Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16875
Title: ผลของความลาดชันความเร็วและอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มโดยใช้ระบบเอเอสบีอาร์
Other Titles: Effect of velocity gradient and organic loading rate on wastewater treatment from palm oil mill using ASBR system
Authors: นันทพงศ์ จันทมาศ
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: สารประกอบอินทรีย์
น้ำเสีย -- การบำบัด
น้ำมันปาล์ม
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกวนผสมและอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเดินระบบที่มีผลต่อระบบบำบัดแบบไร้อากาศ ระดับของการกวนผสมวัดได้ในรูปของความลาดชันความเร็ว การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความลาดชันความเร็วและอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ทำการทดลองโดยใช้ถังปฏิกรณ์กวนสมบูรณ์ที่มีการกวนในแนวตั้งและแนวนอน ขนาด 10 ลิตร ผลการทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มความลาดชันความเร็วจาก 25 เป็น 50 75 และ 100 ต่อวินาที อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 12 กรัมซีโอดีต่อลิตรต่อวัน มีผลทำให้สัดส่วนของกรดไขมันระเหยต่อสภาพด่างเพิ่มขึ้นตามความลาดชันความเร็ว โดยที่ความลาดชันความเร็ว 50 ต่อวินาที ทั้งในถังปฏิกรณ์ที่มีการกวนในแนวตั้งและแนวนอนมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีได้สูงสุดคือ 76.00 และ 81.75 เปอร์เซนต์ ผลิตแก๊สชีวภาพได้สูงสุดคือ 204 และ 51 มิลลิลิตรต่อวันตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนแก๊สมีเทนเท่ากัน 43 เปอร์เซนต์ เมื่อลดอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็น 10 8 และ 5 กรัมซีโอดีต่อลิตรต่อวัน ที่ความลาดชันความเร็วเท่ากันคือ 50 ต่อวินาที พบว่าปริมาณฟองและคราบสบู่ที่ผิวหน้าถังปฏิกรณ์กวนสมบูรณ์ลดลงตามอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 10 กรัมซีโอดีต่อลิตรต่อวัน ทั้งในถังปฏิกรณ์ที่มีการกวนในแนวตั้งและแนวนอนมีประสิทธิภาพการจัดซีโอดีได้สูงสุดคือ 80.71 และ 84.31 เปอร์เซนต์ตามลำดับ โดยที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 5 กรัมซีโอดีต่อลิตรต่อวัน สามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้สูงสุดคือ 424 และ 420 มิลลิลิตรต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนแก๊สมีเทน 51 และ 48 เปอร์เซนต์ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีของถังปฏิกรณ์ที่มีการกวนในแนวตั้งและแนวนอนพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและสำหรับการกวนในแนวตั้งมีผลให้เกิดฟองและคราบสบู่ที่ผิวหน้าของถังปฏิกรณ์กวนสมบูรณ์น้อยกว่าการกวนในแนวนอน
Other Abstract: Stirring and organic loading rate are significant factors of operating system for anaerobic treatment. Level of stirring can be measured in term of velocity gradient. An objective of this study is to observe results of velocity gradient and organic loading rate to waste water treatment from palm oil mill. Studies were carried out on 10-liter completely stirred tank reactor with vertical and horizontal mixing. The result shows that the increasing of velocity gradient from 25 to 50, 75 and 100 s[superscript -1] at the organic loading rate of 12 g[COD]L[superscript -1]-d[superscript -1] has effected to the ratio of volatile fatty acid and alkaline in reactor also increased due to velocity gradient. At velocity gradient of 50 s[superscript -1] both in vertical and horizontal mixing, gave out the highest efficiency for COD removal of 76.00 and 81.75 percent, could produce which is the most of biogas as is 204 and 51 ml-d[superscript -1] respectively, which is the same amount of 43 percent of methane gas. When decreasing organic loading rate to 10, 8 and 5 g[COD]-L[superscript -1]-d[superscript -1] at the same of velocity gradient 50 s[superscript -1], the result showed that bubbles and scum produced on surface of reactor has also decreased due to the organic loading rate. At the organic loading rate of 10 g[COD]-L[superscript -1]-d[superscript -1], both in vertical and horizontal mixing the highest efficiency for COD removal was 80.71 and 84.31 percent respectively. The results also indicate that at the organic loading rate of 5 g[COD]-L[superscript -1]-d[superscript -1] produced the most of biogas as is 424 and 420 ml-d[superscript -1] which are 51 and 48 percent of methane gas respectively. Efficiency of COD removal of reactor that has horizontal mixing and vertical mixing, it was found that no significant difference was observed. Moreover bubbles and scum were produced in stirring with vertical mixing more than in stirring with horizontal mixing
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16875
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1354
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1354
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntapong_Ju.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.