Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17056
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระพร อุวรรณโณ-
dc.contributor.authorถาวร แซ่ตั้ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2012-02-26T07:29:46Z-
dc.date.available2012-02-26T07:29:46Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745668737-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17056-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับผลการกระทำ การประเมินผลกรรมทัศนคติ ความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง แรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเจตนาเชิงพฤติกรรม เพื่อทำนายพฤติกรรมการเลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ในปีการศึกษา 2529 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจที่สร้างตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของฟิชไบน์และไอเซนจากการนำแบบสำรวจไปทดลองใช้พบว่าคำความเที่ยงของส่วนต่าง ๆ ของแบบสำรวจมีค่าตั้งแต่ .74 ถึง .86 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2528 ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 13 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในเขตการปกครองชั้นใน 6 โรงเรียน เขตชั้นกลาง 4 โรงเรียน และเขตชั้นนอก 3 โรงเรียน จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 440 คน สถิติที่ใช้คือค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสหสัมพันธ์พอยไบซีเรียล สมการถดถอยพหุคูณและการทดสอบด้วยคำที โดยวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส เอส เอ้กส์ ผลการวิจัยสนับสนุนสมมติฐานดังนี้ 1. เจตนาเชิงพฤติกรรมสามารถทำนายพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการเลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r (376) = .34. P<.001) และสามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อการวัดเจตนาห่างจากการวัดพฤติกรรม 2-3 สัปดาห์ (r (349) = .36. P<.001) แต่ทำนายได้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อการวัดเจตนาห่างจากการวัดพฤติกรรม 7-8 สัปดาห์ (r (25) = .14.ns) 2.ทัศนคติและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงสามารถทำนายเจตนาเชิงพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสมัครสอบคณะวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อวิเคราะห์รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด (R (438) = .48. P<.001.β1 = .23. β2 = .37) เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่สมัครสอบเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (R (376) = .51, P<.001. β1 = .23. β2 = .40) เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่เลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ (R (115) = .35. P<.001.β1 = .30. β2 = .11) และเมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ไม่สมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ (R (259) = .51. P<.001.β1 = .15. β2 = .44) 3. ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญกับผลรวมของผลคูณของความเชื่อเกี่ยวกับผลการเลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ และการประเมินผลกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อวิเคราะห์รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด (R (438) = .40. P<.001) เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่สมัครสอบเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (R (376) = .39. P<.001) เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่เลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ (R (115) = .36. P<.001) และเมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ไม่เลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ (R (259) = .38. P<.001) 4. การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญกับผลรวมของผลคูณของความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงและแรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเมื่อวิเคราะห์รวมกลุ่มนักเรียนทั้งหมด (R (438) = .67. P<.001) เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่เลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (R (376) = .69. P<.001) เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่เลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ (R (115) = .62. P<.001) และเมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ไม่เลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ (R (259) = .71. P<.001) 5. ความเชื่อเกี่ยวกับผลของการเลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ การประเมินผลกรรม ความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงและแรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญบางข้อกระทงในกลุ่มที่เลือกและไม่เลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study how the behavioral belief, the evaluation of consequence, the attitude, the normative belief, the motivation to comply, the subjective norm and the behavioral intention could be applied to predict mathayom suksa six students’ behaviors in applying to enter the faculty of science in academic year 1986. The instrument in this research was the questionnaire developed on the basis of the theory of reasoned action of fishbein and ajzen. The reliabilities of various parts of the questionnaire were between .74 and .86. The subjects were four hundred and forty mathayom suksa six students whose study plans were in science-mathematics in academic year 1985. They were from thirteen schools in Bangkok metropolis, consisted of six schools from the inner area, four schools from the middle area and three schools from the outer area. The Pearson’s correlations, the point-biserial correlations, the multiple correlations and the t-test were utilized to test the following hypotheses, which the research results supported them. 1. The behavioral intention significantly predicts the behavior of mathayom suksa six students in applying to enter the faculty of science (r(376)=.34, P<.001), significantly predicts the behavior when the measurement of the intention was taken two to three weeks apart from the measurement of the behavior (r(349)=.36, P<.001), and can not predict the behavior when the measurement of the intention was taken seven to eight weeks apart from the measurement of the behavior (r(25)=.14,ns.). 2. The attitude and the subjective norm can significantly predict the behavioral intention of mathayom suksa six students in applying to enter the faculty of science (r(438)=.48, P<.001,β1=.23, β2=.37) when all subjects are tested, when only the subjects who applied to enter the government higher education institutes are tested (R(376)=.51, P<.001, β1=.23, β2=.40), when only the subjects who applied to enter the faculty of science are tested (R(115)=.35, P<.001, β 1= .30, β 2= .11), and when only the subjects who did not apply to enter the faculty of science are tested (R(259)=.51, P<.001), β1 = .15, β2 = .44). 3. The attitude has a significant positive correlation with the sum of the products of the behavioral beliefs and the evaluations of consequences concerning applying to enter the faculty of science of mathayom suksa six students when all subjects are tested (r(438)=.40, p<.001), when only the subjects who applied to enter the government higher education institutes are tested (r(376)=.39, P<.001), when only the subjects who applied to enter the faculty of science are tested (r(115)=.38, P<.001), and when only the subjects who did not apply to enter the faculty of science are tested (r(259)=.38, P<.001). 4. The subjective norm has a significant positive correlation with the sum of the preducts of the normative beliefs and the motivations to comply when all subjects are tested (r(438)= .67, P<.001), when only the subjects who applied to enter the government higher education institutes are tested (r(376)=.69, P<.001), when only the students who applied to enter the faculty of science are tested (r(115)= .62, P<.001), and when only the subjects who did not apply to enter the faculty of science (r(259)=.71, P<.001). 5. The behavioral beliefs in applying to enter the faculty of science, the evaluations of consequences, the normative beliefs and the motivations to comply of mathayom suksa six students are significantly different in some items between the subjects who applied and did not apply to enter the faculty of science.-
dc.format.extent526327 bytes-
dc.format.extent1711337 bytes-
dc.format.extent516202 bytes-
dc.format.extent488844 bytes-
dc.format.extent364475 bytes-
dc.format.extent370951 bytes-
dc.format.extent723814 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- การสอบคัดเลือกen
dc.subjectพฤติกรรมen
dc.titleการทำนายพฤติกรรมการเลือกสมัครสอบเข้าเรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativePredicting the behavior of applying to enter the faculty of science of mathayom suksa six students in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTheeraporn.U@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thaworn_Ta_front.pdf513.99 kBAdobe PDFView/Open
Thaworn_Ta_ch1.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Thaworn_Ta_ch2.pdf504.1 kBAdobe PDFView/Open
Thaworn_Ta_ch3.pdf477.39 kBAdobe PDFView/Open
Thaworn_Ta_ch4.pdf355.93 kBAdobe PDFView/Open
Thaworn_Ta_ch5.pdf362.26 kBAdobe PDFView/Open
Thaworn_Ta_back.pdf706.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.