cambodia was to register their terms on the listing of Preah Vihear temple as UNESCO’s World Heritage site as failure to secure sovereign rights and as a tool in pursuing their hidden agenda. Other sources, including editors of Daily World Today as well as government and military administrators positively view the case as legitimately right and according to their duty in protecting national interest and sovereigntyen
dc.format.extent4261154 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.663-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหนังสือพิมพ์กับการเมืองen
dc.subjectความขัดแย้งทางการเมืองen
dc.subjectวจนะวิเคราะห์en
dc.subjectปราสาทพระวิหารen
dc.titleทิศทางความหมายของวาทะที่ปรากฏในกรณีพิพาทปราสาทพระวิหารที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ไทยช่วงรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวชen
dc.title.alternativeDirection of meaning and rhetoric as appeared in The Temple of Preah Vihear dispute presented in Thai newspapers during the Samak Sundravej administrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPirongrong.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.663-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tul_ru.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.