Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16910
Title: แนวคิดการสร้างสรรค์ระบำจากข้อมูลศิลปกรรมขอมโบราณ
Other Titles: Conceptual choreography based upon ancient Khmer art objects
Authors: ภูริตา เรืองจิรยศ
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta@yahoo.com
Subjects: ระบำ
ระบำลพบุรี
ศิลปกรรมขอม
ศิลปกรรม
การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประวัติความเป็นมา และแนวคิดการสร้างสรรค์ระบำจากข้อมูลศิลปกรรมขอมโบราณ ระหว่าง พ.ศ. 2510 – 2551 โดยใช้ “ระบำลพบุรี” ที่บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอน ของวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร เป็นกรณีศึกษา และใช้วิธีการศึกษาโดยการค้นคว้าข้อมูลประวัติศาสตร์ หลักฐาน ทางโบราณคดี การสัมภาษณ์ ชมวิดีทัศน์ และการฝึกปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษา พบว่า ระบำ เป็นการแสดงที่ใช้ผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ผู้แสดงจะรำในบทตัวพระหรือบทตัวนางตามแต่เนื้อหาของระบำ โดยรำไปตามบทร้องหรือดนตรีที่บรรเลงประกอบ เน้นความพร้อมเพรียงของผู้แสดง มีการแปรแถว และแต่งกายเหมือนกัน ระบำที่สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2510 มักเป็นการฟ้อนรำประกอบการแสดงโขน ละคร หรือระบำเฉพาะกิจ ตามแต่จุดประสงค์ของการแสดง ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องตัวพระ – ตัวนาง เป็นนางฟ้า เทวดา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา มีการสร้างสรรค์ระบำขึ้นจากข้อมูลศิลปกรรมขอมโบราณโดยสืบค้นข้อมูลประวัติศาสตร์ตามหลักฐานศิลปกรรมขอมโบราณ ประติมากรรม รูปปั้นลอยตัว และภาพจำหลักจากโบราณสถานต่างๆ แล้วปรุงแต่งตามจินตนาการ และประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์ ออกมาเป็นท่ารำต่างๆ ทำให้ภาพจำหลักหินกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวเสมือนมีชีวิต เรียกระบำประเภทนี้ว่า “ระบำโบราณคดี” จากการศึกษาระบำลพบุรี ซึ่งเป็นระบำโบราณคดีที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้น ตามแนวคิดของอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ที่ต้องการให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าความเป็นไทย จากหลักฐานทางโบราณคดี โดยนำเสนอในรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ พบว่า การสร้างสรรค์ระบำชุดนี้มีคณะทำงานประกอบด้วย อาจารย์มนตรี ตราโมท อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ อาจารย์เฉลย ศุขะวณิช และอาจารย์สนิท ดิษฐพันธุ์ ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่องราว ความเป็นมา ความเชื่อจากโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ ศึกษาภาพจำหลักเครื่องดนตรี – ภาพจำหลักนางอัปสรที่ปรากฎอยู่บนแผ่นหินในปราสาทขอม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการสร้างสรรค์สำเนียงดนตรีให้มีกลิ่นอายตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และสร้างสรรค์ท่ารำให้สอดคล้องกับดนตรี โดยจำลองท่าทางมาจากภาพจำหลักนางอัปสร เทวรูปสำริดสมัยลพบุรี และท่ารำพื้นฐานนาฏยศิลป์ไทย ประกอบเข้ากับความเชื่อ ศาสนา ประเพณี หลักการออกแบบสีและรูปแบบเครื่องแต่งกาย นำมาประยุกต์จนเกิดเอกลักษณ์ใหม่ ทำให้ระบำชุดนี้ มีลักษณะเด่น คือ 1) ท่าหลัก ใช้มือจีบและการตั้งวงหักศอกโดยยกมือขึ้นเหนือศรีษะ เน้นวงและเหลี่ยมของมือและแขน ส่วนขา ใช้การก้าวไปด้านข้างเป็นมุมเหลี่ยมซึ่งเลียนแบบมาจากภาพจำหลักบนแผ่นหินและเทวรูปสำริดของขอมโบราณ 2) ท่าเชื่อมในการเคลื่อนไหวร่างกายจากท่าหนึ่งสู่ท่าหนึ่ง ใช้ท่ารำพื้นฐานนาฏยศิลป์ไทยมาตกแต่งลวดลายอย่างพันทางขอม 3) แถวและการแปรแถว จำลองรูปแบบมาจากภาพจำหลักหิน เชื่อมโยงเป็นเรื่องราว เคลื่อนที่ตามองค์ประกอบทัศนศิลป์ 4) ดนตรี และเพลง สร้างเครื่องดนตรีขึ้นตามภาพจำหลัก ปรับประยุกต์ผสมกับวงเครื่องสาย ใช้หน้าทับเขมรในการบรรเลง 5) เครื่องแต่งกาย จำลองแบบมาจากภาพนางอัปสรที่ปรากฎอยู่บนแผ่นหิน กำหนดสีตามความเชื่อ คุณค่าของสี และทฤษฎีสี ระบำลพบุรี เป็นต้นแบบในสร้างสรรค์ระบำจากข้อมูลศิลปกรรมขอมโบราณที่มีแนวทางการสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ มีหลักการ และการอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน แนวคิดดังกล่าว ถือเป็นแนวทางนาฏยศิลป์เชิงสร้างสรรค์ ที่มีอิทธิพลในการสร้างสรรค์ระบำขอมโบราณแบบอื่นๆ ขึ้นอีก หลายชุด และมีแนวโน้มว่าจะมีการพัฒนาผลงานนาฏยประดิษฐ์สร้างสรรค์ต่อไปเรื่อยๆ โดยใช้กรอบแนวคิดเดียวกัน
Other Abstract: This thesis aims at studying the history of choreography from ancient Khmer art objects and to analyze conceptual choreography based on ancient Khmer art objects during 1967 – 2008; focusing on the data of the Lopburi ancient dance, which had been a study program of The College of Dramatic Arts, Department of Fine Art as a case study. Research methodologies employed are documentary research on history and archaeological evidence, interviews, observations from live performances and videos and from training with dance expert. The research finds that Rabam or dancing is the performance consisted of at least 2 dancers who acted as male or female relating to the story. They would dance while lyrics sung or music played. The performance and costumes of dancers had to be similar. Before 1967, Rabam was a part of Khon, Lakorn or other dances depending on objectives of each performance. The dancers who acted as gods or goddesses put on traditional costumes for male and female. The choreography of the Department of Fine Art was continuously developed various cultures had an affect on it, and they were the database of creation. After that, since 1967 the dancing choreography of the Department of Fine Art was created by studying from the historical records as well as the imitation of sculptures and cravings in historical sites. Those were ideas to compose music for the performances. An appearance of dancers was designed and adapted in accordance with the rhythm of music by imitating the craving of Apsara from the historical sites. This kind of performance was called “Ancient Dance.” From the data of the Lopburi ancient dance; which is an ancient dance, created under the concepts of Mr.Dhanit Yoopho;the former director–general of Fine Arts Department, aiming to the people understand and consider to Thai value from the archaeological evidence which is presented in Thai classical dance. The research finds that the creator’s teamwork of this ancient dance to be composed of Mr.Montree Tramote ,Ms.Lamul Yamakopt, Ms. Chaleuy Sukavanich and Mr.Sanit Disatapundhu; who studied and collected data from history and archaeological evidence , the story from the ancient remains, believes and others from historical site and ancient Khmer art objects such as the craving of instruments, the craving of Apsara from craved stone on Khmer sanctuary, bronze statues of gods in Lopburi Era. Those were ideas to compose music for the performances. An appearance of dancers was designed and adapted in accordance with the rhythm of music by imitating the craving of Apsara from the historical sites and also applied with the basic poses of Thai traditional dance. Nevertheless, the creator also collected data about the costumes style from the Apsara’s craving stone and applied with the color theory for fine art; which is applied to becoming the new identity of ancient dance creation. The eminent characterized of Lopburi ancient dance divided by 1) Main poses appearance which Cocked fingers and hands including flexed leg and body of dancers were the characteristics of this performance by imitating the craving of Apsara on Khmer sanctuary and bronze statues of gods in Lopburi Era 2) Subordinate poses appearance which adaptation poses from the basic poses of Thai traditional dance and decorated with Lakorn Panthang which the air of Khmer. 3) Line and the deploy is motivated following as the same style of the Apsara’s craving stone and adapted with the visual art component. 4) Music instruments adapted from the caved stone on Khmer sanctuary and applied with Thai stringed musical instrument and a double headed drum in Khmer style. 5) Costume is duplicated from the Apsara’s craving stone and adapted following believes, the visual art component and color theory.The Lopburi ancient dance became the prototype of choreography based upon ancient Khmer art objects for other ancient Khmer dance which were designed under the same direction and tended to be grown continuously in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16910
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1991
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1991
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Purita_ru.pdf13.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.